Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Abnormally Thickened Endometrium in Postmenopausal Breast Cancer Patients

การหนาตัวผิดปกติของเยื่อบุโพรงมดลูกในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่อยู่ในวัยหมดระดู

สุพัชญ์ สีนะวัฒน์ 1, ทวีศิลป์ ไชยบุตร 2




หลักการและเหตุผล : มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบเป็นอันดับต้นๆในสตรี มีการศึกษาหลายรายงานที่พบปัจจัยบางประการ เช่น ความอ้วน หรือภาวะที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายสูง อาจกระตุ้นให้เกิดทั้งมะเร็งเต้านมและมะเร็งของเยื่อบุโพรงมดลูกได้ จึงควรจะได้มีการศึกษาเป็นอย่างยิ่งว่าผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่อยู่ในวัยหมดระดูและมารับการรักษาในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มีการหนาตัวที่ผิดปกติของเยื่อบุโพรงมดลูก ตลอดจนความผิดปกติอื่นๆ ของอวัยวะสืบพันธุ์หรือไม่

วัตถุประสงค์ : เพื่อการศึกษาความชุกของการหนาตัวผิดปกติของเยื่อบุโพรงมดลูกในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่อยู่ในวัยหมดระดู

รูปแบบการศึกษา : เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง (Cross-sectional descriptive study)

สถานที่ทำการศึกษา : โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

กลุ่มตัวอย่าง : ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่อยู่ในวัยหมดระดู และไม่ได้รับการรักษาด้วยฮอร์โมนใดๆ จำนวน 66 คน ซึ่งมารับการตรวจติดตามหลังการผ่าตัดรักษาที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2542 ถึง 31 สิงหาคม 2543

การวัดผล : ผู้ป่วยทุกรายที่เข้าร่วมในการวิจัยนี้จะได้รับการซักประวัติ ตรวจร่างกายและตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงทางช่องคลอด ความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูกจะถูกวัดเป็นมิลลิเมตร และบันทึกในแบบบันทึกข้อมูล ร่วมกับความผิดปกติอื่นๆ ของอวัยวะสืบพันธุ์ที่ตรวจพบจากการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงทางช่องคลอด

ผลการวิจัย : การศึกษานี้พบว่าผู้ป่วยที่เข้าร่วมในการศึกษามีอายุเฉลี่ย 54.97 ปี มีน้ำหนักเฉลี่ย 57.95 กิโลกรัม และมีดัชนีมวลกายเฉลี่ย 24.48 กิโลกรัม/ตารางเมตร ผู้ป่วยมีอายุเฉลี่ยขณะได้รับการวินิจฉัยมะเร็งเต้านม 51.62 ปี ผู้ป่วยส่วนใหญ่ (75.76%) เป็นมะเร็งเต้านมระยะที่สองค่าเฉลี่ย + ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของเยื่อบุโพรงมดลูกเท่ากับ 3.55 + 1.72 มิลลิเมตร ความชุกของความหนาตัวผิดปกติของเยื่อบุโพรงมดลูก (มากกว่า 5 มิลลิเมตร จากการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงทางช่องคลอด) เท่ากับ 10.60% การศึกษานี้ยังพบความผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย กล่าวคือพบเนื้องอกมดลูก (myoma uteri) 4.55% และก้อนที่รังไข่ 1.52%

สรุป : พบความชุกของการหนาตัวผิดปกติของเยื่อบุโพรงมดลูกค่อนข้างสูง ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่อยู่ในวัยหมดระดูที่มารับการตรวจรักษาในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ผู้ป่วยในกลุ่มนี้จึงควรได้รับการตรวจประเมินทางนรีเวช เพื่อสืบค้นหาความผิดปกติของเยื่อบุโพรงมดลูกที่อาจพบร่วมได้กับมะเร็งเต้านม

Background: Breast cancer is among the commonest malignancies found in women. Several studies indicated that there are some factors that might co-incidentally give rise to the development of both breast cancer and endometrial cancer. These factors include obesity, prolong reproductive phase and excess estrogen level. It is interesting, therefore, to investigate whether postmenopausal breast cancer patients treated in Srinagarind hospital have thickened endometrium or other abnormalities of reproductive organs.

Objective: To determine the prevalence of endometrial thickening in postmenopausal breast cancer patients.

Design: Cross-sectional descriptive study.

Setting : Srinagarind hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University.

Subjects: Total of 66 postmenopausal breast cancer patients receiving treatment at Srinagarind hospital from 1 July 1999 to 31 August 2000 were included in the study. Patients who have been treated with hormones such as estrogen, progesterone or tamoxifen are excluded from the study.

Measurements: Thorough history taking and physical examination as well as transvaginal ultrasonography were conducted in all patients.

Results: Among the 66 patients included in this study, the mean age was 54.97 years. The mean body weight and mean body mass index was 57.95 kg and 24.48 kg/m2, respectively. The mean age at diagnosis of breast cancer was 51.62 years. The majority of patients (75.76%) had stage II disease. The mean + SD of endometrial thickness found in this study was 3.55 + 1.72 mm. The prevalence of thickened endometrium (defined as ET > 5mm from TVS) was 10.60%. Other pelvic pathologies detected by ultrasonography were myoma uteri (4.55%) and ovarian mass (1.52%).

Conclusion: The prevalence of thickened endometrium in postmenopausal breast cancer patients found in this study was interestingly high. It thus seems justified to propose that thorough pelvic examination as well as transvaginal ultrasound scan should be done in all postmenopausal patients diagnosed with breast cancer in order to detect endometrial and other pelvic pathologies that could arise in such cases.

. . . Full text.
Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

Diagnostic Cytology of Metastatic Malignant Melanoma in Pleural Effusion : A case report (การวินิจฉัยทางเซลล์วิทยาของมะเร็งเมลาโนมาที่แพร่กระจายมาที่ช่องปอด)
 
Clinical Significance of Atypical Squamous Cells of Undetermined Significance from Cervical Pap Smear (ความสำคัญทางคลินิกของ Atypical Squamous Cells of Undetermined Significance จากากรตรวจเซลล์วิทยาของปากมดลูก)
 
ABNORMAL PAP SMEAR IN AMPHURE KUMPHAWAPI (ระบาดวิทยาของสตรีที่มีแป๊ปสเมียร์ผิดปกติในอำเภอกุมภวาปี)
 
Personalized Therapy in Head and Neck Cancer Patients (การรักษาที่เหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละรายของโรคมะเร็งศีรษะและคอ)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Reproductive Cancer
 
Gynecology
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0