หลักการและเหตุผล : ผู้ป่วยอัมพาตเป็นผู้ป่วยเรื้อรังที่ต้องพึ่งพาผู้อื่นและเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนสูง ถ้ามีการดูแลตนเองอย่างถูกต้องจะช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี เนื่องจากยังไม่เคยมีการศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองที่บ้านของผู้ป่วยกลุ่มนี้ จึงขาดข้อมูลสำหรับใช้ในการวางแผนให้คำแนะนำที่สอดคล้องกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น การศึกษาครั้งนี้จึงมีเป้าหมายเพื่อรวบรวมข้อมูลดังกล่าว วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองที่บ้านของผู้ป่วยกระดูกสันหลังระดับคอหักและอัมพาตร่วมด้วย รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงบรรยาย สถานที่ศึกษา : โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง : เป็นผู้ป่วยกระดูกสันหลังระดับคอหักและมีอัมพาตร่วมด้วย ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2533-31 ธันวาคม 2537 จำนวน 44 คน การเก็บรวบรวมข้อมูล : ใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นส่งทางไปรษณีย์ถึงผู้ป่วย การวิเคราะห์ข้อมูล : ใช้วิธีการแจกแจงความถี่, ร้อยละ, Fishers Exact Test และ Chi-square Test ผลการวิจัย : สรุปได้ดังนี้ 1. การดูแลทางเดินหายใจ : ร้อยละ 12.2 ของผู้ป่วยที่มีเสมหะมากผิดปกติ ไม่สามารถขับเสมหะออกได้ด้วยตนเองต้องมีผู้ช่วยเหลือ 2. การรับประทานอาหาร : ผู้ป่วยส่วนใหญ่ รับประทานอาหารครบห้าหมู่ 3. การดื่มน้ำ : ผู้ป่วยส่วนใหญ่ดื่มน้ำอยู่ในช่วง 1,250-2,500 มล. ต่อวัน 4. การขับถ่ายและการระบาย : มีผู้ป่วยร้อยละ 63.6 ควบคุมการขับถ่ายอุจจาระไม่ได้ต้องมีการช่วยเหลือ และร้อยละ 45.5 ควบคุมการปัสสาวะไม่ได้ โดยที่ส่วนใหญ่กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ปริมาณน้ำที่ดื่มในแต่ละวันไม่มีผลในทางป้องกันการเกิดลักษณะผิดปกติของปัสสาวะ 5. การมีกิจกรรมและการพักผ่อน : ผู้ป่วยร้อยละ 81.5 ใช้เครื่องช่วยเดิน มีการออกกำลังกาย 1-3 ครั้งต่อวัน ผู้ป่วยมีการปรับบทบาทการทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามศักยภาพของตน มีการพักผ่อนนอนหลับดี และนิยมดูโทรทัศน์และอ่านหนังสือ 6. การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น : ผู้ป่วยร้อยละ 15.9 ชอบเก็บตัว นอกนั้นมีการติดต่อสัมพันธ์กับญาติสนิทและคนในครอบครัว 7. การป้องกันภาวะแทรกซ้อน : ผู้ป่วยร้อยละ 42.9 เกิดแผลกดทับ มีการป้องกันการเกิดแผลกดทับโดยการอาบน้ำ เช็ดตัว และดูแลแผลโดยล้างแผลด้วยน้ำยาล้างแผลทุกๆ 1-3 วัน ผู้ป่วยส่วนใหญ่แสวงหาการช่วยเหลือด้านสุขภาพโดยการรักษาแผนปัจจุบัน 8. ความรู้สึกและการปรับตัว : ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกท้อแท้หมดหวังมากที่สุด และส่วนใหญ่ปรึกษาคนในครอบครัว เมื่อไม่สบายใจ สรุป : ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีการดูแลตนเองได้ค่อนข้างดี อย่างไรก็ตามประเด็นที่ควรสนใจเพื่อการศึกษาเพิ่มเติม คือ การควบคุมการขับถ่าย การเกิดแผลกดทับ การปรับตัว ความรู้สึกท้อแท้หมดหวังที่เกิดขึ้น และปัญหาเพศสัมพันธ์ Background : The paralyzed patients are usually dependent and very risky for several complications. Their quality of lofe must have been improved with appropriate self care program. This study aims to define their actual daily activities which are necessary for improving their self-care program. Objective : To study actual daily activities of the patient who has cervical spine fracture with paralysis Design : Descriptive Research Setting : Srinagarind Hospital Subjects : 44 paralyzed patients with fractured cervical spine who were admitted between January, 1990 to December, 1994 Data Collection : Data collection by using self-reported questionnaire mailed to the patients. Data Analysis : Frequency distribution by Fishers Exact and Chi-square Tests. Results : The Major findings were as the following : 1. Respiratory care : 12.2% had excessive sputum retained. 2. Food : Most patients had enough balanced diet. 3. Water : Most patients drink 1,250-2,500 ml. Of water per day. 4. Elimination : The bowel and urinary elimination were out of control 63.6% and 45.5% respectively. There was no correlation between amount of water intake per day and complication of urinary tract. 5. Activity and rest : 81.5% of the patients used the orthosis and exercise 1-3 times a day. Watching television and reading were the most favorite, and most of them could sleep well. 6. Social international : Most patients were visited by their close relatives meanwhile 15.9% were inolated from society. 7. Prevention of complication : 42.9% of the patients had pressure sore which were treated by taking a bath and would cleaning once every 1-3 days. Most of them went to health personal for eound care. 8. Sentation and adaptstion : Most of the patients felt hopelessness. They nedd discussion with their close ealatives when they felt unhappy or anxiety. Conclusions : Most of the paralyzed patients had a satisfy self-care. However, furthers study is needed for the improvement of bowel and urinary elimination, pressure sore prevention, psychological support and sexual relation problem. Key Words : Self care, cervical spinal cord injury. . . .
Full text.