วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการตรวจสอบเครื่องวางยาสลบประจำวัน สาเหตุที่มีผลต่อการตรวจสอบเครื่องวางยาสลบ ปัญหา และข้อคิดเห็นของบุคลากรทางวิสัญญี ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์
รูปแบบการศึกษา : การศึกษาเชิงพรรณนา
วิธีการศึกษา : ทำการศึกษาในบุคลากรทางวิสัญญีที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ในการให้การระงับความรู้สึกแก่ผู้ป่วยในห้องผ่าตัด โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ซึ่งประกอบด้วย แพทย์ใช้ทุน/แพทย์ประจำบ้านสาขาวิสัญญีวิทยา วิสัญญีพยาบาล และนักเรียนวิสัญญีพยาบาล ที่ปฏิบัติงานในช่วงเวลาที่ศึกษา จำนวน 56 คน โดยทำการศึกษาในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ ตุลาคม-ธันวาคม 2547 โดยใช้แบบสอบถามซึ่งประกอบด้วย 1) ความถี่ในการตรวจสอบเครื่องวางยาสลบ 2)สาเหตุที่ส่งผลต่อการตรวจสอบเครื่องวางยาสลบ และ 3)ข้อคิดเห็น ปัญหา ข้อเสนอแนะ หลังจากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์แสดงผลเป็นร้อยละ
ผลการศึกษา : บุคลากรให้ความสำคัญในการตรวจสอบเครื่องวางยาสลบก่อนให้บริการระงับความรู้สึกแก่ผู้ป่วยมากที่สุด (ร้อยละ 92.9) ส่วนใหญ่ได้ทำการตรวจสอบด้วยตนเองทุกครั้ง โดยตรวจสอบการรั่วของวงจรวางยาสลบทุกครั้งมากที่สุด (ร้อยละ 85.7) รองลงมาคือการตรวจสอบ bobbin ของ O2, N2O, air และ APL valve (ร้อยละ 83.9) ส่วนรายการที่บุคลากรตรวจสอบน้อยที่สุด คือ การตรวจสอบถัง O2สำรอง (ร้อยละ 37.5 ) สาเหตุส่วนใหญ่ที่บุคลากรไม่ตรวจสอบทุกครั้งเนื่องจาก 1) ลืมตรวจสอบ 2) ภาระงานอื่นมาก 3) คิดว่าไม่จำเป็นต้องตรวจสอบทุกครั้ง 4) คิดว่าคนอื่นตรวจสอบแล้ว และ 5) อุปกรณ์การตรวจสอบไม่เพียงพอ
สรุป : บุคลากรทางวิสัญญีในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญและทำการตรวจสอบเครื่องวางยาสลบด้วยตนเองทุกครั้งก่อนให้บริการระงับความรู้สึกแก่ผู้ป่วย ส่วนสาเหตุที่ไม่ได้ทำการตรวจสอบนั้น ส่วนใหญ่เกิดจากการลืม ภาระงานอื่นมีมาก คิดว่าไม่จำเป็นต้องตรวจสอบทุกครั้ง รวมทั้งคิดว่าคนอื่นได้ตรวจสอบแล้ว อย่างไรก็ตามบุคลากรทางวิสัญญีทุกคนควรตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องทำการตรวจสอบเครื่องวางยาสลบด้วยตนเองและตรวจสอบให้ครบทุกขั้นตอนทุกครั้งก่อนให้การระงับความรู้สึกเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและเพื่อให้สอดคล้องกับการประกันคุณภาพการให้บริการของหน่วยงาน
คำสำคัญ: วิสัญญีวิทยา, เครื่องวางยาสลบ, การตรวจสอบประจำวัน
Objective: 1) To study the process of daily checking the anesthetic machine in the Department of Anesthesiology at Srinagarind Hospital; and 2) to assess what might be interfering with the standard daily checking of the equipment including problems and opinions about guideline.
Design: Descriptive study.
Methodology: The Anesthesiology Department personnel included in the study were anesthetic residents, nurse anesthetists and training anesthetic nurses (working between October and December, 2004.) The questionnaire used asked for: 1) frequency of daily anesthetic machine-checking; 2) problems in checking and the causes of those problems; and, 3) suggestions. The data were analyzed for percentages.
Results: Most (92.9%) of the personnel in the Department of Anesthesiology were concerned about the daily anesthetic machine checking before anesthetizing patients so most checked the equipment by themselves. The most common check was the leakage of circuit test (85.7%) followed by the O2, Air, N2O bobbin and APL valve (83.9%). The least checked aspect was the O2 cylinder supply check (37.5%). The most common causes for not checking the equipment were: 1) forgetting, 2) busy, 3) thinking it unnecessary, 4) thinking it already done by other staff and 5) insufficient equipment
Conclusion: Personnel in the Anesthesiology Department were concerned about the daily checking of the anesthetic equipment and most checked it by themselves before using it on patients. Some staff, however, did not check the equipment for a number of untenable reasons. The most common causes were: forgetting, busy, thinking it unnecessary and thinking it already done by other staff. In order to guarantee high quality service by the Department a more systematic approach to daily checking must be implemented.
Keywords: Anesthesia, anesthetic machine; daily checking . . .
Full text.
|