Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Clinical Radiology Teaching and Learning Process Assessment among the Fifth Year Medical Students, Faculty of Medicine, Khon Kaen University.

การประเมินกระบวนการจัดการเรียนการสอน รายวิชา 372 581 รังสีวิทยาคลินิก โดยนักศึกษาแพทย์ ชั้นปีที่ 5 มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีการศึกษา 2548

Jaturat Kanpittaya (จตุรัตน์ กันต์พิทยา) 1, Chongchareon Metta (จงเจริญ เมตตา) 2, Piyathida Kuhirunyaratn (ปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์) 3, Montien Pesee (มณเฑียร เปสี) 4




หลักการและเหตุผล  รายวิชา 372 581 รังสีวิทยาคลินิก เป็นวิชาเฉพาะสำหรับนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 5 ของหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต ซึ่งเป็นวิชาที่นักศึกษาแพทย์ต้องนำความรู้ไปประกอบการดูแลผู้ป่วย โดยต้องอาศัยการตรวจพิเศษวินิจฉัยเพิ่มเติม ในการวางแผนการดูแลผู้ป่วย อย่างไรก็ตามการจัดการเรียนการสอนวิชานี้มีข้อจำกัดคือ ระยะเวลาในการเรียนเพียง 4 สัปดาห์ เพื่อประโยชน์ในการเรียน การสอนสูงสูด และสอดคล้องกับนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย ดังนั้น ผู้วิจัยจึงจัดให้มีการประเมินรายวิชานี้โดยคาดว่า จะนำผลการศึกษาที่ได้มาปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 5 ต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอนรายวิชา 372 581 รังสีวิทยาคลินิก

รูปแบบการศึกษา การศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive study)

ประชากรศึกษา นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 5 จำนวน 158 คน

เครื่องมือ และการเก็บข้อมูล แบบสอบถามชนิดตอบเอง (Self administered questionnaire) มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 1-5 (Likert scale) ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรง (Content validity) และทดสอบค่าความเชื่อมั่น (Reliability alpha = 0.8) เก็บข้อมูลโดยใช้กล่องรับแบบสอบถามที่จัดไว้

การวิเคราะห์ข้อมูล  ข้อมูลที่ได้ถูกนำเข้าโปรแกรม Microsoft Excel ทำ data double entry และ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS แสดงข้อมูลเป็นค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (mean ±SD)

ผลการวิจัย ผู้วิจัยได้แจกแบบสอบถามจำนวน 158 ชุด และได้รับตอบกลับ 150 ชุด (ร้อยละ 94.93) เป็นนักศึกษาแพทย์ชาย 62 คน (ร้อยละ 41.3) หญิง 88 คน (ร้อยละ 58.7) นักศึกษาส่วนใหญ่ มีเกรดเฉลี่ยสะสมอยู่ระหว่าง 2-2.99 จำนวน 90 คน (ร้อยละ 60) เกรดเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.00-4.00 จำนวน 60 คน (ร้อยละ 40) เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยความคิดเห็นพบว่า นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 5 ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอน รายวิชา 372 581 รังสีวิทยาคลินิกในระดับมาก  (4.16 ± 0.56) และเมื่อพิจารณาองค์ประกอบรายด้านพบว่า นักศึกษามีความคิดเห็นในระดับมากต่อทุกรายด้าน ได้แก่  ด้านเนื้อหาวิชาที่เรียน (4.11 ± 0.58) ด้านการจัดการเรียนการสอน (4.02 ± 0.68) ด้านอาจารย์ผู้สอน (4.24 ± 0.55) ด้านผู้เรียน(4.17 ± 0.53) ด้านการวัดและการประเมินผล (4.17 ± 0.59) ด้านสื่อการเรียนการสอนและสิ่งอำนวยความสะดวก (4.23 ± 0.56) เมื่อทดสอบทางสถิติ เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความคิดเห็น ระหว่างนักศึกษา ชาย-หญิง และในกลุ่มนักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ย 2.00-2.99 และ 3.00 ขึ้นไป พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนความคิดเห็นต่อการเรียนวิชานี้ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p > 0.05)

