หลักการและวัตถุประสงค์ : เพื่อหาอุบัติการณ์ของผลบวกในการตรวจกรองก่อนคลอดเชื้อซิฟิลิสครั้งที่สอง ในสตรีตั้งครรภ์ที่มาคลอดที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์
วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลังในสตรีตั้งครรภ์ที่มาคลอดที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นทั้งหมด ในระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2546 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และมีผลการตรวจกรองก่อนคลอดเชื้อซิฟิลิสด้วยวิธี Venereal Disease Research Laboratory (VDRL) สองครั้ง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลของสตรีตั้งครรภ์ที่มาคลอด ทารกและผลของการคลอด ที่มีผลการตรวจคัดกรองซิฟิลิสด้วยวิธี VDRL ในสตรีตั้งครรภ์ครั้งที่สองเป็นบวก
ผลการศึกษา : จากการศึกษาพบว่า สตรีตั้งครรภ์ที่มาคลอดที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ทั้งหมด 13,527 ราย ไม่มีข้อมูลการตรวจหรือผล VDRL 627 ราย ดังนั้นจึงมีจำนวนสตรี 12,900 ราย ที่นำมาวิเคราะห์ ในจำนวนนี้มีสตรีที่ได้รับการตรวจซิฟิลิส 2 ครั้งมีจำนวน 12,652 ราย มีสตรีที่มีการตรวจคัดกรองซิฟิลิสให้ผลบวกครั้งใดครั้งหนึ่ง 45 ราย โดยเป็นการตรวจคัดกรองซิฟิลิสให้ผลบวกครั้งแรก 32 ราย ดังนั้นจึงมีสตรี 12, 620 รายที่มีการตรวจคัดกรองซิฟิลิสให้ผลลบครั้งแรกและนำมาเข้าการวิจัยนี้ พบมีสตรีมีผลการตรวจ VDRL ครั้งที่สองเป็นบวก โดยที่การตรวจคัดกรองครั้งแรกเป็นลบเป็นจำนวน 13 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.1 (13 ใน 12,620) ซึ่งในจำนวนทั้ง 13 รายนี้มีการตรวจยืนยันการติดเชื้อจริง ร้อยละ 0.02 (2 ใน 12,620 )
สรุป : อุบัติการณ์ของการมีผลตรวจคัดกรองก่อนคลอดเชื้อซิฟิลิสครั้งที่สองเป็นบวกมีค่าค่อนข้างต่ำ หากตรวจครั้งแรกให้ผลลบ
คำสำคัญ : การตรวจกรองก่อนคลอด, ซิฟิลิสในการตั้งครรภ์
Background and Objective: To determine the incidence of positive result (reactive VDRL) in the second antenatal screening for syphilis in pregnant women who delivered at Srinagarind Hospital.
Methods : A retrospective descriptive study was conducted at Srinagarind Hospital , Khon Kaen University. All of the mothers had two antenatal Venereal Disease Research Laboratory (VDRL) screening tests and delivered babies during January 1, 2003 - December 31, 2007 were included in this study. Result of VDRL test , maternal and neonatal outcomes were analyzed.
Results : In the total number of 13,527 pregnant women delivered at Srinagarind Hospital during the study period, 627 cases had no data of VDRL screening. Only 12,900 medical records were analyzed and 12,652 pregnant women had two VDRL screening tests. Forty-five cases were positive for VDRL screening either in first or second screening. Thirty-two in 45 cases were positive for the first VDRL screening and, therefore, were excluded from this study. The 12,620 pregnant women who had negative VDRL screening in the first time were recruited. The incidence of positive results in the second antenatal syphilis infection screening was 0.1 % (13 in 12,620 cases). In addition, 0.02 % (2 in12, 620 cases) had positive confirmatory Treponema pallidum Hemagglutination Antibody ( TPHA) test.
Conclusion: Incidence of positive results in the second antenatal screening for syphilis who had negative results in the first antenatal screening was very low.
Key words : VDRL, syphilis in pregnancy, TPHA test
. . .
Full text.
|