Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Statistics of Patients with Cleft Lip and Cleft Palate in Srinagarind Hospital, 1984-2007

การศึกษาสถิติของผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ปีพ.ศ. 2527-2550

Orathai Lekbunyasin (อรทัย เล็กบุญญาสิน) 1, Suteera Pradubwong (สุธีรา ประดับวงษ์) 2, Vasana Chantachum (วาสนา จันทะชุม) 3, Supitcha Udomtanasup (สุพิชฌาย์ อุดมธนทรัพย์) 4, Bowornsilp Chowchuen (บวรศิลป์ เชาวน์ชื่น) 5




หลักการและเหตุผล : โรงพยาบาลศรีนครินทร์เป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิที่มีศักยภาพพร้อมในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่อย่างครบวงจร จึงมีความจำเป็นที่ต้องศึกษาถึงสถิติและแนวโน้มในการเข้ารับการรักษาตามช่วงอายุและภาวะโรคร่วมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นศูนย์กลางของการดูแล การวิจัยที่เป็นเลิศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเขตภูมิภาคใกล้เคียง และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการวางแผนการดูแลอย่างต่อเนื่อง และครบวงจรอันจะส่งผลให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ต่อไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสถิติและแนวโน้มในการเข้ารับการรักษาของผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ ณ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ทั้งในด้านประเภท การกระจายตัว จำนวนครั้งในการเข้ารับการผ่าตัดและช่วงอายุของการเข้ารับการผ่าตัด

วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Survey) ผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ทุกราย ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ประเภทผู้ป่วยในตั้งแต่ปีพ.ศ. 2527 – 2550 โดยใช้เป็น

สถานที่ศึกษา : โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยใช้แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยซึ่งสร้างขึ้นเอง โดยผ่านผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเนื้อหาและระเบียบวิธีวิจัยเรียบร้อยแล้ว

ผลการศึกษา : จากการศึกษาพบว่า มีผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่เพศชายมากที่สุดร้อยละ 56.3  เป็นผู้ป่วยปากแหว่ง ร้อยละ 31.8 ผู้ป่วยเพดานโหว่ ร้อยละ 22.5 และเป็นผู้ป่วยทั้งปากแหว่งและเพดานโหว่ ร้อยละ 45.7 รวมทั้งหมด 1,950 ราย เข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลทั้งหมด 3,342 ครั้ง โดยผู้ป่วยหนึ่งรายสามารถเข้ารับการผ่าตัดมากกว่าสองครั้งได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีทั้งภาวะปากแหว่งและเพดานโหว่ ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาศัยในจังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม และกาฬสินธุ์ มากที่สุด คือร้อยละ 55.1, 24.9 และ 16.9 ตามลำดับ ในช่วงปีพ.ศ. 2527-2535 มีผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัด cheiloplasty ในช่วงอายุ 3-4 เดือน ร้อยละ 14.5 เข้ารับการผ่าตัด palatoplasty  ในช่วงอายุ 9-12 เดือน ร้อยละ 28.5 ส่วนในช่วงปีพ.ศ. 2536-2544 มีผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัด cheiloplasty ในช่วงอายุ 3-4 เดือน ร้อยละ 32.4 เข้ารับการผ่าตัด palatoplasty ในช่วงอายุ 9-12 เดือน ร้อยละ 52.3 และเข้ารับการผ่าตัด Correction of cleft lip and cleft palate ช่วงอายุ 4-5 ปี ร้อยละ 15.5 ซึ่งแนวโน้มที่ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดตามช่วงอายุเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากทีมสหสาขาวิชาชีพได้มีการพัฒนาแนวทางการดูแลและประสานความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น  และในปีพ.ศ. 2545 เป็นต้นมา ได้มีนโยบายระบบการส่งต่อการรักษาที่ชัดเจนขึ้น ประกอบกับได้มีการพัฒนาการรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้เป็นทีมแบบสหวิทยาการ (multidisciplinary team)ได้สมบูรณ์แบบมากขึ้น จึงทำให้ระบบการติดตามการรักษามีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นดังนี้ ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัด cheiloplasty  ในช่วงอายุ 3-4เดือน ร้อยละ 57 เข้ารับการผ่าตัด palatoplasty ในช่วงอายุ 9-12 เดือน ร้อยละ 63 และเข้ารับการผ่าตัด correction of cleft lip and cleft palate ในช่วงอายุ 4-5 ปี ร้อยละ 11 ตามลำดับ

