วัตถุประสงค์: การศึกษาอัตรารอดชีพของผู้ป่วยมะเร็งในโรงพยาบาลเลยยังไม่มีการรายงาน ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตรารอดชีพผู้ป่วยมะเร็งที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเลย จังหวัดเลย
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบ Retrospective cohort study ข้อมูลจากทะเบียนมะเร็งโรงพยาบาลเลยระหว่าง 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และติดตามสถานะสุดท้ายถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563 จำนวน 1,326 ราย วิเคราะห์อัตรารอดชีพ โดยวิธี Kaplan-Meier นำเสนอค่ามัธยฐานการรอดชีพและช่วงเชื่อมั่น 95 %
ผลการศึกษา: อัตรารอดชีพผู้ป่วยมะเร็ง 1 ปีหลังการวินิจฉัย เพศชาย พบว่า มะเร็งตับและท่อน้ำดีร้อยละ 22.7, มะเร็งปอดร้อยละ 27.1, มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงร้อยละ 79.1, มะเร็งต่อมลูกหมากร้อยละ 83.8, และมะเร็งผิวหนังร้อยละ 92.9 อัตรารอดชีพผู้ป่วยมะเร็ง 3 ปี หลังการวินิจฉัยพบว่า มะเร็งตับและท่อน้ำดี ร้อยละ 9.7, มะเร็งปอดร้อยละ 9.8, มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงร้อยละ 56.3, มะเร็งต่อมลูกหมากร้อยละ 50.9 และมะเร็งผิวหนังร้อยละ 84.6 ส่วนอัตรารอดชีพผู้ป่วยมะเร็ง 1 ปีหลังการวินิจฉัย เพศหญิง พบว่า มะเร็งเต้านมร้อยละ 94.5, มะเร็งตับและท่อน้ำดี ร้อยละ 29.1, มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงร้อยละ 78.0, มะเร็งปากมดลูกร้อยละ 76.1 และมะเร็งรังไข่ร้อยละ 90.1 อัตรารอดชีพผู้ป่วยมะเร็ง 3 ปี หลังการวินิจฉัยพบว่า มะเร็งเต้านมร้อยละ 81.6, มะเร็งตับและท่อน้ำดีร้อยละ 15.3, มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงร้อยละ 56.2, มะเร็งปากมดลูกร้อย 54.2 และมะเร็งรังไข่ ร้อยละ 80.8
สรุป: มะเร็งที่มีอัตรารอดชีพสูงได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งผิวหนัง มะเร็งรังไข่ และมะเร็งต่อมลูกหมาก ส่วนมะเร็งที่มีอัตรารอดชีพต่ำ ได้แก่ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งลำไส้ใหญ่และใส้ตรง มะเร็งปอด และมะเร็งปากมดลูก ดังนั้นเราควรตระหนักถึงความรุนแรงของโรคมะเร็งแต่ละชนิดและให้ความสำคัญในการตรวจหาโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรก โดยการเข้ารับการคัดกรองและตรวจอย่างสม่ำเสมอ
Objective: Cancer patients survival rate in Loei Hospital has not been reported before. Therefore, this study was designed to establish the survival rate of cancer patients admitted in Loei Hospital, Loei Province.
Methods: This was a retrospective cohort study. Data from 1,326 cases registered in the Loei Hospital-based cancer registry between January 1, 2017 and December 31, 2018 was extracted, and patients followed up until December 31, 2020. Survival rate was estimated using the Kaplan-Meier method. We reported the median survival time with 95% confidence interval.
Result: Male cancer patients survival rates 1 year after diagnosis, were Liver and bile duct cancer 22.7%, Lung cancer 27.1%, Colorectal cancer 79.1%, Prostate cancer 83.8% and Skin cancer 92.9%. Survival rate of cancer patients 3 year post-diagnosis were Liver and bile duct cancer 9.7%, Lung cancer 9.8%, Colorectal cancer 56.3%, Prostate cancer 50.9% and Skin cancer 84.6%. Female cancer patients survival rates 1 year after diagnosis, were Breast cancer 94.5%, Liver and bile duct cancer 29.1%, Colorectal cancer 78.0%, Cervical cancer 76.1% and Ovarian cancer 90.1%. Survival rate of female cancer patients at 3 year after diagnosis were Breast cancer 81.6%, Liver and bile duct cancer 15.3%, Colorectal cancer 56.2%, Cervical cancer 54.2% and Ovarian cancer 80.8%.
Conclusion: The cancers with the highest survival rates were breast cancer, skin cancer, ovarian cancer and prostate cancer. The lowest survival rates were liver and bile duct cancer, colorectal cancer, lung cancer and cervix cancer. Therefore, awareness of the survival rates of each type of cancer should focus us on early detection by attending screening and examination regularly.
. . .
Full text.
|