Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

The Cost of Treating Pressure Ulcers

ค่าใช้จ่ายในการรักษาแผลกดทับ

Nalintip Tamnanthong (นลินทิพย์ ตำนานทาง) 1, Werachai kowsuwon (วีระชัย โควสุวรรณ) 2




วัตถุประสงค์ : เพื่อหาค่าใช้จ่ายในการรักษาแผลกดทับของผู้ป่วยที่หอผู้ป่วยเวชศาสตร์ฟื้นฟู  โรงพยาบาลศรีนครินทร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
วิธีการดำเนินการวิจัย : เป็นการศึกษาแบบไปข้างหน้า  ศึกษาผู้ป่วยจำนวน 30 คน ในระยะเวลา 2 ปี 3 เดือน
ผลการวิจัย : มีแผลกดทับจำนวน 54 แผล  ตำแหน่งที่พบบ่อยที่สุด  คือ  บริเวณกระดูกก้น พบ  21 ใน  54  แผล  (38.88%) ตำแหน่งที่เป็นแผลความรุนแรงระดับ  4 บ่อยที่สุด  คือ  บริเวณกระดูกก้นอีกเชนกัน  พบ  8 ใน 12 แผล (66.66%) ค่าต้นทุนในการรักษาแผลกดทับ เป็นผลรวมของต้นทุนค่าอยู่รักษาในหอผู้ป่วยเวชศาสตร์ฟื้นฟู  ต้นทุนค่าแรงของพยาบาลในการชำระแผลกดทับต้นทุนเวชภัณฑ์การรักษาพยาบาล  และต้นทุนการผ่าตัดรักษา  มีมูลค่ารวมทั้งสิ้นเท่ากับ 1,167,926.46 บาท  ค่าเฉลี่ย ± ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 48,764.70 ± 55,426.43 บาทต่อคน ค่ามัธยฐานเท่ากับ  30,484.14 บาทต่อคน  ในขณะที่โรงพยาบาลเรียกเก็บค่ารักษาจากผู้ป่วยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรักษาแผลกดทับร่วมเป็นเงินทั้งสิ้น 471,753.00 บาท ค่าเฉลี่ย ± ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 15,217.84 ± 20,781.59  บาทต่อคน  ค่ามัธยฐาน เท่ากับ  6,800.00 บาทต่อคน
สรุป : แผลกดทับเกิดขึ้นเนื่องจากการขาดความรู้และการดูแลเอาใจใส่ผู้ป่วย  เป็นภาวะที่ป้องกันได้ไม่ยาก  แต่ถ้าเป็นแล้วจะต้องเสียค่าใช้จ่ายรวมทั้งเวลาในการรักษาเป็นจำนวนไม่น้อย  บุคลากรที่มีหน้าที่ในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับไม่ว่าจะอยู่ในระยะเฉียบพลันหรือระยะเรื้อรัง ควรเอาใจใส่ผู้ป่วยเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับให้ได้

Objective : To  determine  the  cost  of  treating  pressure  ulcers  in  the Rehabilitation  ward  Srinagarind  Hospital, Khon Kaen  University.
Method : This  is  a  prospective  study.  Thirty  patients  with  54 pressure  ulcers  were  studied  in  the  period  of  2 years  and  3  months.
Results: The  most  common  site  of  the  pressure  ulcer  was  at  the  sacral  area,  i.e.  21/54  ulcers (38.88%). The most common site  of  the grade 4 ulcer  was  also  at  sacral  area,  i. e. 8/12 ulcers (66.66%). The  cost  of  treating  pressure  ulcers  was  the  summation  of  the  costs  of  room  and  board  during  pressure  ulcer  treatment,  nursing  time  for  wound  care,  medical  supplies,  medications and  operations. The total cost was 1,167,926.46 baht (mean ± SD = 48,764.70 ±55,426.43 baht / patient, median = 30)484.14 baht / patient). While  the  hospital  charged  the  patients  for  ulcer  treatment  totally for  471,753.00 baht (mean ± SD = 15,217.84 ± 20,781.59 baht / patient, median = 6,800.00 baht / patient).
Conclusion : Pressure  ulcers  are  preventable  unless  one  is  ignorant. Treatments  of  pressure  ulcers  cost  both  time and  money.  Patients  with  increased  risks  of  developing  pressure  ulcers  should  have  special  attention  to  prevent  pressure  ulcers  both  in  acute  and  long  term  care  facilities.
Request  for  reprint : Nalintip  Tamnanthong,  Department  of  Rehabilitation  Medicine,  Faculty  of  Medicine,  Khon Kaen  University,  Khon  Kaen  40002. (
nalint-t@medlib2.kku.ac.th)
Key  words : Pressure  ulcer ,  decubitus  ulcer.
. . . Full text.

Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Extract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

An Analysis of Orthopedic Injury Profiles of Pedestrian-Motor Vehicle in District Hospital (การวิเคราะห์รูปแบบภยันตรายทางออร์โธปิดิกส์ที่เกิดจากอุบัติเหตุบนท้องถนนในโรงพยาบาลชุมชน)
 
Risk Factors Analysis of Gram-Negative Osteomyelitis (การวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อกรัมลบในโพรงกระดูก)
 
Prevalence of Vitamin D Deficiency among Postmenopausal Women at Srinagarind Hospital, Khon Kaen Province, Thailand. (ความชุกของภาวะขาดวิตามินดีในสตรีวัยทองที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น)
 
Appropriate Tibial Tunnel Angle and Knee Flexion Angle for Aiming Femoral Insertion in Endoscopic Anterior Curciate Ligament Reconstruction (มุมอุโมงค์ที่กระดูกแข้ง และมุมงอเข่าที่เหมาะสมในการเล็งจุดเกาะของเอ็นไขว้หน้า)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Orthopedics
 
Rehabilition Medicine
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0