e-journal Editor page
Closed reduction and percutaneous pinning.
Of the acute acromioclavicular separation.
การรักษาข้อ acromioclavicular เคลื่อนหลุดโดยวิธีดึงจัดกระดูกเข้าที่ และยึดตรึงข้อโดยใช้เข็มแทงผ่านผิวหนัง แล้วให้บริการข้อโดยผู้ป่วยขยับข้อด้วยตัวเอง
Polasak Jeeravipoolwarn (พลศักดิ์ จีระวิพูลวรรณ) 1, Winai Sirichativapee (วินัย ศิริชาติวาปี) 2
1. Department of Orthopedics and Rehabilitation Medicine, bsc. M.D. , (Hons), RRCS , FICS., 2. Department of Orthopedics and Rehabilitation Medicine Faculty of Medicine, Khon Kaen University, M.D (Hons), FRCS(T), FIMS.,
1. ภาควิชาออร์โธปิดดิคส์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, วทบ. พบ. (เกียรตินิยม), 2. ภาควิชาออร์โธปิดดิคส์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, พบ. (เกียรตินิยม),
|
บทคัดย่อ
การศึกษาวิธีการรักษาข้อ acromioclavicular เคลื่อนหลุดโดยวิธีการดึง จัดข้อเข้าที่ ยึดตรึงข้อโดยใช้เข็ม Kirschner แทงผ่านผิวหนังแล้วให้ผู้ป่วยบริหารข้อแบบช่วยขยับข้อด้วยตัวเองในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตั้งแต่ กรกฎาคม 2534 ถึง ธันวาคม 2535 พบว่าผู้ป่วยทั้งหมด 14 คน เป็นเพศชายทั้งหมด อายุโดยเฉลี่ย ของผู้ป่วย 33.79 ปี เป็นข้อด้านซ้าย 6 ราย และเป็นข้อด้านขาว 8 ราย สาเหตุของการบาดเจ็บที่เกิดจากอุบัติเหตุจากการจราจรเป็นส่วนใหญ่ มีเพียง 2 รายที่เกิดจากสาเหตุ อื่น คือ บาดเจ็บจากกีฬา 1 ราย และโดยช้างทำร้ายอีก 1 ราย การแบ่งกลุ่มของการบาดเจ็บของข้อพบว่าเป็นแบบที่ 3 11 ราย และแบบที่ 4 จำนวน 3 ราย ก่อนการรักษาระยะระหว่าง coracoid process กับกระดูกไหปลาร้า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.74 เซนติเมตร หลังการยึดโดยใช้เข็ม Kirschner มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.02 เซนติเมตร ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของข้างปกติเท่ากับ 0.76 เซนติเมตร เวลาเฉลี่ยในการผ่าตัดเอาเข็ม Kirschner ออกเท่ากับ 58 วัน หลังผ่าตัด ผู้ป่วย 3 ราย (21.4%) สามารถเคลื่อนไหวข้อไหล่ข้างที่บาดเจ็บได้โดยไม่มีความเจ็บปวดภายใน 2 สัปดาห์ หลังผ่าตัด ผู้ป่วย 13 ราย (92.88%) สามารถทำได้ใน 4 สัปดาห์ ผู้ป่วย 12 (85.71%) สามารถเคลื่อนไหวข้อได้เท่ากับข้างปกติใน 8 สัปดาห์ ผู้ป่วย 4 ราย (28.57%) มีการถอนของเข็มที่ยึดก่อนการผ่าตัดเอาออก และ 1 รายในจำนวนนี้มีการติดเชื้อ เป็นหนองที่ผิวหนังเนื่องจากเข็มเลื่อนทะลุผิวหนังออกมา
Abstract A prospective study of closed reduction percutaneous pin fixation and early early passive range of motion exercise of the acute acromioclavicular jonit separation was done in Srinakarind hospital, Khon Kaen, Thailand during July 1991 to December 1992 , 14 male patients were included, average age was 33.79 years, 6 were left side and 8 were right side, traffic accidents were the major cause of injury, only one was by sport injury and the other one was by sport injury and the other one was hit by an elephant, 11 cases were type III dislocation and 3 cases were type IV, average preoperative coracoclavicular gap was 1.74 centimeters. Average time of pin removal was 58 days postoperatively, 3 cases (21.42%) of the patient had free motion of the shoulder at 2 weeks postoperatively and 13 cases (92.88%) had pain free motion at 4 weeks, 12 cases (85.71%) had normal range of motion of the shoulder at 8 weeks. 4 cases (28.57%) had retrograde pin migration and one had pin tract infection.
. . .
Full text.
|
|
|
|
|