Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Evaluation of Preceptor Teaching Behaviors in Pharmacy Professional Clerkship

ผลการประเมินพฤติกรรมการสอนของเภสัชกรพี่เลี้ยงในการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพเภสัชกรรม

Ananya Songmuang (อนัญญา สองเมือง) 1




หลักการและวัตถุประสงค์: เภสัชกรพี่เลี้ยงในแต่ละหน่วยฝึกมีจำนวนแตกต่างกัน พฤติกรรมการสอนนักศึกษาฝึกงานของพี่เลี้ยงจึงต่างกันด้วย การศึกษานี้จึงต้องการเปรียบเทียบคะแนนประเมินพฤติกรรมการสอนของเภสัชกรพี่เลี้ยง โดยนักศึกษาเภสัชศาสตร์ ในแต่ละกลุ่มที่มีจำนวนพี่เลี้ยงต่างกัน

วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบ Prospective study ในกลุ่มนักศึกษาเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 6 ที่มาฝึกงานโรงพยาบาลวารินชำราบ ตั้งแต่ 8 พฤษภาคม 2560 ถึง 26 มกราคม 2561 แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่มีพี่เลี้ยง 1, 2 และ 4-7 ราย ประเมินพฤติกรรมการสอนโดยใช้แบบประเมินประกอบด้วย 5 หมวดคำถาม ได้แก่ การปฐมนิเทศ การสื่อสารระหว่างฝึกงาน การประเมินระหว่างฝึกงาน การเป็นแบบอย่างที่ดี และการให้ความช่วยเหลือในการฝึกงาน โดยนักศึกษาสามารถให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมได้ เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยสถิติ Chi-square และ Kruskal-Wallis H

ผลการศึกษา: แบบสอบถาม 127 ชุด จากนักศึกษาฝึกงาน 43 คน พบว่า คะแนนประเมินพฤติกรรมการสอนในกลุ่มที่มีพี่เลี้ยง 1 และ 2 ราย ไม่แตกต่างกัน ในขณะที่ กลุ่มที่มีพี่เลี้ยง 4-7 ราย ได้คะแนนน้อยที่สุดในทุกหมวดคำถาม และน้อยกว่ากลุ่มที่มีพี่เลี้ยง 1 และ 2 ราย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) หมวดคำถามด้านการปฐมนิเทศ ได้คะแนนน้อยที่สุดในทุกกลุ่มเมื่อเทียบกับด้านอื่น คือร้อยละ 78.8, 71.7, และ 37.8 ตามลำดับ ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากนักศึกษาฝึกงานส่วนใหญ่ คือ เรื่องภาระงานของพี่เลี้ยง และระยะเวลาในการอภิปรายกรณีศึกษาระหว่างวันที่จำกัด

สรุป: จำนวนเภสัชกรพี่เลี้ยงต่อนักศึกษาที่มากขึ้น มีผลต่อการประเมินพฤติกรรมการสอนที่ด้อยกว่าการมีพี่เลี้ยงคนเดียวหรือสองคน อย่างไรก็ตาม เภสัชกรแหล่งฝึกมีข้อจำกัดในเรื่องภาระงาน และเวลาในการอภิปรายกรณีศึกษา

 

Background and Objectives: The number of pharmacy clerkship preceptors and their teaching behaviors may be different. This study aimed to compare the evaluation of preceptor teaching behaviors by pharmacy students based on the number of preceptors working with the student.

Methods: We performed a prospective study among the 6th year pharmacy students completing a clerkship at Warinchamrab hospital from May 8, 2017 to January 26, 2018. Students assessed preceptor teaching behaviors, with three categories by number of preceptors: one, two, and 4-7 preceptors. A questionnaire was used to evaluate preceptor teaching behaviors using a 5 point Likert scale: orientation, direction and feedback, evaluation, role modeling, and facilitating behaviors. Students were also allowed to provide comments and suggestions. Chi-square and Kruskal-Wallis H were used to compare the difference between each group.

Results: Among 127 questionnaires from 43 students, the score in the one and two preceptors group were not different. Students with 4-7 preceptor provided the lowest rating in all domains. The score in the 4-7 preceptors group was significantly lower than the group with one and two preceptors (p<0.05). Among the 5 domains, the lowest rated of three groups was orientation with strongly agree 78.8%, 71.7%, and 37.8%, respectively. Concerns raised pharmacy students included the high amount of preceptor workload and time allotted for case discussions with student during the day.

Conclusion: The increase in number of pharmacy preceptor per student affects the evaluation of teaching behaviors compared to one or two preceptors. However, workload and time spending for case discussion are limitation of preceptor in pharmacy clerkship.

 

. . . Full text.
Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

Cancer Chemoprevention from Dietary Phytochemical (เคมีป้องกันมะเร็ง :กลไกการป้องกันของยาและสารจากธรรมชาติ)
 
Role of Natural Products on Cancer Prevention and Treatment (บทบาทของผลิตภัณฑ์ธรรมชาติในการป้องกันและรักษามะเร็ง)
 
Prescription-Event Monitoring: New Systematic Approach of Adverse Drug Reaction Monitoring to New Drugs (Prescription-Event Monitoring: ระบบการติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาใหม่ )
 
The use of Digoxin in Pediatrics (การใช้ยาดิจ๊อกซินในเด็ก)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Pharmacology
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0