หลักการและเหตุผล: คลินิกโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลศรีนครินทร์ได้จัดตั้งขึ้นตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2546 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสอนนักศึกแพทย์ให้มีความรู้ในการดูแลรักษาโรคความดันโลหิตสูงซึ่งพบได้บ่อย รวมถึงการให้บริการเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงแก่ผู้ป่วยในทุกแง่มุม จากการดำเนินการมาแล้วเป็นระยะเวลาหนึ่ง คณะผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาถึงลักษณะผู้ป่วยในคลินิกและผลการรักษาโดยรวมเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับคลินิกและนำไปสู่การพัฒนาด้านการรักษาต่อไป
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาถึงผลการรักษาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่คลินิกโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลศรีนครินทร์
รูปแบบการวิจัย: การศึกษาเชิงพรรณนา
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง: ผู้ป่วยที่มารับการรักษาอย่างต่อเนื่องที่คลินิกโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลศรีนครินทร์ เป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จำนวน 100 คน จากจำนวนผู้ป่วย 200 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย: แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยและเวชระเบียนผู้ป่วย
การวิเคราะห์ข้อมูล: สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติวิเคราะห์
ผลการวิจัย: จากกลุ่มตัวอย่าง 100 คน เป็นเพศหญิง 62 ราย (ร้อยละ 62) ชาย 38 คน อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยชายและหญิงคือ 59 +17.7 และ 57.4 + 10.6 ปี ตามลำดับ ระยะเวลาเฉลี่ยหลังจากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงคือ 4.5 ปี ผู้ป่วยชายมีค่าดัชนีมวลกายเฉลี่ยและค่ารอบเอวเฉลี่ยเท่ากับ 27.2 + 0.6 กิโลกรัมต่อตารางเมตร และ 94.8 + 0.8 เซนติเมตร ส่วนในผู้ป่วยหญิงมีค่าเฉลี่ยของทั้งสองค่าเท่ากับ 26.3 + 0.9 กิโลกรัมต่อตารางเมตรและ 92.9 + 5.6 เซนติเมตรตามลำดับ ยาลดความดันโลหิตที่ผู้ป่วยใช้มากที่สุด 3 ลำดับแรกคือ ACEI (38%), hydrochlorothiazide (35%), และ beta blocker (35%) ผลข้างเคียงจากยาลดความดันโลหิตพบในผู้ป่วยจำนวน 18 รายโดยพบอาการไอจากยากลุ่ม ACEI ในผู้ป่วยจำนวน 10 ราย ผู้ป่วยร้อยละ 92 สามารถควบคุมความดันโลหิตได้โดยส่วนใหญ่ใช้ยา 1-2 ตัว ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยที่สุดคือ ภาวะหัวใจห้องล่างซ้ายโต พบในผู้ป่วยจำนวน 20 ราย ภาวะที่พบร่วมที่พบบ่อยที่สุดคือ เบาหวานหรือ IFG จำนวน 45 รายและในการศึกษานี้พบว่ามีผู้ป่วยจำนวน 54 รายที่เข้าเกณฑ์การวินิจฉัยว่าเป็น metabolic syndrome ตามเกณฑ์ของ International Diabetes Federation (IDF, 2005) จำนวน 54 ราย
สรุปผล: ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่คลินิกโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลศรีนครินทร์ สามารถควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีร้อยละ 92 โดยใช้ยาเพียงหนึ่งถึงสองชนิดและพบว่ามีภาวะ metabolic syndrome และเบาหวานหรือภาวะ IFG ร่วมด้วยประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วย
Background: Hypertension clinic, Srinagarind hospital has established since April 2003. Our aims are to teach medical students in taking care of hypertensive patients and give a comprehensive and holistic care for hypertensive. We would like to evaluate patients characteristics and outcome of treatment in our clinic that will be baseline data to and improve our service.
Objective: To assess clinical outcome of hypertensive treated at hypertension clinic, Srinagarind hospital.
Design: Descriptive study
Setting: Hypertension clinic, Srinagarind hospital, Khon Kaen, Thailand
Population: Patients diagnosed as hypertension and treated at hypertension clinic, Srinagarind hospital for at least one year.
Sampling: 100 cases by simple random sampling from 200 populations
Tool: Record form and out-patient department record
Analysis: Descriptive statistics and analytical statistics
Results: There were 100 persons enrolled, 62 female. The mean ages were 59 +17.7 and 57.4 + 10.6 years old in female and male, respectively. The average duration after diagnosis as hypertension was 4.5 years. The mean BMI and mean abdominal circumference in male were 27.2 + 0.6 kg/m2 and 94.8 + 0.8 centimeters, respectively. In female group, both variables were 26.3 + 0.9 kg/m2 and 92.9 + 5.6 centimeters, respectively. The three most common anti-hypertensive drug uses were ACEI (38%), hydrochlorothiazide (35%), and beta blocker (35%). Side effects were found in 18 patients; ACEI induced cough (10%) was the most common one. Good control of hypertension was achieved in 92 patients with one or two medications. Left ventricular hypertrophy was the most common complication in our studied cases, 20 cases. According to International Diabetes Federation (IDF, 2005) criteria, there were 54 cases met metabolic syndrome criteria. Diabetes mellitus or impaired fasting glucose (IFG) was found in 45 cases.
Conclusion: The control rate of hypertensive patients treated at hypertension clinic, Srinagarind hospital was 92% with one or two antihypertensive drugs. Half of cases were associated with metabolic syndrome and/or diabetes mellitus or IFG.
Keywords: outcome, hypertension clinic, essential hypertension . . .
Full text.
|