Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Effects of Inhaled Corticosteroids on Growth of Asthmatic Children in Srinagarind Hospital

ผลข้างเคียงของยาสเตียรอยด์ชนิดสูดต่อการเจริญเติบโตของผู้ป่วยเด็กโรคหืดในโรงพยาบาลศรีนครินทร์

Pennapa Wangkahart (เพ็ญนภา วังคะฮาต) 1, Jamaree Teeratakulpisan (จามรี ธีรตกุลพิศาล) 2




วัตถุประสงค์ :       เพื่อศึกษาผลของยาสเตียรอยด์ชนิดสูดต่อการเจิรญเติบโตของผู้ป่วยเด็กโรคหืด
รูปแบบการวิจัย :    การวิจัยเชิงพรรณนาเก็บข้อมูลย้อนหลัง 
สถานที่ศึกษา :        โรงพยาบาลศรีนครินทร์
ประชากรที่ศึกษา :  ผู้ป่วยเด็กโรคหืด อายุระหว่าง 1-10 ปีที่ได้รับการรักษาด้วยยาสเตียรอยด์ชนิดสูด ต่อเนื่องอย่างน้อย 1 ปี ขึ้นไป
ตัววัดที่สำคัญ :     น้ำหนักและส่วนสูงของเด็กโดยเปรียบเทียบกับกราฟมาตรฐานการเจริญเติบโตของ เด็กไทย
ผลการศึกษา :    มีผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์การศึกษาทั้งหมด 158 รายเป็นเด็กชาย 91 ราย และเด็กหญิง 67 ราย อายุเฉลี่ยที่เริ่มมีอาการคือ 3 ปี 8 เดือน  2 ปี 1 เดือน (SD) ร้อยละ 41  ของผู้ป่วยทั้งหมดอยู่ในกลุ่มอาการน้อยแต่เป็นเรื้อรังร้อยละ 58 อยู่ในกลุ่มอาการปานกลางเรื้อรังและมีผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มอาการรุนแรงเรื้อรังเพียงร้อยละ 1 ขนาดของยาสเตียรอยด์ชนิดสูดที่ผู้ป่วยได้รับเมื่อเทียบกับ beclomethasone  dipropionate พบว่าร้อยละ 93 ได้ขนาดยา  800 ไมโครกรัมต่อวัน ผู้ป่วยร้อยละ 76 ได้รับยาขนาดสูงมากกว่า 800 ไมโครกรัมต่อวัน ผู้ป่วยร้อยละ 76 ได้รับยาเป็นระยะเวลา 1-3 ปี และร้อยละ 24 ได้รับยาเป็นระยะเวลามากกวา 3 ปี ก่อนได้ยาสเตียรอยด์ชนิดสูดผู้ป่วยมีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติร้อยละ 93 (147 ราย) ส่วนสูงอยู่ในเกณฑ์ปกติร้อยละ 88.6 (140 ราย) หลังจากได้ยาสเตียรอยด์ชนิดสูดในกลุ่มนี้พบมีผู้ช่วย 2 รายมีน้ำหนักน้อยกว่าปกติ (ร้อยละ 0.6)และมี 1 ราย (ร้อยละ 1.3) ที่ส่วนสูงน้อยกว่าปกติ พบมีผู้ป่วยที่มีน้ำหนักต่ำกว่าปกติตั้งแต่ก่อนได้ยาสเตียรอยด์ชนิดสูดร้อยละ 7 (11 ราย) และมีส่วนสูงต่ำกว่าปกติร้อยละ 11.4 (18 ราย) หลังจากได้ยาสเตียรอยด์ชนิดสูดในผู้ป่วยกลุ่มนี้มีน้ำหนักกลับเพิ่งขึ้นมาอยู่ในเกณฑ์ปกติร้อยละ 6.3 (10 ราย) มีผู้ป่วยที่น้ำหนักต่ำกว่าปกติลดลงเหลือเพียงร้อยละ 3.2 (5 ราย) และส่วนสูง ยังคงต่ำกว่าปกติเพียงร้อยละ 5.1 (8 ราย) ร้อยละ 13 ของผู้ป่วยทั้งหมดที่สามารถหยุดยาสเตียรอยด์ชนิดสูดและมาติดตามการรักษา พบว่าในกลุ่มนี้น้ำหนักและส่วนสูงอยู่ในเกณฑ์ปกติ
 สรุป  :    ผู้ป่วยเด็กโรคหืดที่ได้ยาสเตียรอยด์ชนิดสูดในขนาดปกติต่อเนื่องอย่างน้อย 1 ปี ไม่พบมีการเจริญเติบโตต่ำกว่าเกณฑ์ปกติและในบางรายหลังจากได้ยาสเตียรอยด์ชนิดสูด น้ำหนักและส่วนสูงจากต่ำกว่าปกติกลับเพิ่มขึ้นมาจนอยู่ในเกณฑ์ปกติ


Objective: To evaluate the effects of inhaled cortiocosteroids on the growth of asthmatic children.
Study design: A retrospective descriptive study.
Setting : Srinagarind Hospital.
Subjects : Asthmatic children aged 1 to 10 years who received inhale corticosteroid at least 1 year.
Main outcome measures : Body weight and height compared with the standard growth chart for Thais.
Results : A total of 158 children were enrolled in this study  91 boys and 67 grils.  The mean age at onset of the disease was 3 years and 8 months + 2 years and 1 month (SD).  Forty-one percent of the cases had mildly persistent symptoms, while 58% had moereately so and 1% severely so.  Most (93%) of the patients received (800 g/d of  beclomethasone dipropionate and the remainder (7%) received > 800 g/d.  Seventy-six percent of all cases received medication 1 to 3 years and 24% received more than 3 years. Before taking inhaled steroid, 88.6% (140/158) and 93% (147/158) had normal height and weight, respectively.  After taking medications in the normal growth group, only 2 patients (1.3%) and one patient (0.6%) had below normal height and weight. In contrast the abnormal growth group, 10 patients (6.3%) and 6 patients (3.8%) could catch up their height and weight to normal respectively.  Only 8(5.1%) and 5(3.2%) still had height and weight below normal. 13% of all cases who could stop the medications because of symptom free, still maintained their normal growth throughout the follow-up period.
Conclusion: Asthmatic children receiving low and medium doses of inhaled corticosteroids, had a normal height and weight compared to the standard Thai growth chart. In those whose height and weight were below normal-before taking the inhaled corticosteroids-some experienced an increase in their height and weight to within the normal range after being on the treatment.

. . . Full text.
Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

Risk factors for death among newborns with respiratory distress Syndrome at Kalasin hospital (ปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของทารกแรกคลอดที่มีภาวะการหายใจลำบากในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์)
 
Pediatric Pain Service in Srinagarind Hospital (การบริการระงับปวดในผู้ป่วยเด็กในโรงพยาบาลศรีนครินทร์)
 
Prune Belly Syndrome (กลุ่มอาการ Prune Belly)
 
Screening Test for Infection in Childern with SLE by C – reactive Protein Level (การตรวจคัดกรองภาวะติดเชื้อในผู้ป่วยเด็กโรคลูปัสจากระดับ C-reactive protein ในเลือด)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Pediatrics
 
Pulamonary Disease
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0