บทคัดย่อ
ปัจจุบันยากลุ่ม Direct-acting antivirals (DAAs) ถูกบรรจุในบัญชียาหลักเเห่งชาติ สำหรับการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบ ซี ชนิดเรื้อรัง ซึ่งได้ผลการรักษามากกว่าร้อยละ 95 และผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ ซี ในปัจจุบันสามารถรักษาหายขาดได้แล้ว ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีร่วมกับการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีนั้นมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงกว่าผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีอย่างเดียว ผู้ป่วยจึงต้องได้รับการรักษาโรคทั้งสองไปพร้อมกัน สิ่งที่บุคลากรทางการแพทย์ควรคำนึงถึงคือ อันตรกิริยาระหว่างยา ซึ่งกลไกการเกิดส่วนใหญ่เป็นการเกิดเมแทบอลิซึมผ่าน cytochrome P450 ระหว่างยาต้านเอชไอวีกลุ่ม protease inhibitors หรือกลุ่ม Non-nucleoside reverse transcriptase inhibitors กับยากลุ่ม DAAs ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับพิษจากปริมาณยาที่สูงเกินไป หรือเกิดการรักษาล้มเหลว แนวทางการป้องกันสามารถทำได้โดยหลีกเลี่ยงการใช้ยาบางชนิดร่วมกันในกรณีที่เกิดอันตรกิริยาอย่างมีนัยสำคัญ ติดตามการใช้ยาอย่างใกล้ชิดหรือลดขนาดยาในกรณีที่เกิดอันตรกิริยาระหว่างยาชนิดไม่รุนแรง ดังนั้น ข้อมูลจากบทฟื้นฟูวิชาการนี้จึงมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยในการจัดการอันตรกิริยาระหว่างยา ป้องกันอันตรายจากการใช้ยา และผู้ป่วยได้รับการรักษาทั้งโรคติดเชื้อเอชไอวี และโรคตับอักเสบ ซี อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
Nowadays the direct-acting antivirals (DAAs) are in Thailand National List of Essential Medicines (NLEM) for chronic hepatitis C virus (HCV) infection, which results in a more than 95% cure rate. Thus, most hepatitis C patients can now be cured. Patients with HIV/HCV coinfection have a higher mortality risk than Human Immunodeficiency Virus (HIV) infected patients without HCV infections. HIV and HCV coinfected patients require both antiretroviral therapy and antiviral treatment simultaneously. However, health care providers should aware of potential drug interactions among antiretrovirals and antiviral agents in the treatment of HIV and HCV coinfection. The main mechanism of drug interactions occurs during the metabolism process via cytochrome P450 between protease inhibitors or non-nucleoside reverse transcriptase inhibitors and direct-acting antivirals, consequently leading to drug toxicity or treatment failure. Concurrent treatment should be avoided if there are major drug interactions. However, close monitoring or dosage adjustment is sufficient in the case of minor drug interactions. This review article will be useful for healthcare personnel for drug interaction management in order to prevent drug toxicity or treatment failure to ensure that HIV/HCV coinfected patients get the most effective treatment. . . .
Full text.
|