e-journal Editor page
Transcrectal Ultrasonography : First Experience in Srinagarind Hosptial
ประสบการณ์แรกในการใช้ Transrectal Ultrasonography ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์
Childa Aphinives (ชลิดา อภินิเวศ) 1, Pochavit Aphinives (พจน์ชวิทย์ อภินิเวศ) 2, Kajit Pacheerat (ขจิตร์ พาชีรัตน์) 3, Pakawa ชั้นศิริ (ภคว Chansiri) 4, Jiraporn Srinakarin (จิราภรณ์ ศรีนัครินทร์) 5, Eimorn Mairiang (เอมอร ไม้เรียง) 6
|
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาถึงการใช้ transcrectal ultrasonography ในการให้บริการผู้ป่วย โดยเปรียบเทียบกับประโยชน์ของเครื่องมือนี้ตามที่มีการกล่าวถึงโดยทั่วไป รูปแบบการศึกษา : เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา สถานที่ทำการศึกษา: ห้องตรวจ ultrasonography และห้องตรวจผู้ป่วยนอกแผนกศัลยกรรม โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง : ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเบื้องต้นว่าเป็นโรคของต่อมลูกหมากจากห้องตรวจผู้ป่วยนอกแผนกศัลยกรรม จำนวน 34 cases ในระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2540 ถึง กันยายน 2541 วิธีเก็บข้อมูล : เก็บตามแบบฟอร์มที่ทำไว้ การวัดผล : การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา โดยใช้จำนวนนับค่าเฉลี่ยและค่าร้อยละ ผลการศึกษา: จำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 34 cases อายุตั้งแต่ 29-85 ปี เฉลี่ย 59.48 ปี การวินิจฉัยหลังทำ ultrasonography เหมือนกับการวินิจฉัยเบื้องต้นทั้งหมด เมื่อดูโดยรวม พบว่าผลการวินิจฉัยหลังทำ ultrasonography ตรงกับผลการวินิจฉัยสุดท้ายเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้น 4 ราย ที่เป็น prostatic abscess (1), prostatitis (2) และ prostatic cancer (1) แต่รังสีแพทย์ให้การวินิจฉัยเป็น BPH ทั้งหมด สรุป : Transrectal ultrasonography เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงในการตรวจอวัยวะในอุ้งเชิงกราน โดยเฉพาะ prostate gland และช่วยนำทางในการทำbiopsy ซึ่งแต่เดิมต้องทำแบบคาดเดาเท่านั้น
Objective : To study the usage of transrectal ultrasonography Design: Prospective, descriptive study Setting : Ultrasonography room and Surgical OPD, Srinagarind hosptial, of Medicine, Khon Kaen University Subjects : Patients who had problem of prostate gland between November 1997 and September 1998 Data collection : Protocol Measurement : Descriptive statistics, including number, means, and percentages Results : There were 34 patients. Their age ranged from 29 to 85 years (means 59.48 years). Ultrasonography Diagnoses were the same as the clinical diagnoses in every case. Most ultrasonography diagnoses were similar to final diagnoses, except 4 cases. Instead of BPH, one case was prostatic abscess, two cases were prostatitis, and the last was prostatic cancer. Conclusions: Transrectal ultrasonography had high efficiency to examine the pelvic organs, esp. prostate gland. Instead of blind biopsy, trransrectal ultrasonography provided visual biopsy of prostate gland. . . .
Full text.
|
|
|
|
|