Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Cold and Cough Medications in Children : Uses and abuses

ยาแก้หวัด แก้ไอเด็ก : Uses and abuses

Jamaree Teeratakulpisarn (จามรี ธีรตกุลพิศาล) 1




บทนำ
 ยาเกือบทุกชนิดในประเทศไทย สามารถหาซื้อได้ง่ายจากร้านขายยา ทำให้คนไทยทุกคนสามารถบริโภคยาได้ด้วยตัวเอง โดยไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ ยาบางชนิดมีอันตรายหากบริโภคเกินจำเป็นหรือเกินขนาด หรือเกิดผลข้างเคียงจากฤทธิ์ของยา ยาแก้หวัด แก้ไอเป็นยากลุ่มหนึ่งที่ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะซื้อยารับประทานเองก่อนจะไปพบแพทย์ แม้ในประเทศที่พัฒนาแล้วก็เช่นกัน เนื่องจากเป็นยาที่ไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์1,2 โรคหวัดและอาการไอเป็นกลุ่มอาการที่ทำให้ผู้ป่วยมาพบแพทย์ที่ตึกผู้ป่วยนอกบ่อยที่สุดถึง 1 ใน 3 ของผู้ป่วยทั้งหมด3 ดังนั้นยาแก้หวัด แก้ไอจึงเป็นยาที่แพทย์นิยมสั่งให้ผู้ป่วยอยู่ในอันดับต้นๆ โดยเฉพาะในเด็ก4
 ยาแก้หวัด แก้ไอ ที่มีจำหน่ายในประเทศไทยมีมากมายเป็นพันตำรับ ส่วนใหญ่เป็นยาสูตรผสม จากข้อมูลข่าวสาร ARI กระทรวงสาธารณสุข5 พบว่าในจำนวนยาแก้หวัด แก้ไอ 1,976 ตำหรับ พบเป็นยาเดี่ยวเพียงร้อยละ 22.05 เป็นยาสูตรผสมถึงร้อยละ 77.95 ในจำนวนนี้ เป็นยาสูตรผสม 2 ชนิด ร้อยละ 18.83 สูตรผสมสามชนิดร้อยละ 30.42 และมากกว่า 3 ชนิด ขึ้นไปร้อยละ 28.69 และจากข้อมูลของ WHO ก็พบว่าประเทศกำลังพัฒนา 12 ประเทศ มียาแก้หวัดสูตรผสมเป็นส่วนใหญ่ เช่นเดียวกัน โดยจากจำนวน 1,198 สูตร พบว่าร้อยละ 18 มีส่วนผสมอันตรายร้อยละ 83 มีส่วนผสมของยาที่ไม่เกิดประโยชน์ และร้อยละ 37 มีส่วนผสมของยา 3 ชนิดขึ้นไป
 ปัญหาของการให้ยาแก้หวัด แก้ไอในเด็กนั้น นอกจากปัญหาในเรื่องความจำเป็นของการได้รับยาในกลุ่มนี้เพื่อการรักษาโรคหวัด หรืออาการไอว่ามีความจำเป็นมากน้อยเพียงใดแล้ว ยังพบว่าในบางครั้ง ยาที่ไดรับมักจะเป็นยาสูตรผสมและเป็นยาสูตรผสมที่มีตัวยาคล้ายกัน หลายขนาดพร้อมกัน สยมพร ศิรินาวินและคณะ5 ได้ทำการสำรวจข้อมูลจากร้านขายยา 90 แห่งที่จัดจำหน่ายยาแก่เด็กอายุ 1 เดือน ถึง 4 ปี ที่มีอาการหวัดและไอ พบว่า ยาที่ไดรับจะเป็นยาสูตรผสมโดยมีแอนตีฮิสตามีน (antihistamine) เป็นตัวหลักผสมกับยาลดไข้ หรือผสมยาแก้คัดจมูก (decongestant) หรือผสมยาขับเสมหะ (expectorant) หรือยากดอากรไอ (cough suppressant) หรือหลายๆ ตัวรวมกัน
 จากปัญหาดังกล่าว ผู้เขียนจึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับยาในกลุ่มนี้ที่มีในประเทศไทย รวมทั้งข้อบ่งชี้ในกลุ่มนี้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยเด็กที่มาพรแพทย์ด้วยปัญหาหวัดและไอ
. . . Full text.
Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Extract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

Study groups of mother or relatives whose level of education are higher Than Prathom 4 which normally look after children better than the Similar Groups who have Prathom 4 education or lower; and study different factors which influence the growth of preschool children. (กลุ่มมารดาหรือผู้เลี้ยงดูเด็กที่มีการศึกษาสูงกว่าประถมปีที่ 4 จะเลี้ยงดูแลเด็กได้ดีกว่ากลุ่มมารดาผู้เลี้ยงดูเด็กที่มี การศึกษาประถมปีที่ 4 หรือต่ำกว่า และศึกษาองค์ประกอบ ต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของเด็กทารกและ เด็กวัยเรียนในชนบท )
 
Clinical Use of Proton Pump Inhibitors in Children (การใช้ยา proton pump inhibitor ทางคลินิกในเด็ก)
 
Study of Weight Excess of Year 1–4 Students’ School Bag at Khon Kaen University Primary Demonstration School (สัดส่วนนักเรียนที่ใช้กระเป๋านักเรียนน้ำหนักเกินมาตรฐานเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำหนักตัว ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ศึกษาศาสตร์) ระดับประถม)
 
Factors Related to Treatment of Patients with Cleft lip / Cleft palate in Srinagarind and Khon Kaen Hospital (ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารับการรักษาของผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์และโรงพยาบาลขอนแก่น)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Child Health
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0