Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Diabetic Control, Proteinnuria and Diabetic Retinopathy in Diabetes Clinic at Petchabun Hospital

การควบคุมเบาหวาน การตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะและเบาหนาวเข้าจอประสาทตาในคลินิกเบาหวานโรงพยาบาลเพชรบูรณ์

วิกรม สุธีเวสารัช 1




บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล

                การขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิดเป็นสาเหตุสำคัญของการตายของทารกปริกำเนิด และสาเหตุของการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด  ส่วนใหญ่เกิดจากการดูแลในระหว่างการคลอด ซึ่งเป็นสาเหตุที่สามารถป้องกันได้

วัตถุประสงค์

                เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด ในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์เพื่อนำไปสู่การหาแนวทางป้องกันภาวะ ขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด

รูปแบบการศึกษา  

การศึกษาย้อนหลังแบบเปรียบเทียบ (case control study)

สถานที่ทำการศึกษา  

กลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลกาฬสินธุ์

กลุ่มตัวอย่าง

                ทารกที่คลอดที่โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ระหว่างเดือนตุลาคม 2544  ถึง เดือนธันวาคม 2545   กลุ่มศึกษา คือ ทารกแรกเกิดคลอดที่มีคะแนน Apgar น้อยกว่า หรือเท่ากับ 7 จำนวน 159 ราย   กลุ่มควบคุม คือ ทารกที่คลอดก่อนและหลังทารกในกลุ่มศึกษา และมีคะแนน Apgar มากกว่า 7 จำนวน 318 ราย

วิธีการศึกษา

                ศึกษาปัจจัยทั่วไป(socio-economic factors)  ปัจจัยก่อนคลอด (antepartum  factors)  ปัจจัยขณะคลอด (intrapartum  factors)  ปัจจัยด้านทารก (fetal  factors) จากบันทึกเวชระเบียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธี univariate analysis และ multiple logistic regression analysis.

ผลการศึกษา

                พบอุบัติการณ์ของ birth asphyxia เท่ากับ 36.1 ต่อ 1000 การเกิดมีชีพ  ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดจากการวิเคราะห์โดยวิธี   multiple logistic regression analysis.  ได้แก่ มารดามีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ (OR 26.81, 95% CI  6.44, 111.61), ทารกอยู่ในท่าก้น (OR 23.19,  95% CI  2.64, 203.54),  การตรวจพบความผิดปกติของ electronic fetal monitor (OR 8.3,  95% CI  3.08, 22.34),  การมีภาวะ cephalopelvic disproportion (OR 8.10,  95% CI  2.97, 22.20),  อายุครรภ์ 28-32 สัปดาห์ (OR 5.30,  95% CI  1.32, 21.22),  การคลอดโดยวิธี cesarean section (OR 3.87,  95% CI  1.94, 7.68),  อายุครรภ์ 33-36 สัปดาห์ (OR 3.29,  95% CI  1.13, 9.52),  ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2500 กรัม (OR 3.17,  95% CI  1.25, 8.06),  การศึกษาระดับประถม (OR 3.09,  95% CI  1.60, 5.95)

 

สรุป       

พบปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด มีทั้งปัจจัยทั่วไป ปัจจัยก่อนคลอด ปัจจัยระหว่างการคลอด และปัจจัยด้านทารก การทราบปัจจัยเสี่ยงทำให้โรงพยาบาลกาฬสินธุ์สามารถนำข้อมูลไปใช้พัฒนาแนวทางป้องกัน และปรับปรุงวิธีการปฏิบัติงานต่อไป

คำสำคัญ    ปัจจัยเสี่ยง ภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด

 

Abstract

Background        

Birth  asphyxia is an important cause of perinatal death. The causes of birth asphyxia are mostly due to the  processes during labor that may be prevented to reduce birth asphyxia and mortality of  the infant

Objective             

To determine risk factors for birth asphyxia  

Study design       

Case control study

Setting 

                Obstetric and Gynecology department of Kalasin Hospital.

Subject 

Cases were 159 newborns with 1-minute Apgar score of  7 or less, Controls were 318 newborns with 1-minute  Apgar score of more than 7,deliveried before and after each case.  All babies were deliveried in Kalasin Hospital between October 2001 and December 2002.

Method

Socio-economic factors, antepartum factors, intrapartum factors, fetal factors, were analysed with univariate  analysis and multiple logistic regression analysis.

Results

The incidence of birth asphyxia  was 36.1 per 1000 live births.  Factors significantly  associated with birth asphyxia included pregnancy induced hypertension (OR 26.81,  95% CI  6.44, 111.61),   breech presentation(OR 23.19,  95% CI  2.64, 203.54),  abnormal of electronic fetal monitoring (OR 8.3,  95% CI  3.08, 22.34),  cephalopelvic disproportion(OR 8.10,  95% CI  2.97, 22.20),  gestational age 28-32 weeks(OR 5.30,  95% CI  1.32, 21.22),  Cesarean section (OR 3.87,  95% CI  1.94, 7.68),   gestational age 33-36 weeks (OR 3.29,  95% CI  1.13, 9.52) , birth weight  less than 2500 grams (OR 3.17,  95% CI  1.25,8.06),   education £ 6th grade(OR 3.09,  95% CI  1.60, 5.95).               

Conclussion

                Risk factors for birth asphyxia included socio-economic factors, antepartum factors, intrapartum factors, fetal factors. The hospital will use this information in developing interventions to reduce birth asphyxia

 

. . . Full text.
Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

 
Self-care Practices of Non-Insulin Dependent Diabetic Patients (พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน)
 
Self – Care of Non – insulin Dependent Diabetic Patients with Early Diabetic Retinopathy. (พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินที่มีภาวะแทรกซ้อนทางจอประสาาทตาระยะเริ่มแรก)
 
Perioperative control of blood sugar in diabetic patients (การควบคุมเบาหวานในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัด)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Diabetes
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0