Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

The Necessity of Weekly Hemoglobin Level Monitoring in Cervical Cancer Patients Receiving Radiotherapy

ความจำเป็นในการตรวจระดับฮีโมโกลบินทุกสัปดาห์ในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกที่ได้รับรังสีรักษา

Patchaneeporn Porapakkham (พัชนีพร ปรปักษ์ขาม) 1, Bandit Chumworathayi (บัณฑิต ชุมวรฐายี) 2, Prapaporn Suprasert (ประภาพร สู่ประเสริฐ) 3, Jatupol Srisomboon (จตุพล ศรีสมบูรณ์) 4




หลักการและเหตุผล: ภาวะโลหิตจางในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกที่ได้รับรังสีรักษามีผลลดทั้งความสามารถในการควบคุมโรคเฉพาะที่และอัตราการรอดตายของผู้ป่วย มีคำแนะนำให้ตรวจระดับฮีโมโกลบิน (hemoglobin: Hb) ก่อนการให้รังสีรักษาและตรวจระดับ Hb ทุกสัปดาห์ในระหว่างการให้รังสีรักษา คณะผู้วิจัยมีความประสงค์ที่จะทราบว่าการตรวจระดับ Hb ในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกที่ได้รับรังสีรักษาโดยไม่ได้รับยาเคมีบำบัดร่วมด้วยมีความจำเป็นต้องทำทุกสัปดาห์หรือไม่

วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินคุณค่าของการตรวจระดับ Hb ทุกสัปดาห์ในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกที่ได้รับรังสีรักษา

วัสดุและวิธีการ: จากเวชระเบียนผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกในหน่วยมะเร็งวิทยานรีเวชที่ได้รังสีรักษาในช่วงพฤษภาคม พ.. 2543 ถึงพฤษภาคม พ.. 2545 ได้รวบรวมลักษณะทางคลินิก ผลการตรวจนับเม็ดเลือด (Complete Blood Count: CBC) ทุกสัปดาห์ เพื่อประเมินระดับ Hb เวลาและจำนวนครั้งในการให้เลือดทดแทน

รูปแบบการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนา

สถานที่ศึกษา: โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผลการศึกษา:         มีผู้ป่วยในการศึกษาครั้งนี้ทั้งหมด 113 ราย พบว่า 54 ราย (ร้อยละ 47.8) มีระดับ Hb ก่อนให้รังสีรักษาน้อยกว่า 10 g/dL ในผู้ป่วยกลุ่มนี้มีภาวะโลหิตจางระดับ 2-4 ในช่วงสัปดาห์ที่ 1-4 อยู่ 21-30 คนต่อสัปดาห์ หรือเฉลี่ย 23.5 คน (ร้อยละ 43.5) ต่อสัปดาห์ และ 5-22 คน หรือเฉลี่ย 15.3 คน (ร้อยละ 28.3) ต่อสัปดาห์ในสัปดาห์ที่ 5-8 มีผู้ป่วย 59 รายที่มีระดับ Hb ก่อนให้รังสีรักษามากกว่าหรือเท่ากับ 10 g/dL ในกลุ่มนี้พบว่ามีภาวะโลหิตจางระดับ 2-4 อยู่ 7-9 คนหรือเฉลี่ย 7.5 คน (ร้อยละ 12.7) ต่อสัปดาห์ในช่วง 4 สัปดาห์แรก และ 3-8 คนหรือเฉลี่ย 5.8 คนต่อสัปดาห์ในช่วงสัปดาห์ที่ 5-8 ผู้ป่วยที่มีระดับ Hb ก่อนให้รังสีรักษามากกว่าหรือเท่ากับ 11 g/dL พบว่ามีภาวะโลหิตจางระดับ 2-4 เพียงร้อยละ 0.8 ในสัปดาห์ที่ 1-4 และร้อยละ 4.9 ในสัปดาห์ที่ 5-8 มีผู้ป่วยที่ได้รับเลือดทดแทนจำนวน 47 คน (ร้อยละ 41.6) ในจำนวนนี้มีผู้ป่วย 42 คน (ร้อยละ 89.4) มีระดับ Hb ก่อนให้รังสีรักษาน้อยกว่า 10 g/dL ส่วนผู้ป่วยที่เหลืออีก 5 คน (ร้อยละ 10.6) มีระดับ Hb ก่อนให้รังสีรักษามากกว่าหรือเท่ากับ 10 g/dL (p < 0.001) มีเพียง 1 คนในกลุ่มที่มีระดับ Hb ก่อนให้รังสีรักษามากกว่าหรือเท่ากับ 11 g/dL ที่ได้รับเลือดทดแทน และไม่มีผู้ป่วยรายใดเลยที่มีระดับ Hb ก่อนให้รังสีรักษามากกว่าหรือเท่ากับ 12 g/dL ที่ต้องได้รับเลือดทดแทน