สรุป: จากการศึกษาจะเห็นได้ว่าผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่มีแนวโน้มที่เข้ารับการรักษาและเข้ารับการผ่าตัดตามช่วงอายุเพิ่มมากขึ้น โดยจังหวัดที่มารับบริการมากที่สุดส่วนใหญ่อยู่ในเขตรับผิดชอบของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขตขอนแก่น ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของสปสช.ที่วางระบบไว้ แต่อย่างไรก็ตามยังมีผู้ป่วยบางรายที่ยังได้รับการผ่าตัดช้ากว่าเกณฑ์อายุที่กำหนด ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ คือ การส่งต่อที่ล่าช้า ภาวะโรคร่วมของผู้ป่วย การขาดความรู้ ความเข้าใจทั้งของเจ้าหน้าที่และผู้ดูแล และจำนวนผู้ป่วยที่ต้องรอผ่าตัดเป็นจำนวนมาก เหตุผลเหล่านี้อาจมีส่วนทำให้ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดรักษาช้ากว่าเกณฑ์ได้

คำสำคัญ  ปากแหว่ง  เพดานโหว่ ปากแหว่งและเพดานโหว่

Background : Srinagarind Hospital is a tertiary hospital with high potential for medical care of patients with cleft lip and cleft palate so we need to study about statistic and trend of the types of the patients who receive the medical care which depends on the age and illness in order to prepare to be a center of medical care, to have excellent researches in the Northeast  and the nearest regions, to plan for giving the medical care and to have complete service which will benefit for patients with cleft lip and cleft palate. This study aim to study about statistic and trend of the types of the patients with cleft lip and cleft palate statistic in Srinagarind Hospital about of sort, spread, frequency and age of patients.

Methods : A retrospective descriptive study. Patients with cleft lip and cleft palate in Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine,  Khon Kaen University.

Result: The study result is found that the most patients is male patients with cleft lip and cleft palate were 56%. There were 32% cleft lip patients, 22% cleft palate patients and 46% cleft lip with cleft palate patients from 1,950 in patient cases that came 3,342 visits, the patient can came to received the treatment many time. The majority of the patients live in Khon kaen, Mahasarakham, and Kalasin were 55%, 25% and 17 % respectively.

          During 1984-1992, the patients to received cheiloplasty treatment age 3-4 months were 14%, to received palatoplasty treatment age 9-12 months were 29%, and during 1993-2001, the patients to received cheiloplasty treatment age 3-4 months were 32%, to received palatoplasty treatment age 9-12 months were 52% and the patients received correction of cleft lip and cleft palate age 4-5 years were 15%. The trend of patients has been increasing by patient’s age; because of the mutidisciplinary team has developed a medical care tendency and work together to the concrete. In 2002, the referral system was developed and the treatment by multidisciplinary team and treatment protocol has absolutely and efficiency.  Therefore, a patient to received cheiloplasty treatment aged 3-4 months were increasing 57%, to received palatoplasty treatment aged 9-12 months were 63%, and the patients received correction of cleft lip and cleft palate aged 4-5 year were 11%.

Conclusion: The study result is found that cleft lip with cleft palate patients has come to received medical treatment by patient’s age increasing as follows Nation Health Security system plan. However, some patients to received medical treatment late, such as to send a patient late, an intervening disease, to be in need a knowledge for the authorities, and the many patients to wait for treatment. This reason might be effect to patients who received the treatment late.

Key words: Cleft lip and cleft palate

 

 

. . . Full text.
Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

Patient satisfaction with postoperative pain management at recovery room in Srinagarind Hospital (ความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการระงับปวดหลังผ่าตัดที่ห้องพักฟื้น โรงพยาบาลศรีนครินทร์)
 
Neonatal Hearing Screening (การตรวจการคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิด)
 
Laryngeal Cancer in Srinagarind Hospital (มะเร็งกล่องเสียงในโรงพยาบาลศรีนครินทร์)
 
Conservation Laryngectomy : Experience in Srinagarind Hospital (ประสบการณ์การผ่าตัดกล่องเสียงแบบอนุรักษ์ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Statistics
 
Otorhinolaryngology
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0