หลักการและวัตถุประสงค์: การใช้เมทแอมเฟตามีนเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงในหลายภูมิภาคทั่วโลก ในปี พ.ศ. 2560 กระทรวงสาธารณสุขประกาศนโยบายให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) บำบัดผู้ป่วยยาเสพติดในระดับผู้ใช้ ซึ่งจังหวัดอำนาจเจริญเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่มีการบำบัดผู้ป่วยยาเสพติดใน 77 รพ.สต. ครบทั้งจังหวัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 แต่ยังไม่พบรายงานเกี่ยวกับสภาพการณ์การบำบัดในระดับดังกล่าวมาก่อน การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการณ์การบำบัดผู้เสพเมทแอมเฟตามีนด้วยระบบสมัครใจบำบัดใน รพ.สต.จังหวัดอำนาจเจริญ ใน 4 ด้าน ประกอบด้วย 1. ด้านนโยบายและรูปแบบการบำบัด 2. ด้านสถานที่ 3. ด้านเจ้าหน้าที่ 4. ด้านงบประมาณ
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา เก็บรวบรวมข้อมูลจากข้อมูลทุติยภูมิที่เกี่ยวข้อง เช่น แผนปฏิบัติการประจำปีงานยาเสพติด รายงานข้อมูลการบำบัดผู้ป่วยยาเสพติดประจำปี แนวทางการดำเนินงานบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติดของจังหวัดอำนาจเจริญ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ
ผลการศึกษา: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญมีนโยบายสนับสนุนการบำบัดผู้เสพเมทแอมเฟตามีนด้วยระบบสมัครใจบำบัด โดยได้เตรียมความพร้อมบุคลากรผู้บำบัด สถานที่บำบัด และสนับสนุนงบประมาณในการบำบัดต่อรายผู้ป่วย ด้านการบำบัดใช้โปรแกรมจิตสังคมบำบัด (Matrix Program) จำนวน 9 ครั้ง ระยะเวลา 4 เดือน ผู้ป่วยที่รับการบำบัดใน รพ.สต. ทั้งหมดเสพเมทแอมเฟตามีนหรือยาบ้าและเป็นระดับผู้เสพทั้งหมด ผลการบำบัดพบว่ามีผู้หยุดเสพที่ระยะเวลา 3 เดือน ภายหลังบำบัดครบกำหนด ร้อยละ 100
สรุป: จังหวัดอำนาจเจริญบำบัดผู้ป่วยยาเสพติด ใน รพ.สต. ทุกแห่ง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 มีการเตรียมพร้อมในด้านบุคลากร สถานที่ และสนับสนุนงบประมาณโดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ มีการบำบัดด้วยโปรแกรมจิตสังคมบำบัด ผลการบำบัดพบว่ามีผู้หยุดเสพหลังบำบัดครบกำหนด ร้อยละ 100
Background and Objective: Methamphetamine use remains a significant threat to security in many regions around the world. In 2017, Ministry of Public Health announced the policy that the Tambon (sub-district) health promoting hospitals (THPHs) are expected to primarily manage the treatment for the patients with substance use disorder. Amnatcharoen province is the only setting that provides the substance treatment cover all 77 THPHs since 2012. However, there is a lack of information about the situations regarding drug treatment system for the methamphetamine users in the THPHs. Therefore, this study aimed to explore the situation regarding the voluntary drug treatment system for the methamphetamine users in the THPHs, Amnatcharoen province in four aspects as follows: policy and treatment system, place, personnel and budget.
Methods: This was a descriptive study. The secondary data that concerned to the topic, such as, the annual action plan of the addiction treatment in Amnatcharoen, the annual report of the addiction treatment, the guideline of the addiction treatment in Amnatcharoen, were collected and studied. Descriptive statistics of frequencies and percentages were used to describe the data obtaining from this study.
Results: The Amnatcharoen provincial Public Health Office (APPHO) had the policy that support methamphetamine addiction treatment in the voluntary drug treatment system. They facilitated this service by preparing the trained personnels, treatment centers and financial budget. The Matrix Program was used in the treatment service. It contained 9 visits within the 4-month period. All of the patients who obtained treatment in THPHs was methamphetamine or Ya-ba addicts. They were categorized as the drug abuse. Treatment success rate at the three months treatment program was 100%.
Conclusion: Amnatcharoen province is the only province that introduce the drug treatment in all 77 THPHs since 2012. The trained personnels, treatment centers and budget were prepared by the APPHO. The Matrix Program was used in the treatment service. Treatment success after the treatment program was 100%.
. . .
Full text.
|