หลักการและเหตุผล : โรคเลือดจางธาลัสซีเมียเป็นโรคทางพันธุกรรมที่ปัญหาสาธารณสุขสำคัญของประเทศไทย มีประชากรที่พาหะของโรคประมาณร้อยละ 30-40 และเป็นโรคนี้ประมาณร้อยละ 1 มีผู้ป่วยโรคเลือดจางธาลัสซีเมียมารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ประมาณปีละ 1,000 คน การตรวจกรองหาพาหะหรือโรคเลือดจางธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติในสตรีตั้งครรภ์เป็นอีกวิธีหนึ่งในการควบคุมโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อศึกษาการยอมรับการตรวจกรองหาพาหะหรือโรคเลือดจางธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติในสตรีตั้งครรภ์ไตรมาสแรก 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระห่างปัจจัยทางประชากร การคลอดก่อนกำหนด การแท้ง ประวัติการมีญาติเป็นโรค/พาหะของโรคและการได้รับข้อมูลกับการยินยอมรับการตรวจกรองดังกล่าว และการยินยอมตรวจเลือดของสามี รูปแบบการศึกษา : การศึกษาเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ สถานที่ศึกษา : ห้องตรวจสูติ-นรีเวช แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศรีนครินทร์ กลุ่มตัวอย่าง : สตรีตั้งครรภ์ไตรมาสแรกที่มารับบริการฝากครรภ์ครั้งแรกทุกคน ระหว่างวันที่ 29 มกราคม ถึง 31 กรกฎาคม 2539 จำนวน 299 ราย การวัดผล : เก็บข้อมูลโดยให้สตรีตั้งครรภ์กลุ่มที่ศึกษาตอบแบบสอบถามหลังจากได้รับความรู้โรคเลือดจางธาลัสซีเมียจากแผ่นพับและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละค่าเฉลี่ยและวิธีทดสอบ Chi-square หรือ Fisher Exact ผลการศึกษา : สตรีตั้งครรภ์ไตรมาสแรกซึ่งมีอายุเฉลี่ย 25.5 ปี ยินยอมตรวจกรอง ทั้งหมด 295 ราย (98.7%) ร้อยละ 45.5 ต้องการทราบว่าตัวเองเป็นโรค หรือพาหะของโรคเลือดจางธาลัสซีเมียจากจำนวน 155 รายของสตรีตั้งครรภ์ที่มีผลการตรวจกรองผิดปกติสามารถตามสามีมาตรวจเลือดได้ 124 ราย (80%) ไม่พบว่ามีปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับการตรวจกรอง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการยินยอมตรวจเลือดของสามีคือรายได้ของครอบครัว Background : Thalassemia is a hereditary anemia which is an important health problem of Thailand. About 30-40% of population are carriers while 1% of them are diseases. There were 1,000 thalassemia patients who received medical care at the out patient department of Srinagarind hospital per year. Screening pregnant women for thalassemia carriers or diseases and hemoglobinopathy is one method in controlling thalassemia. Objective : 1. To study the acceptance of screening for thalassemia in first trimester pregnant women. 2. To study the relation of demograpfic factors, history of preterm labor, family history of thalassemia, with screening acceptance and husbandss acceptance of screenings and analytical. Design : Descriptive study Setting : Obstetric and Gynecology out patient department, Srinagarind Hospital. Subjects : The 299 first trimester pregnant women who had a first prenatal visit between 29 january and 31 July 1996 were chosen for the study. Measurements : Data was collected by questionnaires after the study group had received the information about thalassemia from brochures. The percentage, mean values and Chi-square or Fisher exact test were used for data analysis. Results : The first trimester pregnant women who accepted screening were 295 cases (98.7%). There were no factures that significantly affected acceptance. Of the 155 positive screening pregnant women, 124(80%) had their partner tested. The family income was the factor that affected partners acceptance. Conclusions : These results indicate that the acceptance of screening for thalassemia in the first trimester pregnant women including the acceptane of testing their partners when positive screening was high. This could be one of the effective methods in the thalassemia prevention program.
. . .
Full text.
|