วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการวินิจฉัยสไลด์ที่เตรียมด้วยวิธีใหม่แบบ Thin-layer และการเตรียม สเมียร์แบบเดิม
วัสดุและวิธีการ: แป้บสเมียร์ทั้งหมด 99 ราย เก็บตัวอย่างและเตรียมสเมียร์ด้วยวิธีเดิมและวิธีใหม่แบบ ThinPrep Pap test รายงานผลการวินิจฉัยทางเซลล์วิทยาด้วยระบบเบเทสดา 2001
ผลการศึกษา: แป้บสเมียร์ที่ทำการศึกษาทั้งหมด 99 ราย จากการเตรียมสไลด์ด้วยวิธีเดิมและวิธีใหม่ได้รับการวินิจฉัยทางเซลล์วิทยาดังต่อไปนี้ ผลปกติทั้งหมด 90 ราย จากการเตรียมสเมียร์วิธีเดิม จากการเตรียมสเมียร์แบบใหม่ 85 ราย ผลผิดปกติให้การวินิจฉัยว่าเป็น ASC-US หนึ่งรายจากการเตรียมสเมียร์แบบเดิม จากการตรวจสเมียร์แบบใหม่ 5 ราย ผลกึ่งมะเร็งระยะเริ่มแรก LSIL 0 ราย จากการเตรียมสเมียร์แบบเดิม จากการเตรียมสเมียร์แบบใหม่ 2 ราย ผลเซลล์กึ่งมะเร็งแบบรุนแรง HSIL 4 รายจากการเตรียมสเมียร์แบบเดิม จากการเตรียมสเมียร์แบบใหม่ 3 ราย ผลเซลล์มะเร็งลุกลามทั้งหมด 4 ราย เหมือนกันทั้งจากการเตรียม สเมียร์แบบเดิมและแบบใหม่
สรุป : ในการศึกษาเบื้องต้นพบว่า การเตรียมสเมียร์แบบใหม่ด้วยวิธี ThinPrep Pap test เป็นวิธีที่วินิจฉัยได้ดีกว่าวิธีเดิม โดยเฉพาะการวินิจฉัยความผิดปกติระยะเริ่มแรกตั้งแต่ ASC-US และเซลล์กึ่งมะเร็งระยะเริ่มแรก LSIL
Objective: To compare the cytologic diagnosis of a liquid-base, Thin-layer preparation and conventional cervical smear.
Material and Method: Ninety nine cervical smears were processed conventional method and with the ThinPrepÒ Pap test. Cytologic diagnosis based on the Bethesda system 2001.
Results: Of the 99 pair slides of conventional and ThinPrep Pap test smears interpreted during the study period. All smears were cytologic diagnosed as negative for intraepithelial lesion or malignancy (90 conventional and 85 ThinPrep smears), atypical squamous cells of undertermined significance, ASC-US (1 conventional and 5 ThinPrep smears), low-grade squamous intraepithelial lesion, LSIL (0 conventional and 2 ThinPrep smears), high-grade squamous intraepithelial lesion, HSIL (4 conventional and 3 ThinPrep smears), Invasive cervical cancer (4 agreement by conventional and ThinPrep smears).
Conclusion: The ThinPrep Pap test is more sensitive method of detecting ASC-US and squamous intraepithelial lesion than the conventional Pap smear in this preliminary study.
. . .
Full text.
|