|
e-journal Editor page
The Development and Future of Sexuality
การพัฒนาและอนาคตของเพศศาสตร์
Kovit Compitak (โกวิท คำพิทักษ์) 1
|
คำว่าเพศศาสตร์ (Sexuality) เริ่มนำมาใช้แพร่หลายในศตวรรษที่ 19 โดยนำคำของนักชีวิทยา และสัตว์วิทยาที่ใช้ในช่วงปี ค.ศ. 1800 มาใช้ โดยนำมาจากภาษาละติน คำว่า Sexus ซึ่งแปลว่าธรรมชาติ เดิมคำว่าเพศศาสตร์ถูกใช้ในความหมายแคบ ๆ คือ พฤติกรรมทางเพศทุกชนิดที่เกี่ยวข้องกับการกระตุ้นทางเพศและการสืบพันธุ์ ในทางจิตวิเคราะห์เพศศาสตร์ถูกใช้ในความหมายกว้างกว่าโดยรวมถึงความรักเข้ามาด้วย โดยเฉพาะความรักในเชิงชู้สาว มีผู้กล่าวไว้ว่าความรักเป็นกระบวนการพื้นฐานของสังคม ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นมนุษย์ชาติ โดยบุรุษและสตรีเหล่านั้นนอกจากจะมีหน้าที่ในการสืบเผ่าพันธุ์เพื่อผลิตประชากรรุ่นใหม่แล้ว พวกเขายังต้องการความเข้าใจและเอาใจและเอาใจใส่อีกด้วย เมื่อเริ่มต้นของมนุษย์ชาติการสืบพันและให้กำเนิดบุตรถือเป็นหน้าที่ที่สำคัญ กระบวนการทางสังคมในการเลือกคู่และการแต่งงานได้ก็ถูกจัดขึ้นเพื่อหน้าที่นี้ ในยุคของพ่อเป็นผู้ปกครอง อำนาจเด็ดขาดต่อภรรยาและบุตรตกอยู่กับบิดารวมถึงเรื่องการมีเพสสัมพันธ์และการเลือกคู่ เมื่อกระบวนการทางสังคมของมนุษย์ชาติเริ่มเปลี่ยนแปลงไปบทบาทของพ่อได้ถูกปรับปรุงแก้ไขโดยสังคมและวัฒนธรรมการเลือกคู่โดยคำนึงถึงความรัก และการต้องการมีคู่ครองเพียงคนเดียว นอกจากนี้ในสังคมปัจจุบันการเลือกคู่ครองเพียงคนเดียว นอกจากนี้ในสังคมปัจจุบันการเลือกคู่หรือกิจกรรมทางเพศยังคำนึงถึงเรื่องสิทธิส่วนบุคคลเพิ่มเข้ามาอีกด้วย การคำนึงถึงสิทธิส่วนบุคคลในด้านเพศสัมพันธ์อาจรวมถึงการเพิ่มขึ้นของเสรีภาพในด้านความคิดและการกระทำของบุคคลในปัจจุบัน เพศ สัมพันธ์นอกจากจะเป็นหน้าที่หลักทางชีววิทยาของมนุษย์แล้วยังช่วยลดความเครียดในการดำรงชีวิตจากการกระตุ้นต่อวัยวะเพศ ความสุขจากการมีเพศสัมพันธ์จึงจัดเป็นผลพลอยได้ที่สำคัญของการมีเพศสัมพันธ์ นอกจากการสืบเผ่าพันธุ์หรือการขยายเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ดังนั้นเพศศาสตร์จึงรวมถึงความสุขที่สำคัญของมนุษย์ที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ อย่างไรก็ตามยังมีความเชื่อดั้งเดิมที่กล่าวถึงเพศสัมพันธ์ว่ามีไว้เฉพาะการทำหน้าที่สืบเผ่าพันธุ์ โดยจัดความสุขที่เดขึ้นว่าเป็นบาปที่ต้องชำระล้างออกไป สตรีมีหน้าที่ในการตั้งครรภ์และการเลี้ยงดูดบุตรซึ่งเป็นผลจากการมีเพศสัมพันธ์ ดังนั้นสังคมจึงเริ่มผูกเรื่องเพศศาสตร์และการเจริญพันธุ์ (reproduction) เข้าไว้ด้วยกัน ด้วยเหตุดังกล่าวหญิงหรือ ชายที่ต้องการมีคู่จึงต้องเลือกคู่ของตนให้เหมาะสมกับคุณสมบัติด้านเพศ และด้านการเจริญพันธุ์รวมไว้ในคนเดียวกัน . . .
Full text.
|
|
|
|
|
|
|
Untitled Document
Untitled Document
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง
แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list
Untitled Document
Another articles
in this topic collection
|
|
|
Untitled Document
This article is under
this collection.
|
|
|
|
|