วัตถุประสงค์ : 1. ประเมินผลการให้บริการรักษาผู้ป่วยตามโรคที่ภาควิชาศัลยศาสตร์กำหนดขึ้น โดยอาศัยข้อมูลจากฐานข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ เท่านั้น 2. ประมวลปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้ฐานข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ในการประเมินการให้บริการผู้ป่วยศัลยกรรม วิธีการ :เป็นการศึกษาแบบเก็บข้อมูลย้อนหลัง เชิงพรรณนา สถานที่ :ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประชากร: ผู้ป่วยในทุกรายที่อยู่ภายใต้การดูแลรักษาของภาควิชาศัลยศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2541 ข้อมูล: รวบรวมจากฐานข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ สถิติ :สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัย :ข้อมูลผู้ป่วยที่ได้จากฐานข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินการให้บริการผู้ป่วย ประกอบด้วย อายุ เพศ การวินิจฉัย การผ่าตัด ผลการรักษา ระยะเวลารักษาตัวในโรงพยาบาล และอัตราตายภายในโรงพยาบาลเท่านั้น ผู้ป่วยในที่อยู่ภายใต้การดูแลรักษาของภาควิชาศัลยศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2541 มีจำนวนทั้งสิ้น 6,821 ราย สัดส่วนระหว่างเพศชายต่อเพศหญิง เท่ากับ 0.98 ต่อ 1 (3,375: 3,446) อายุเฉลี่ยสำหรับผู้ป่วยเพศชาย เท่ากับ 43.17 ปี ผู้ป่วยเพศหญิง เท่ากับ 43.76 ปี ระยะเวลานอนรักษา เท่ากับ 9.53 วัน เกิดภาวะแทรกซ้อนภายในโรงพยาบาล จำนวน 1,224 ราย (ร้อยละ 17.94) สภาพของผู้ป่วยก่อนออกจากโรงพยาบาลอยู่ในเกณฑ์ดี จำนวน 6,048 ราย (ร้อยละ 88.67) อัตราตายภายในโรงพยาบาลเฉลี่ย เท่ากับ ร้อยละ 1.92 สรุป: การประเมินการให้บริการผู้ป่วยในของภาควิชาศัลยศาสตร์โดยอาศัยเพียงฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์อย่างเดียว สามารถกระทำได้อย่างรวดเร็วกว่าการรวบรวมจากเวชระเบียบที่เป็นกระดาษโดยตรง มีความแม่นยำสูง แต่อาจมีความไม่ถูกต้องบ้าง ซึ่งเกิดขึ้นได้จากความไม่เข้าใจวิธีการให้รหัส ICD ของแพทย์ การอ่านและแปลความหมายที่ผิดพลาดของเจ้าหน้าที่เวชระเบียบ และความผิดพลาดจากการใส่ข้อมูลลงในระบบคอมพิวเตอร์นอกจากนี้ยังขาดรายละเอียดบางส่วนที่มีความสำคัญต่อการประเมินการให้บริการรักษาผู้ป่วย
Objective: 1. To audit the management of surgical patients by computer system. 2. To collect the problems of data analysis for auditing the management of surgical patients Design: Retrospective, descriptive study. Setting: Department of surgical, Faculty of Medicine, Khon Kaen University Subject: All in-patients of Department of Surgical within 1998. Data collection: Review from computer database. Measurement: Descriptive statistics. Result: Important factor, which can be retrieved from computer database, include age, sex, diagnosis, operation, result, hospital stay, and mortality rate. A total of 6,821 patients was admitted in Department of Surgery during January and December 1998. The male: female ratio was 0.98:1 (3,375:3,446). The mean age of male and female patients was 43.17 and 43.76 years, respectively. The average hospital stay was 9.53 days. There were 1,224 patients (17.94%) who had complications and 6,048 patients (88.67%) had good discharge status. The average hospital mortality was 1.92% Conclusions: Computerized audit of surgical patients can be done much faster than manual audit. The result is highly accurate but may have some mistakes. Misunderstanding, inappropriate coding, unclear wording and input error cause mistakes in the computerized patient records. Some important factors for auditing are not collected in the computer system.
. . .
Full text.
|