Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Evaluation of Pharmaceutical Care in Sexually Transmitted Infection Patients in Chusak Pharmacy, Muang District, Maha Sarakham Province

ผลการบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ณ ร้านยาเภสัชกร ชูศักดิ์ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

Krongkwan Daungpawung (ครองขวัญ ดวงพาวัง) 1, Peeraya Somsaard (พีรยา สมสะอาด) 2, Pornchanok Srimongkon (พรชนก ศรีมงคล) 3, Kasama Chokkatiwat (กษมา โชคติวัฒน์) 4




หลักการและวัตถุประสงค์ : ปัจจุบันโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์มีอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นทั่วโลก ผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ส่วนใหญ่เลือกที่จะซื้อยามารับประทานเอง  ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้  คือ ประเมินผลของการบริบาลเภสัชกรรมในด้านผลการรักษา อาการไม่พึงประสงค์  อัตราการกลับเป็นซ้ำ  ความรู้และความพึงพอใจของผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ที่มารับบริการในร้านยา

วิธีการศึกษา: รูปแบบการศึกษาแบบติดตามไปข้างหน้า ในผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ที่มารับบริการในร้านยาเอกชน (เภสัชกรชูศักดิ์) จังหวัดมหาสารคาม โดยผู้ป่วยที่เข้าร่วมการศึกษาจะได้รับการบริบาลเภสัชกรรม ประกอบด้วย การรักษาด้วยยาและให้ความรู้พร้อมแผ่นพับโดยนิสิตเภสัชศาสตร์ และทำการติดตาม 7 เดือน หลังได้รับการบริบาลเภสัชกรรม และผู้ป่วยจะได้รับการประเมินความรู้จากการให้บริบาลทางเภสัชกรรม

ผลการศึกษา : จากจำนวนผู้ป่วยที่เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 33 ราย มีอาการเข้าได้กับโรคเชื้อราในช่องคลอด 15 ราย พยาธิในช่องคลอด 12 ราย หนองในเทียม 4 ราย และเริมที่อวัยวะเพศ 2 ราย พบว่าผู้ป่วย 29 ราย (ร้อยละ 87.9)  ให้ความร่วมมือในการใช้ยาจนครบขนาดการรักษา พบผู้ป่วย 11 ราย (ร้อยละ 33.3) ที่เกิดอาการไม่พึงประสงค์ โดยอาการที่พบมากที่สุดคือ อาการขมปากจากการใช้ยา metronidazole  ร้อยละ 83.3 (8 จาก 10 ราย)  หลังติดตามการรักษาพบว่าผู้ป่วย 29 ราย (ร้อยละ 87.9) หายจากโรค เมื่อทำการติดตาม 7 เดือนหลังการรักษาพบการกลับเป็นซ้ำของโรคร้อยละ 14.8  จากการทดสอบความรู้หลังให้การบริบาลทางเภสัชกรรมพบว่าผู้ป่วยมีคะแนนความรู้เพิ่มขึ้นจากก่อนให้บริบาลเภสัชกรรมอย่างมีนัยสำคัญ (p <0.001)  ส่วนผลคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยข้อละ 4.4 ± 0.6 คะแนน

สรุป :  การให้การบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ในร้านยามีแนวโน้มที่จะทำให้ผู้ป่วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มีความรู้เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การใช้ยาและการปฏิบัติตัวเพิ่มขึ้น รวมถึงมีความความพึงพอใจในการบริบาลเภสัชกรรมที่ร้านยา

 

Background and Objective: At present, incidence of sexually transmitted infection (STI) was increased all over the world. In Thailand, STI patients often purchase medicine from drug store by their own judgement. This study was aimed to evaluate the pharmaceutical care provided for STI patients on cure rate, patients’s knowledge and satisfactions of pharmaceutical care.

Methods : This study was descriptive study. Data was collected at a private pharmacy (Chusak pharmacy), Muang District, Maha Sarakham Province, Thailand. Patients received pharmaceutical care from pharmacy student consisting of drug therapy and knowledge about sexual transmitted infection with pamphlet which were tested after pharmaceutical care, then followed up for 7 months.

 Results : Thirty-three patients were enrolled in this study, consist of 15 cases of vaginal candidiasis (45.5%), 12 cases of vaginal trichomoniasis (36.4%), 4 cases of non specific urethritis (12.1%) and 2 cases of genital herpes (6.1%). Twenty-seven cases (85.3%) were cured and followed up until the end of the study. Knowledge scores were significantly increased from baseline after receiving pharmaceutical care (p <0.001).  There were 4 recurrent patients (14.8%), the most recurrence rate was found in patients with vaginal candidiasis (16.7%).  Adverse drug reactions were found in 11 patients (33.3%). The most adverse drug reactions were metallic taste from metronidazole (8 in 10 cases).  The average satisfaction scores after receiving pharmaceutical care was 4.4+0.6 points

 Conclusion: The study showed that providing pharmaceutical care for sexually transmitted infection patients in community pharmacy would help to increase knowledge about the sexually transmitted diseases and satisfaction of pharmaceutical care.

Keywords: pharmaceutical care, sexually transmitted infection

 

. . . Full text.
Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0