e-journal Editor page
Rate of Appointment Postponing in Department of Surgery, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
การศึกษาอัตราการเลื่อนนัดผ่าตัดผู้ป่วยของภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Pochavit Aphinives (พจน์ชวิทย์ อภินิเวศ) 1, Sarakjit Srimongkol (สลักจิต ศรีมงคล) 2, Tanachai Thanyakunsajjia (ธนะชัย ธัญญกุลสัจจา) 3, Kanita Chardee (คณิตา ชาดี) 4, Anchalee Taksinamanee (อัญชลี ทักษิณะมณี) 5, Vajarabhongsa Bhudhisawasdi (วัชรพงศ์ พุทธิสวัสดิ์) 6
|
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาอัตราการเลื่อนนัดผ่าตัดผู้ป่วยของภาควิชาศัลยศาสตร์ รูปแบบการศึกษา : เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา สถานที่ทำการศึกษา : ห้องตรวจศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง : ผู้ป่วยทุกคนที่มีนัดผ่าตัดกับแพทย์ ในภาควิชาศัลยศาสตร์ จำนวน 2,402 คน ในระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2539 ถึง 31 ธันวาคม 2539 วิธีเก็บข้อมูล : ตรวจสอบจากสมุดทะเบียนนัดผู้ป่วย ฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ และบัตรตรวจผู้ป่วยนอก ผลการศึกษา : จำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 2,402 คน เกิดการเลื่อนนัดผ่าตัด 1,295 คน (53.91%) แบ่งเป็นเลื่อนนัด 1 ครั้ง 1,064 คน (44.30%) 2 ครั้ง 175 คน (7.29%) 3 ครั้ง 47 คน (1.96%) 4 ครั้ง 6 คน (0.25%) 5 ครั้ง 3 คน (0.12%) ช่วงเวลาที่มีอัตราการเลื่อนนัดสูงสุด คือ ไตรมาศ 3 เท่ากับ 363 คน (28.03%) และต่ำสุดคือ ไตรมาสแรก เท่ากับ 288 คน (22.24%) หน่วยที่มีอัตราการเลื่อนนัดสูงสุดคือ หน่วยศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก เท่ากับ 62.07% (288/464) และต่ำสุดคือ หน่วยกุมารศัลยศาสตร์ เท่ากับ 32.58% (130/399) สาเหตุการเลื่อนนัดจากแพทย์เพียงฝ่ายเดียว มีจำนวน 613 คน (47.34%) จากผู้ป่วยเพียงฝ่ายเดียว 563 คน (43.47%) และจากทั้งแพทย์และผู้ป่วย 119 คน (9.19%) หน่วยที่มีสาเหตุการเลื่อนนัดจากแพทย์ฝ่ายเดียวสูงสุดคือ หน่วยประสาทศัลยศาสตร์ เท่ากับ 81.82% และต่ำสุดคือ หน่วยศัลยศาสตร์ทั่วไป 2 เท่ากับ 34.21% สรุป : อัตราการเลื่อนนัดผ่าตัดผู้ป่วยของภาควิชาศัลยศาสตร์ในปี พ.ศ. 2539 เท่ากับ 53.91% แยกเป็นสาเหตุจากแพทย์ฝ่ายเดียวเท่ากับ 47.34% และจากผู้ป่วยฝ่ายเดียวเท่ากับ 43.47% หน่วยที่มีอัตราการเลื่อนนัดสูงสุดโดยมีสาเหตุจากแพทย์ฝ่ายเดียวคือหน่วยประสาทศัลยศาสตร์ เท่ากับ 81.82% และต่ำสุดคือ หน่วยศัลยศาสตร์ทั่วไป 2 เท่ากับ 34.21% ช่วงเวลาที่มีอัตราการเลื่อนนัดสูงสุดคือ ไตรมาศ 3 เท่ากับ 28.03% และต่ำสุดคือไตรมาศแรกเท่ากับ 22.24%
Objective: To study the rate of appointment postponing in Department of Surgery. Design : Retrospective, descriptive study. Setting : Surgical OPD, Srinagarind hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Subjects : All patients who have appointment with Department of Surgery during January 1, 1996 and December 31, 1996. Data collection: Review from the appointment book, database of Srinagarind hospital, and cards of medical record. Measurement: Descriptive statistics, including number, percentages, and means. Results: The appointment postponing occurred in 1,295 cases out of 2,402 patients (53.91%). These were divied in to 5 groups according to numbers of postponing: one time 1,064 cases (44.30%) , two times 175 cases (7.29%), three time 47 cases (1.96%), four time 6 cases (0.25%), and five times 3 cases (0.12%). The highest incidence of posponing occurred in the 3rd trimester (28.03%), while the lowest incidence occurred in the 1st trimester (22.24%). Postponin incidence mostly occurred in cardiovascular & thoracic surgery 62.07% (288/464), while the postpoing incidence was lowest in pediatric surgery 32.58% (130/399). The causes of appointment postponing were 1) surgeons only 613 cases (47.34%), 2) patients only 563 cases (43.47%), and 3) both surgeons and patients 119 cases (9.19%). The division of which the surgeon was the major cause of postponing was neuro surgery (81.82%), in contrast with general surgery 2 (34.21%). Conclusions: The incidence of appointment postponig in Department of Surgery is 53.91% in 1996. Causes of postponment is similar from surgeon and patients. Neurosurgery has the highest incidence of postpoing from surgeon, while general surgery 2 has the lowest incidence. The highest incidence of postponing is in the 3rd trimester. . . .
Full text.
|
|
|
|
|