|
e-journal Editor page
Osteoporosis : Complicated Problems of the Elderly
โรคกระดูกพรุน : ภาวะคุกคามผู้สูงอายุ
Sritian Trisirirat (ศรีเทียน ตรีศิริรัตน์) 1
|
โรคกระดูกพรุน (osteoporosis) คือโรคที่กระดูกเปราะบางและแตกหักง่าย เพราะมวลของกระดูก (bone mass) ลดลงจากการสูญเสียแคลเซียมออกจากกระดูกและโครงสร้างของเนื้อเยื่อกระดูกเสื่อมสภาพลง (microarchitectureal deterioration) เป็นผลให้เนื้อกระดูกบางไม่แข็งทนทาน องค์การอนามัยโลกได้กำหนดมวลของกระดูก (bone mass density : BMD) ให้เป็นค่ามาตรฐานไว้เปรียบเทียบโดยใช้ค่ามวลกระดูกจากคนปกติวัยหนุ่มสาว และกำหนดให้วินิจฉัยว่าเป็นโรคกระดูกพรุนเมื่อวัดค่า BMD ได้ต่ำกว่าค่ามาตรฐานข้างต้นมากว่า 2.5 SD แต่ค่าที่วัดได้ต่ำกว่าค่ามาตรฐานมากกว่า 1 SD จะวินิจฉัยว่ากระดูกบาง (osteopenia) และถ้าค่าที่วัดได้ต่ำกว่าค่ามาตรฐานไม่ถึง 1 SD ถือว่าปกติ กระดูกเป็นเนื้อเยื่อของร่างกายที่แข็งและทนทานเพราะมีแคลเซียมสูงถึงร้อยละ 99 ของปริมาณแคลเซียมทั้งหมดในร่างกายรวมทั้งโครงสร้างของเนื้อกระดูกมีความหยุ่นเหนียวคงคนต่อความเค้นต่างๆ (tensile strength) ที่เกิดขึ้นกับร่างกายได้ดี กระดูกเป็นของแข็งแต่ไม่ได้อยู่นิ่ง ภายในเนื้อกระดูกจะมีการปรับเปลี่ยนที่เกิดขึ้นตลอดเวลา เมื่ออายุมากขึ้นความแข็งแรงทนทานจะลดลง การปรับเปลี่ยนที่เกิดขึ้นนั้นอาศัยกระบวนการปรับแต่งกระดูก (bone remodeling) โดยเกิดการพอกและการสลายแร่ธาตุจากระดูกทุก ๆ 3-4 เดือน พบว่าในวัยหมดประจำเดือนและเมื่ออายุมากขึ้นจะมีอัตราการสลายแร่ธาตุมากกว่าอัตราการพอก จึงทำให้กระดูกของผู้สูงอายุเปราะบางแตกหักง่าย . . .
Full text.
|
|
|
|
|
|
|
Untitled Document
Untitled Document
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง
แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list
Untitled Document
Another articles
in this topic collection
|
|
|
Untitled Document
This article is under
this collection.
|
|
|
|
|