สรุป การศึกษาครั้งนี้พบว่า นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 5 ปีการศึกษา 2548 มีความคิดเห็นต่อการกระบวนการจัดการเรียนการสอน รายวิชา 372 581 รังสีวิทยาคลินิก อยู่ในระดับมาก อย่างไรก็ตาม  ควรจะมีการปรับปรุงให้อยู่ในระดับมากที่สุด นอกจากนี้ในด้านการจัดการเรียนการสอน ยังมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด จึงควรที่จะได้มีการปรับปรุงในรายข้อต่างๆ ต่อไป

คำสำคัญ  การประเมินผล รังสีวิทยาคลินิก นักศึกษาแพทย์

Rationale: Clinical radiology is currently the one core-course of medical curriculum and important to the fifth year medical students in order to curative planning and diagnosis. Regarding the time limitation, the fifth year medical students only have four weeks to studying clinical radiology course. Due to course improving and in line with the medical education quality assurance, therefore, this study was being held.

Objectives: This study sought to determine the point of view of the fifth year medical students regarding to teaching and learning process of the 372 581 Clinical Radiology Course.

Research design: Descriptive study

Population study: One hundred and fifty-eight of the fifth year medical students at Faculty of Medicine, Khon Kaen University who registered in 2005 academic year.

Methods: Self administered questionnaire using Likert scale (1-5 score) and quality controlled by expert content validity consultation and reliability testing (alpha 0.8). By using Microsoft Excels 2003, Epi info ver 6 for data double entry and SPSS for descriptive statistics.

Results: A total 158 questionnaires were distributed at Department of Radiology with 94.93 % response rate. Males comprised 41.3% and females 58.7% of the sample, respectively. More than half of the study samples GPA were 2.0-2.9 (60.0%) and 40% of the samples were achieved GPA 3.0-4.0. The study samples reveal the teaching and learning process evaluation of this course in high level (4.16 ± 0.50). In each part of teaching and learning process, the sample also had shown high level. There were; (1) content (4.11 ± 0.58), (2) course management (4.02 ± 0.68), (3) lecturers (4.24 ±0.55), (4) learners (4.17 ± 0.53), (5) measurement and evaluation (4.17 ± 0.59), (6) instructional media and facility materials (4.23 ± 0.56).  In addition, there were no statistically significance between the teaching and learning process mean score among the fifth year medical student gender (male-female) and GPA group ( 2.0-2.99 and 3.0-4.0) (p > 0.05).

Conclusions: This study reveals that the fifth year medical student had shown high score of Likert scale in each part and all of teaching and learning process assessment of the 372 581 Clinical Radiology Course. Due to improving this course, findings of this study provide the useful information for the Department of Clinical Radiology staffs and related areas.     

Keywords: Evaluation, Clinical Radiology, Medical students . . . Full text.
Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

Self directed learning using computer assisted instruction in topic of Orthopedic trauma (การเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาภยันตรายทางออร์โธปิดิกส์)
 
Efficacy of CAI as additional media for medical procedure training, a trial in blood collection procedure training (การศึกษาประสิทธิภาพของการใช้สื่อการสอนในรูปแบบ ซี เอ ไอ ช่วยในการสอนการฝึกหัดเจาะเลือด)
 
Microcomputer assisted instruction in Orthopedics (ไมโครคอมพิวเตอร์ช่วยสอบวิชาออร์โทปิดิกส์)
 
Anesthesiology Improvement using the result of evaluation in Faculty of Medicine, Khon Kaen University (การปรับปรุงการสอนวิชาวิสัญญีวิทยาของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นโดยใช้ผลการประเมิน)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Medical Education & Training
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0