e-journal Editor page
Effectiveness and acceptability of Szontaghs IUD and Tcu380A IUD in Thai woman at Khon Kaen province.
ประสิทธิภาพและการยอมรับของห่วงอนามัยชนิด Szontaghs เปรียบเทียบกับห่วงอนามัยชนิด Tcu380A ในสตรีไทย : ศึกษาเฉพาะกรณีสตรีในจังหวัดขอนแก่น
Sugree Soontrapa (สุกรี สุนทราภา) 1, Pattamavadee Pinitsoontorn (ปัทมาวดี พินิจสุนทร) 2, Chuanchom Sakondhawat (ชวนชม สกลธวัฒน์) 3, Sompis Raksere (สมพิศ รักเสรี) 4, Kanjana Roibang (กาญจนา ร้อยบาง) 5, Tippaprun Buunma (ทิพพาพรรณ บุญมา) 6
1. *Department of OB-GYN, medical, MD., 2. Department of OB-GYN, medical, BSc. (Nursing), 3. Department of OB-GYN, medical, MD., 4. Department of OB-GYN, medical, MD., 5. Department of OB-GYN, medical, (Nursing), 6. Department of OB-GYN, medical, BSc. (Nursing),
1. ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทย, พบ., 2. ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทย, วท.บ., 3. ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทย, พบ., 4. ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทย, พบ., 5. ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทย, วท.บ. (พยาบาล), 6. ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทย, วท.บ. (พยาบาล),
|
บทคัดย่อ : ปัจจุบันรัฐบาลต้องใช้จ่ายเงินเป็นจำนวนมากกว่าหนึ่งร้อยล้านบาทต่อปี ในการซื้อห่วงอนามัยมาให้บริการแก่ประชาชน ดังนั้นถ้าหากเราสามารถหาห่วงอนามัยที่มีราคาถูกกว่าและสามารถผลิตเองได้ในประเทศไทย โดยยังคงมีประสิทธิภาพดีใกล้เคียงหรือเท่ากับห่วงอนามัยที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ก็จะเป็นการลดค่าใช้จ่ายของรัฐบาลลงได้ รวมทั้งเป็นการลดการเสียดุลย์การค้าของประเทศด้วย วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาประสิทธิภาพ และการยอมรับ (อัตราการตั้งครรภ์ อัตราของห่วงหลุด ภาวะแทรกซ้อน และอัตราการขอถอดห่วง) ของห่วงอนามัยชนิด Szontaghs ในสตรีไทยจังหวัดขอนแก่น วิธีการวิจัย : Cohort study สถานที่ : หน่วยงานแผนครอบครัว โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และศูนย์ส่งเสริมสุขภาพเขต 6 ขอนแก่น ผู้เข้าร่วมโครงการ : ในการศึกษาครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมโครงการใส่ห่วงอนามัยชนิด Szontaghs จำนวน 132 คน และใส่ห่วงอนามัยชนิด TCu380A จำนวน 131 คน ตัววัดหลัก : เปรียบเทียบอัตราการตั้งครรภ์ อัตราหลุดของห่วงและอัตราการขอถอดห่วงใน 1 ปี ของทั้ง 2 กลุ่ม ผลการวิจัย : พบว่าอัตราการตั้งครรภ์ อัตราของห่วงหลุด และอัตราการขอถอดห่วง ในกลุ่มที่ใส่ห่วงอนามัยชนิด Szontaghs เท่ากับร้อยละ 3.8 , 22.7 และ 24.2 ตามลำดับเมื่อเปรียบเทียบกับร้อยละ 0, 6.1 และ 16.0 ตามลำดับในกลุ่มที่ใส่ห่วงอนามัยชนิด TCu380A สรุป : จากการศึกษานี้แม้จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการที่เข้ามาเปรียบเทียบกันจะมีจำนวนน้อย แต่ก็พบว่าห่วงอนามัยชนิด Szontaghs มีอัตราการตั้งครรภ์ อัตราของห่วงหลุด และอัตราการขอถอดห่วงสูงกว่าห่วงอนามัยชนิด Tcu380A อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงให้เห็นว่า Szontaghs IUD มีประสิทธิภาพต่ำ และยังไม่เหมาะที่จะนำมาให้บริการแก่ประชาชนในประเทศไทย
Background : More than one hundred million baht per year were paid for intrauterine device (IUD) service Thailand. A new type of IUD with the same efficacy but inexpensive and domestically producible is needed to decrease negative trade-balance of our country. Objectives : To study the effectiveness and acceptability (pregnancy rate, expulsion rate, complication, and discontinuation rate) of Szontaghûs IUD compared to Tcu380A in Thai woman at Khon Kaen provice. Design : Cohort study Settings : Family Planning Unit, Srinagarind Hospital, Khon Kaen University and Health Promotion Center, Region 6, Khon Kaen. Participants : 132 woman in Szontaghs IUD group and 131 woman in TCu380A IUD group were recruited. Main outcome measures : Pregnancy rate, expulsion rate, and discontinuation rate were compared at 1 year between the two types of IUD. Results : Pregnancy rate, expulsion rate, and discontinuation rate in Szontaghûs IUD group were 3.8% , 22.7% and 24.2% compared to 0% , 6.1% and 16.0% in Tcu380A IUD group, respectively. Conclusions : This study showed that the Szontaghs IUD had more pregnancy rate, expulsion rate, and discontinuation rate than Tcu380A. In spite of small sample size, all of them were statistically significant different. Szontaghs IUD had low efficacy and improper for IUD service in Thailand. . . .
Full text.
|
|
|
|
|