หลักการและเหตุผล: ภาวะปัสสาวะคั่งเป็นภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดที่พบได้บ่อยที่สุด ซึ่งมักมีสาเหตุร่วมหลายปัจจัย เช่นเพศ อายุ ชนิดของการผ่าตัดและการให้ยาระงับความรู้สึก
วัตถุประสงค์: สำรวจภาวะปัสสาวะคั่ง หลังผ่าตัดในผู้ป่วยที่ได้รับการระงับความรู้สึกด้วยเทคนิค spinal หรือ epidural block ชนิดฉีดครั้งเดียวในโรงพยาบาลศรีนครินทร์
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง ในผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดด้วยเทคนิค spinal หรือ epidural block ชนิดฉีดครั้งเดียว จำนวน 1,538 ราย ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2549 เก็บข้อมูลเกี่ยวกับเพศ อายุ ชนิดของการ block ที่ให้หรือไม่ให้ยากลุ่ม opioid ชนิดของการผ่าตัด รวมทั้งสถานที่เกิดเหตุการณ์ ภาวะปัสสาวะคั่งหลังผ่าตัดหมายถึงภาวะที่ผู้ป่วยไม่สามารถปัสสาวะได้เองหลังได้รับการระงับความรู้สึกด้วยเทคนิค spinal หรือ epidural block ชนิดฉีดครั้งเดียว และต้องได้รับการสวนปัสสาวะภายใน 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด ใช้สถิติเชิงพรรณนาแจกแจงความถี่ และสถิติที่ใช้วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ
ผลการศึกษา: พบอุบัติการณ์ของภาวะปัสสาวะคั่งร้อยละ11.2
(95%CI,9.7-12.9) เพศชายมากกว่าเพศหญิง 122:50 ราย คิดเป็น Odds ratio (95%CI) =1.3(0.9,1.7) ช่วงอายุของกลุ่มศึกษาที่พบมากที่สุดคือ 21- 50 ปี เกิดภาวะปัสสาวะคั่ง 106 ราย(ร้อยละ 61.7) เมื่อหาความสัมพันธ์ของช่วงอายุที่มากกว่า 50 ปี มีโอกาสเกิดภาวะนี้เป็น1.7 เท่าของกลุ่มอายุที่น้อยกว่า 50 ปีเมื่อหาความสัมพันธ์ของช่วงอายุที่มากกว่า 50 ปี มีโอกาสเกิดภาวะนี้เป็น1.7 เท่าของกลุ่มอายุที่น้อยกว่า 50 ปี พบอุบัติการณ์มากที่สุดมาจากการบริหารยาชาทาง spinalอย่างเดียว 139 ราย คิดเป็นร้อยละ (95%CI) เท่ากับ 9.9(8.4-11.6) รองลงมาคือบริหารยาชาร่วมกับมอร์ฟีน และเกิดภาวะนี้ 18 รายคิดเป็นร้อยละ(95%CI) เท่ากับ 25.7(16-37.6) ส่วนการผ่าตัดบริเวณ extremity, hernia and perineum และ superficial พบร้อยละ 64, 19.2 และ11.6 ตามลำดับ
สรุป : การสำรวจภาวะปัสสาวะคั่ง หลังผ่าตัดในผู้ป่วยที่ได้รับการระงับความรู้สึกด้วยเทคนิค spinal หรือ epidural block ชนิดฉีดครั้งเดียวในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ พบอุบัติการณ์ของภาวะปัสสาวะคั่งร้อยละ11.2 ผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 50 ปี มีโอกาสเกิดภาวะนี้มากกว่า
Background: Urinary retention is a common postoperative complication associated with multifactorial risk factors such as types of anesthesia, surgery, analgesics, anticholinergics, and underlying medical conditions.
Objective: The goal of this study was to surveillance of the incidence of urinary retention following the single use of spinal and epidural anesthesia in Srinagarind Hospital.
Methods: A retrospective study was performed by reviewing the medical records of 1,538 surgical patients undergoing spinal or epidural anesthesia from January 1,2005 to December 31,2006. We defined urinary retention as occurring when intermittent urinary catheterization was performed after surgery within 24 hours. We collected variables including age, gender, type of surgery and anesthesia. Descriptive analysis was used to determine the incidence and associated risk factors.
Results: The overall incidence of urinary retention after the single use of spinal and epidural anesthesia, were 11.2% (95%CI,9.7-12.9). The study showed a positive correlation between male patients with ascending age. The incidence of urinary retention after spinal anesthesia was 9.9 %(95%CI 8.4-11.6). Increasing age (odds-ratio [OR] is 1.7; p-value is 0.002) was found to be the only factors significantly associated with postoperative urinary retention. Gender, type of surgery and choice of anaesthesia were not found to be significantly associated with urinary retention.
Conclusion: In our patient population, male patients and increasing age are at increased risk
of developing urinary retention following single dose spinal or epidural anesthesia.
Key words: urinary retention, incidence, spinal and epidural anesthesia,
. . .
Full text.
|