หลักการและเหตุผล : ทารกที่มีปัญหาปากแหว่ง เพดานโหว่จำเป็นต้องได้รับการรักษาเพื่อบูรณะความสวยงามของใบหน้า วัตถุประสงค์ : เพื่อรายงานการักษาผู้ป่วยซึ่งเป็นทารกที่มีปัญหาปากแหว่ง เพดานโหว่ทั้งสองข้างอย่างสมบูรณ์ สถานที่ทำการศึกษา : คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น การรักษา : การรักษาโดยใช้แผ่นเพดานเทียมและเทปคาดริมฝีปากรวมทั้งเครื่องมือที่เรียกว่า Naso-alveolar molding appliance ก่อนการผ่าตัด ทารกได้รับการผ่าตัดโดยบูรณะสันเหงือก, ริมฝีปากและจมูกในครั้งเดียว ผลการรักษา : ผลการรักษาอยู่ในเกณฑ์ดี พบว่าผู้ป่วยมีความสวยงามของริมฝีปากและจมูกอยู่ในเกณฑ์ที่ดีกว่าปกติ สรุป : ผู้ป่วยเด็กสัญชาติไทย อายุ 15 วัน ภูมิลำเนาจังหวัดขอนแก่นมาพบแพทย์ ณ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นด้วยปัญหาปากแหว่ง เพดานโหว่ทั้งสองข้างอยู่สมบูรณ์ กล่าวคือ มีรายแยกในส่วนเพดานปฐมภูมิทั้ง 2 ด้าน ซ้ายและขวาและมีรอยแยกในส่วนเพดานทุติยภูมิแบบสมบูรณ์ ผู้ป่วยได้รับการรักษาในเบื้องต้นก่อนการผ่าตัด เพื่อช่วยลดปัญหาในการดูดนมและจัดเรียงตำแหน่งสันเหงือกและเพดานปฐมภูมิโดยการใช้เพดานเทียม (obturator) และแผ่นเทปคาดริมฝีปาก (lip strapping) รวมทั้งได้รับการรักษาโดยใช้แผ่นเพดานเทียมที่เรียกว่า naso-alveolar molding appliance (NAM) เพื่อช่วยเพิ่มความสวยงามของจมูกส่วนล่างโดยการยืดเนื้อเยื่อที่บริเวณ columella การรักษาโดยวิธีนี้ช่วยลดระยะทางระหว่าง prolabium และ lateral lip segments ดังนั้นจึงช่วยลดแรงตึงของริมฝีปากบนขณะและหลังทำการผ่าตัดเย็บริมฝีปาก หลังจากนั้นผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดแบบพิเศษโดยการผ่าตัดบูรณะสันเหงือกที่โหว่, ริมฝีปากและจมูกในครั้งเดียว ผลการรักษาหลังผ่าตัดพบว่าผู้ป่วยมีความสวยงามของริมฝีปากและจมูกอยู่ในเกณฑ์ที่ดีกว่าปกติ
Background : Infant born with cleft lip and cleft palate problem requires treatment to restore the integrity of facial soft tissue Objective : The objective of this article is to present a treatment procedure for the bilateral compleate cleft lip and cleft palate infant. Setting : Orthodontic Department, Faculty of Dentistry, Khon-Kaen University and Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon-Kaen University Intervention : The initial treatment used a presurgical orthopedic appliance. The surgical treatment comprised gingivoperiosteoplasty, primary lip and nasal reconstruction, all done in one-stage. Result : A better early facial soft tissue esthetics was achieved. Conclusion : A Thai male infant, aged 15 days, born in Khon-Kaen Province, came to Sringarind Hospital with the problem of complete bilateral cleft lip and cleft palate. An obturator with lip strapping was delivered in order to help with the feeding problem. At the same time, time, this appliance was used to mold the primary palate and lateral palatal segments into a better relationship, and to lessen the gap width of the cleft. The reduced distance between the prolabium and lateral lip segments helped decrease soft tissue tension during and after lip repair. Besides, a special appliance, the Naso-Alveolar Molding appliance (NAM) was used for this baby in order to help molding the alar cartilages and extending the columella length before the surgery. A one-stage surgery combining the gingivoperiosteoplasty, lip and nasal reconstruction was performed. The result of this coordinated treatment brought about better early esthetics of the soft tissue lip and nose.
. . .
Full text.
|