สรุป: ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกที่มีระดับ Hb ก่อนให้รังสีรักษาน้อยกว่า 10 g/dL ควรได้รับการตรวจระดับ Hb ทุกสัปดาห์ในระหว่างการให้รังสีรักษา สำหรับผู้ป่วยที่มีระดับ Hb ก่อนให้รังสีรักษามากกว่าหรือเท่ากับ 11 g/dL อาจตรวจระดับ Hb ในระยะเวลาที่ห่างขึ้นได้

คำสำคัญ: มะเร็งปากมดลูก, รังสีรักษา, ระดับฮีโมโกลบิน

 

Background: Several studies have demonstrated that anemia is one of the poor prognostic factors for cervical cancer patients treated with radiotherapy. We questioned the necessity of weekly hemoglobin level monitoring in these patients.  This study was conducted to evaluate the value of weekly hemoglobin level measurement in cervical cancer patients receiving radiotherapy.

Objective: To evaluate the value of weekly hemoglobin (Hb) level measurement in cervical cancer patients receiving radiotherapy.

Materials and Methods: The medical records of cervical cancer patients admitted in gynecologic oncology ward between May 2000 and May 2002 were reviewed to evaluate the clinical characteristics and weekly Hb level. Measurement outcomes include grade 2-4 hematologic toxicity, Hb nadir, week of Hb nadir and the number of blood transfusion.

Design: Descriptive study.

Setting: Chiang Mai University Hospital.

Results: There were 113 cervical cancer patients receiving radiotherapy in the study period. Fifty-four patients (47.8%) had Hb level at presentation < 10 g/dL. Among these patients, grade 2-4 anemia was found in 21-30 patients per week with a mean of 23.5 (43.5%) in week 1-4. Between week 5-8, grade 2-4 anemia was found in 5-22 patients per week with a mean of 15.3 (28.3%). Among 59 patients with Hb level at presentation > 10 g/dL, grade 2-4 anemia was found in 7-9 patients per week with a mean of 7.5 (12.7%) in the first 4 week. After week 4, grade 2-4 anemia was found in 3-8 patients per week with a mean of 5.8 (9.8%). Patients with Hb level at presentation > 11 g/dL, grade 2-4 anemia was found in only 0.8% and 4.9% in week 1-4 and week 5-8, respectively. Fourty-seven patients (41.6%) received a blood transfusion. Among these patients, 42 patients (89.4%) had a Hb level at presentation < 10 g/dL, the remaining 5 patients (10.6%) had a Hb level at presentation > 10 g/dL(P < 0.001). Only one patient with Hb level at presentation > 11 g/dL received a blood transfusion. No blood transfusion was administered in patients with Hb at presentation > 12 g/dL.

Conclusions: For cervical cancer patients with Hb level at presentation < 10 g/dL, weekly Hb level should be checked during radiotherapy. Among those with Hb level at presentation > 11 g/dL, Hb level may be checked less frequently.

Key words: Hemoglobin level, cervical cancer, radiotherapy

 

. . . Full text.
Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

Prevalence of Anemia in Pregnant Women at Srinagarind Hospital (ความชุกของภาวะเลือดจางในสตรีตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์)
 
Treatment of Supraventricular Tachycardia During Pregnacy with Verapamil and Cardioversion : A case Report and Review Literature. (การรักษา Supraventricular tachycardia ในผู้ป่วยตั้งครรภ์ด้วย Verapamil ร่วมกับการทำ Cardioversion รายงานผู้ป่วยและทบทวนวารสาร)
 
Nutrition During Pregnancy (โภชนาการในระหว่างตั้งครรภ์)
 
Diabetes Mellitus in Pregnancy (เบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Pregnancy
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0