หลักการและเหตุผล : มะเร็งกล่องเสียงเป็นมะเร็งที่พบบ่อยในเวชปฏิบัติของแพทย์โสต ศอ นาสิก จากสถิติของหน่วยมะเร็งโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นพบมะเร็งกล่องเสียงมากเป็นอันดับที่ 3 ของมะเร็งทางเดินอาหารและทางเดินหายใจส่วนบน รองจากมะเร็งช่องปากและมะเร็งหลังโพรงจมูก แต่ยังไม่เคยมีการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับมะเร็งกล่องเสียงในโรงพยาบาลศรีนครินทร์มาก่อน วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาเกี่ยวกับลักษณะของผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียง และวิธีการรักษาที่ได้รับ รูปแบบการศึกษา : เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณา สถานที่ทำการศึกษา : โรงพยาบาลศรีนคนรินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง : ผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียงชนิด squamous cell carcinoma ที่ได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 2540 ผลการวิจัย : มีผู้ป่วยที่สามารถนำมาศึกษาทั้งหมด 59 รายเป็นเพศชาย 58 ราย อายุเฉลี่ย 63 ปี ส่วนใหญ่เป็นมะเร็ง supraglottis (ร้อยละ 44) รองลงมาเป็นมะเร็ง glottis (ร้อยละ 31) และพบเป็นมะเร็งระยะท้ายร้อยละ 76 ในมะเร็งระยะแรกผู้ป่วยได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดและฉายแสงเท่า ๆ กัน แต่ในมะเร็งระยะท้ายส่วนใหญ่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดร่วมกับการฉายแสงหลังผ่าตัด (ร้อยละ 55) รองลงมาคือการฉายแสงอย่างเดียว (ร้อยละ 32) และผู้ป่วย 9 รายที่ได้รับการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองที่คอแบบ prophylactic พบมีมะเร็งในต่อมน้ำเหลืองจากผลพยาธิวิทยา 3 ราย สรุป : ผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียงมักจะมาพบแพทย์ในระยะท้ายของโรคทำให้การรักษาที่ได้รับส่วนใหญ่คือการผ่าตัดร่วมกับการฉายแสงหลังผ่าตัด
Background : laryngeal cancer is the common cancer in ENT practice. According to tumor registry of Srinagarind Hospital, it is the third most common cancer of upper G-I & Respiratory tract cancer being after oral and nasopharyngeal cancer. Additionally it had never been reported in Srinagarind Hospital. Objective : Study about character of laryngeal cancer and its treatment Design : Retrospective, descriptive study Setting : Srinagarind Hospital, Khon Kaen University Subject : Patients whose diagnosed as squamous cell carcinoma of the larynx and were treated in srinagarind Hospital since 1993-1997. Results : There were 59 cases included in this study. Fifty-eight cases were male and average age was 63 years old. The most common type was supraglottic cancer (44%) following by glottic cancer (31%) and most cases 76%) were advanced cases, most (55%) were treated by surgery with postoperative radiation following by primary radiation (32%). Three of nine cases whom received neck dissection have positive malignancy in neck node specimen. Summary : Most of laryngeal cancers were advanced stage that need a combined treatment (surgery with postoperative radiation) as the most common treatment option.
. . .
Full text.
|