หลักการและเหตุผล : ปัจจุบันกระดูกหักที่บริเวณนิ้วมือหลายรูปแบบมีความจำเป็นต้องใช้เครื่องยึดตรึงกระดูกนิ้วมือทั้งชนิดที่ผลิตเพื่อการค้าและชนิดที่ใช้แล้วทิ้ง ซึ่งปัจจุบันมีราคาแพงมาก และยังไม่มีการศึกษาเปรียบเทียบความแข็งแรงของเครื่องยึดตรึงกระดูกนิ้วมือชนิดต่างๆโดยเฉพาะชนิดที่ใช้แล้วทิ้ง ซึ่งทางคณะผู้วิจัยจึงได้คิดเครื่องยึดตรึงกระดูกนิ้วมือภายนอกชนิดใหม่ที่สามารถปรับความยาวได้ และมีราคาถูกกว่าชนิดอื่นที่มีใช้ในปัจจุบัน วัตุประสงค์ : เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแข็งแรงในโครงสร้างของเครื่องยึดตรึงกระดูกนิ้วมือภายนอกชนิดใช้แล้วทิ้งรูปแบบต่างๆ รูปแบบการศึกษา : การวิจัยเชิงทดลอง สถานที่ทำการศึกษา : ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ และคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วัสดุและวิธีการ : เครื่องยึดตรึงกระดูกนิ้วมือภายนอกชนิดใช้แล้วทิ้งทั้ง 3 ชนิดคือ Poorman, Godwin และ ALDiEs ถูกเตรียมไว้ 3 รูปแบบคือ ชนิดที่มีโครงด้านเดียวขนาดเล็ก ชนิดที่มีโครงด้านเดียวขนาดใหญ่ และชนิดที่มีโครง 2 ด้าน ชนิดละ 10 ตัวอย่าง แล้วยึดติดกับกระดูกเทียมจากนั้นจึงเข้าเครื่องทดสอบความแข็งแรงของวัสดุ(Loyed instrument) โดยจะเก็บข้อมูลเกี่ยวกับความแข็งแรงในโครงสร้าง, yield stress(YS) และ ultimate stress(US) จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากนั้นจึงนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยสถิติที่ใช้คือ ANOVA และ Post hoc LSD ผลการศึกษา : ความแข็งแรงในโครงสร้างของเครื่องยึดตรึงกระดูกนิ้วมือแบบมีโครงด้านเดียวรูปแบบของ Poorman, Godwin และ ALDiEs คือ 14.54, 14.83 และ 12.43 นิวตัน/มม. ตามลำดับ ซึ่งรูปแบบของ Godwin มีความแข็งแรงที่สุด (P<0.05) แต่เมื่อเปรียบเทียบ yield stress และ Ultimate stress ระหว่างเครื่องยึดตรึงชนิดโครงด้านเดียวพบว่าไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ส่วนความแข็งแรงของเครื่องยึดตรึงฯที่มีโครง 2 ด้านชนิดของ Poorman, Godwin และ ALDiEs คือ 25.03, 35.03 และ 35.29 นิวตัน/มม.ตามลำดับ ซึ่งพบว่ารูปแบบของ Godwin มีความแข็งแรงมากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนชนิดของ ALDiEs มี YS และ US สูงที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ วิจารณ์และสรุปผล : จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า4 เครื่องยึดตรึงกระดูกนิ้วมือชนิดที่ใช้แล้วทิ้งที่มีโครงด้านเดียวสามารถทนแรงได้เฉพาะเมื่อนิ้วอยู่เฉยๆโดยไม่ได้ใช้งาน ส่วนรูปแบบที่มีโครง 2 ด้านชนิดของ Godwin และ ALDiEs สามารถรับแรงขนาดที่มีการจับวัตถุเบาๆได้ และจากการศึกษาไม่แนะนำให้ใช้รูปแบบของ Poorman ชนิดที่มีโครงด้านเดียวในการยึดตรึงกระดูกนิ้วมือเนื่องจากความแข็งแรงไม่เพียงพอ
Background : There are many conditions of phalangeal fractures require digital external fixators both commercial and disposable. The biomechanical comparative studies of these fixators have not been reported especially for disposable digital external fixators(DDEFs). The new design, adjustable length digital external fixator (ALDiEs) was innovated Purpose : To compare the biomechanical properties of various DDEFs. Materials and Methods : Synbone ; Swiss made, Model 4060 900285 were used to be the phalangeal model for the biomechanical testing. Three types of DDEs and their applications were tested. Ten samples of each type were fixed into phalangeal models. Biomechanical analyses were performed by material testing machine, Loyed Instrument interfaced with Windap data analysis software. The structural stiffness (SS), Yield stress (YS) and ultimate stress (US) both in compression and distraction forces were recorded. Statistical analysis was performed using ANOVA and a post hoc LSD . Study design : Experimental study Setting : Orthopedics department, Faculty of Medicine, Khon Kaen University Results : The SS of one frame Poorman DDEFs, Godwin DDEFs and ALDiEs were 14.54, 14.83 and 12.43 N/mm. in orderly. The Godwin DDEFs had the highest SS (P<0.05). No statistical different in YS and US between the various one frame DDEFs. The SS of the two-frame group, the Poorman DDEFs, Godwin DDEFs and ALDiEs are 25.03, 35.23 and 35.29 N/mm in orderly. Godwin DDEFs had the highest SS (P<0.05). The two-frame of the ALDiEs have the highest YS and US (P<0.05). All ALDiEs were failed by deformation. All the Poorman DDEFs were failed by cemented fractures. The Godwin DDEFs were failed by pin-rod displacement. Discussion and conclusions : According to the previous study4. All one frame DDEFs can resist only physiologic load but cant resist the load during pinching or light grip. From this study, we found that only two-frame of the ALDiEs and Godwin DDEFs could resist to loading force during pinching and light grip but couldnt resist to the force grip. Because of the low stiffness, one- frame of the Poorman DDEFs may not be appropriate fixation method for proximal phalangeal fractures.
. . .
Full text.
|