หลักการและเหตุผล: มะเร็งท่อทางเดินน้ำดีพบมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย การผ่าตัดเป็นวิธีหนึ่งในการรักษาและเป็นภาวะวิกฤตที่ก่อให้เกิดความเครียดและความวิตกกังวลสูง การแสวงหาข้อมูลเป็นการเผชิญปัญหาวิธีหนึ่งที่บุคคลนำมาใช้ การให้ข้อมูลก่อนผ่าตัดจะช่วยขจัดภาวะความวิตกกังวลดังกล่าวและช่วยให้ผู้ป่วยสามารถประเมินเหตุการณ์ได้ดียิ่งขึ้น พยาบาลห้องผ่าตัดให้บริการพยาบาลผู้ป่วยครอบคลุมแบบองค์รวมจะต้องเข้าใจและสามารถประเมินปัญหาความต้องการข้อมูลของผู้ป่วย คณะผู้วิจัยจึงศึกษาถึงความต้องการข้อมูลก่อนผ่าตัดในผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี เพื่อใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการให้การพยาบาลและให้ข้อมูลได้ตรงตามความต้องการที่แท้จริงของผู้ป่วย
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความต้องการข้อมูลก่อนผ่าตัดของผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี
ขอบเขตของการวิจัย: เป็นการศึกษาความต้องการข้อมูลก่อนผ่าตัดของผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี 1 วัน ก่อนการผ่าตัดใน โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ระหว่างเดือนสิงหาคม 2548-มกราคม 2549 จำนวน 80 ราย
วิธีการศึกษา:การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณา (Descriptive research) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้รับการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่านและเครื่องมือมีค่าสัมประสิทธิ์แบบแอลฟาครอนบาคเท่ากับ 0.98 แบบสอบถามความต้องการข้อมูลประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนที่ 1 เป็นแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ส่วนที่ 2 เป็นแบบสอบถามความต้องการข้อมูลก่อนผ่าตัด
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีที่เข้ามารักษาผ่าตัด ส่วนใหญ่มีความต้องการข้อมูลก่อนผ่าตัดทั้งหมดโดยรวมอยู่ในระดับมากคิดเป็นร้อยละ 68.8 ( =2.6, S.D.=0.6) มีความต้องการข้อมูลก่อนผ่าตัดอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 24.5 ระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 57.5
สรุป: ผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีที่มารับการรักษาผ่าตัด ส่วนใหญ่มีความต้องการข้อมูลก่อนผ่าตัดอยู่ในระดับมาก จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่บุคลากรทางการแพทย์จะต้องมีการวางแผนปรับปรุงและการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาลในด้านการให้ข้อมูลผู้ป่วยก่อนผ่าตัดอย่างมีประสิทธิภาพและข้อมูลมีความสมบูรณ์ครบถ้วนตามความต้องการที่แท้จริงของผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยมีความพร้อมทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและจิตวิญญาณ เสริมสร้างความเข้าใจที่ดีระหว่างผู้ป่วยกับบุคลากรทางการแพทย์และทำให้ผู้ป่วยมีความพึงพอใจในการรับบริการในโรงพยาบาลศรีนครินทร์มากขึ้น
Background: Cholangiocarcinoma (CHCA) is the hepatobiliary malignancy commonly found in Northeast of Thailand. Surgery is one of the treatment modality for CHCA. Stress and anxiety always occur in preoperative period and affect the physiology, psychology, emotion, social, thinking, perception and memory of the patients. To relieve their dismal feeling in this period, the patients usually seek the information concerning the surgery and its complications. Preparatory information is the essential and important mean to decrease levels of stress and anxiety.
Objective: To study the needs for preoperative information of CHCA patients in Srinagarind Hospital.
Methods: This was a descriptive study of 80 CHCA patients in preoperative period between August 2004 to January 2005. We studied preoperative information needs of CHCA patients in one day before surgery. The instruments used in this study consisted of two parts: 1) personal data procurement 2) the preparatory information and the questionnaires were validated by 3 experts. The internal consistencies of the questionnaires were tested and analized reliability by Cronbachs alpha coefficient. The coefficient were 0.98. The data were analized by SPSS Version 12.0 for Window determining the frequency and percentage.
Results: The needs for pre-operative information are rated as high level at 68.8% and moderate level at 24.5% ( |