หลักการและเหตุผล: ขมิ้นชัน (Curcuma Linn.) ผงแห้งของรากขมิ้นชัน (Turmeric) เป็นสมุนไพรที่มีการกล่าวอ้างว่ามีฤทธิ์รักษาแผลในกระเพาะอาหาร อย่างไรก็ตามผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับฤทธิ์รักษาแผลในกระเพาะอาหารของผงขมิ้นยังมีความขัดแย้งกันอยู่ ดังนั้น คณะผู้วิจัยจึงทำการศึกษาตรวจสอบฤทธิ์ของขมิ้นชันในการป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหารของสัตว์ทดลองเพื่อให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติมและชัดเจนขึ้น อันจะเป็นประโยชน์ในการประยุกต์นำไปใช้ด้านการแพทย์สมัยใหม่ต่อไป วิธีการ: สัตว์ทดลองที่นำมาศึกษา คือ หนูขาวเพศผู้น้ำหนัก 180-220 กรัม แผลในกระเพาะอาหารจะถูกเหนี่ยวนำให้เกิดขึ้นโดยการฉีด indomethacin 12 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม และโดยภาวะเครียดอันเนื่องจากอุณหภูมิต่ำและถูกจำกัดการเคลื่อนไหวในการศึกษาฤทธิ์ป้องกัน จะป้อนหนูด้วยผงขมิ้น ขนาด 0.25, 0.5 และ 0.75 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เป็นเวลา 3 วัน ก่อนที่จะถูกเหนี่ยวนำให้เกิดแผล และในการศึกษาฤทธิ์เสริมการสมานตัวของแผล จะป้อนผงขมิ้นในขนาดดังกล่าว หรือ curcuminoids ขนาด 5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เป็นเวลา 3 วันหลังจากหนูขาวถูกเหนี่ยวนำให้เกิดแผลแล้ว ความยาวของแผลในกระเพาะอาหารจะตรวจวัดด้วยกล้อง stereomicroscope สำหรับการตรวจวัดปริมาณทั้งของ soluble และ insoluble mucus ใช้วิธี spectrophotometry ผลการทดลอง: ผงขมิ้นขนาด 0.5 กรัมต่อหนักตัว 1 กิโลกรัม มีฤทธิ์ทั้งป้องกันและเสริมการสมานตัวของแผลในกระเพาะอาหารอันเนื่องจาก indomethacin เป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งว่า ผงขมิ้นใน ขนาด 0.75 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ไม่มีฤทธิ์ป้องกันหรือเสริมการสมานของแผลแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้าม กลับมีแนวโน้มว่าจะทำให้เกิดแผลรุนแรงมากกว่ากลุ่มควบคุม สารสกัดจากผงขมิ้น คือ สาร curcuminoid 5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ไม่มีฤทธิ์เสริมการสมานตัวของแผลและสาร curcuminoid ในขนาดเดียวกันนี้ มีผลลดการหลั่งของ soluble mucus หลังจากที่ให้ curcuminoid ไปแล้วเป็นเวลา 3.5 ชั่วโมง สรุป: อาจสรุปได้ว่า ผงขมิ้นชันมีฤทธิ์ในการป้องกันและเสริมการสมานตัวของแผลในกระเพาะอาหาร เมื่อได้รับในขนาดที่เหมาะสม และในทางตรงกันข้าม หากได้รับในปริมาณมากเกินควรอาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารมากขึ้นได้ ซึ่งอาจเนื่องจากสาร curcuminoid มีผลยับยั้งการหลั่ง insoluble mucus
Background: Dry powdered rhizome of Curcuma longa, turmeric or Kha-min (in Thai word), was claimed to have antiulcerogenic effect. However, the scientific evidences showing the effectiveness of turmeric in the treatment of gastric ulcer are still controversy. In order to elucidate the antipeptic activity of turmeric, therefore, we investigated the antiulcerogenic effect of turmeric powder and curcuminoid against indomethacin and hypothermic-restraint stress induced gastric ulcer in rats. Methods: Male Wistar rats weighing 180-220 g were used. Gastric lesion was induced by administration of indomethacin 12 mg kg-1 subcutaneously and also by hypothermic-restraint stress. In the study of protective effect, the rats were pretreated with turmeric suspension in 10% propylene glycol orally at doses of 0.25, 0.5 or 0.75 g kg-1 for 3 days. In the investigation of healing effect, the gastric ulcer was induced and followed by administration of turmeric suspension or curcuminoid. Total length of gastric lesion was measured under the stereomicroscope and used as gastric ulcer indicator. Determinations of soluble and insoluble gastric mucus were performed by spectrophotometry method. Results: Turmeric at dose of 0.5 g kg-1 was not only significantly effective in protecting but also enhancing healing of gastric ulcer induced by indomethacin 12 mg kg-1 . Interestingly, turmeric at 0.75 g kg-1 had no antiulcerative effect, and showed a tendency to increase the severity of lesion as compared to control. The curcuminoid 5 mg kg-1 did not show any healing effect in indomethacin-induced ulcer but could significantly inhibit the gastric secretion of soluble mucus at 3.5 hr after curcuminoid administration. Conclusions: It may be concluded that Curcuma longa is effective in protecting indomethacin induced gastric ulcer and enhancing the healing of ulcer. This effect is dose dependent, and can be achieved only with proper dose.
. . .
Full text.
|