Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Risk Factors Analysis of Gram-Negative Osteomyelitis

การวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อกรัมลบในโพรงกระดูก

sataporn Morarach ( สถาพร โมราราช) 1, Tala Thammaroj (ธรา ธรรมโรจน์) 2




หลักการและเหตุผล:  การติดเชื้อในโพรงกระดูกเป็นโรคที่สร้างความเจ็บปวดทรมานกับผู้ป่วยและก่อให้เกิดความยุ่งยากในการรักษากับแพทย์ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการรักษาคือการตรวจหาเชื้อก่อโรคได้อย่างรวดเร็วและให้ยาถูกต้อง แต่บางครั้งแพทย์ไม่สามารถตรวจหาเชื้อได้และต้องอาศัยลักษณะทางคลินิกเพื่อให้ยาปฏิชีวนะเบื้องต้นไปก่อน

วัตถุประสงค์:  เพื่อรายงานอุบัติการของเชื้อก่อโรคในภาวะติดเชื้อในโพรงกระดูก ประเมินปัจจัยเสี่ยงและลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยติดเชื้อกรัมลบในโพรงกระดูกจากเชื้อที่พบในเขตภาคอีสานของประเทศไทย

วัสดุและวิธีการ:  โดยการรวบรวมรายงานผู้ป่วยระหว่างเดือนมกราคม 2542 ถึง เดือนธันวาคม 2547 จำนวน 135 ราย ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อในระบบกระดูกและกล้ามเนื้อในโรงพยาบาลสกลนคร มีรายงานผู้ป่วย 87 รายถูกคัดออกจากการศึกษา เหลือรายงานผู้ป่วย 48 รายที่ครบถ้วนและให้การวินิจฉัยว่าติดเชื้อในโพรงกระดูก โดยผู้ป่วย 13 รายถูกวินิจฉัยเป็นการติดเชื้อกรัมลบในโพรงกระดูกจากข้อมูลในรายงานผู้ป่วยในหรือผู้ป่วยนอก ส่วนข้อมูลอื่นๆที่เป็นปัจจัยเสี่ยง เช่น อาการ อาการแสดง ตำแหน่งรอยโรค  ระยะเวลาของอาการ โรคประจำตัวฯลฯ ได้รับการบันทึกเป็นปัจจัยเสี่ยงเพื่อการวิเคราะห์

สถานที่ทำการศึกษา:  โรงพยาบาลสกลนคร จังหวัดสกลนคร ประเทศไทย

รูปแบบการศึกษา:  งานวิจัยเชิงพรรณนา

ผลการศึกษา:   ในผู้ป่วยติดเชื้อกรัมลบในโพรงกระดูก มีผู้ชาย 7 คน ผู้หญิง 9 คน อายุเฉลี่ย (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) 53.75±14.18 ปี ส่วนในผู้ป่วยที่ติดเชื้อกรัมลบ มีอายุเฉลี่ย 31.17±26.15 เชื้อก่อโรคกรัมลบ ที่พบบ่อยคือ Pseudomonas auriginosa (5/16) ส่วนเชื้อก่อโรคกรัมบวก ที่พบบ่อยคือ Staphylococcus aureus พบว่าอัตราเสี่ยงของผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานมีอัตราเสี่ยงของการติดเชื้อกรัมลบในโพรงกระดูก 6.9 เท่า และการติดเชื้อในโพรงกระดูกที่บริเวณเท้ามีอัตราเสี่ยงจากการติดเชื้อกรัมลบ 5.8 เท่า

วิจารณ์และสรุปผล:  โดยสรุปพบว่าเบาหวานและการติดเชื้อในโพรงกระดูกบริเวณเท้าเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อกรัมลบในโพรงกระดูก ดังนั้นแพทย์ควรเลือกยาปฏิชีวนะที่คลุมเชื้อกรัมลบด้วยเสมอ และควรให้ความสนใจในผู้ป่วยที่อายุมากร่วมกับมีโรคประจำตัวว่าอาจติดเชื้อกรัมลบได้

คำสำคัญ: ปัจจัยเสี่ยง; การติดเชื้อในโพรงกระดูก

Background:    Osteomyelitis is painful condition for patients and frustrating their doctors.  The key to successful management is early diagnosis, including bone sampling for microbiological and pathological examination to allow targeted and long-lasting antimicrobial therapy.  Sometime we can not find the causative organism from the tissue culture and require clinical data to select the empirical antibiotics.

Purpose:   To report the incidence of causative organism of osteomyelitis and determine such risk factors as well as clinical features of gram negative osteomyelitis in the Northeast region of Thailand.

Materials and Methods:   Between January 1999 and December 2004, 135 patients were diagnosed with musculoskeletal infection at Sakolnakorn Hospital, Sakolnakorn, Thailand.  Eighty-seven patients were excluded from the study, leaving forty-eight, who made up the study population.  Thirteen patients were diagnosed with gram-negative Osteomyelitis on the basis of gram stain or culture of bone from OPD or IPD records.  The signs and symptoms, the bone that were involved, the patient occupation, the duration of symptoms, and any concurrent disease were recorded.

Study design: Descriptive analytic study 

Setting:  Sakolnakorn Hospital, Sakolnakorn, Thailand

Results:   Seven men and nine women had gram-negative osteomyelitis.  The mean age (and standard deviation) was 53.75±14.18 years in the group with gram-negative osteomyelitis and 31.17±26.15 years in the group with gram-positive osteomyelitis.  The most common gram-negative organism was Pseudomonas auriginosa (5/16).  The most common gram-positive organism was Staphylococcus aureus.  The odds of a patients having gram-negative osteomyelitis was 6.9 times greater when he or she had concurrent diabetes mellitus than when he or she did not.  Six (37.5%) of the patients with gram-negative osteomyelitis and 3 (9%) of the patients with gram-positive osteomyelitis had involved the bone of foot, so the odds ratio that an infection in the bone of foot was caused by gram-negative organism was 5.3 (95% confidence interval, 1.54 to 35.73; P=0.02).

Discussion and Conclusion:  In conclusion, we have shown that diabetes mellitus and involvement of bone of foot were the risk factors of gram-negative osteomyelitis.  The physician should select the empirical antibiotic that covered gram-negative organism in this group of patients and pay attention in the patients who are old age with concurrent disease.

 

Key words: risk factors; osteomyelitis

. . . Full text.
Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

An Analysis of Orthopedic Injury Profiles of Pedestrian-Motor Vehicle in District Hospital (การวิเคราะห์รูปแบบภยันตรายทางออร์โธปิดิกส์ที่เกิดจากอุบัติเหตุบนท้องถนนในโรงพยาบาลชุมชน)
 
Prevalence of Vitamin D Deficiency among Postmenopausal Women at Srinagarind Hospital, Khon Kaen Province, Thailand. (ความชุกของภาวะขาดวิตามินดีในสตรีวัยทองที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น)
 
Appropriate Tibial Tunnel Angle and Knee Flexion Angle for Aiming Femoral Insertion in Endoscopic Anterior Curciate Ligament Reconstruction (มุมอุโมงค์ที่กระดูกแข้ง และมุมงอเข่าที่เหมาะสมในการเล็งจุดเกาะของเอ็นไขว้หน้า)
 
Interesting case anaphylaxis after intra-articular steroid injection in out patient department : Reivew literature (ผู้ป่วยน่าสนใจ: การแพ้อย่างรุนแรงจากการฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อในแผนกผู้ป่วยนอกและทบทวนวรรณกรรม)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Orthopedics
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0