Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Sickness Absence among Nursing Staff of Srinagarind Hospital

การหยุดงานเนื่องจากการเจ็บป่วยของบุคลากรงานบริการการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์

Naesinee Chaiear (เนสินี ไชยเอีย) 1, Lertchai Charerntanyarak (เลิศชัย เจริญธัญรักษ์) 2, Tipaporn Kanjanarach (ทิพาพร กาญจนราช) 3, Chularatana Kongpeth (จุฬารัตน์ คงเพชร) 4, Siriluck Phachanid (ศิริลักษณ์ พาชนิด) 5




หลักการและเหตุผล :    การต้องสัมผัสกับสารเคมี  สารกัมมันตรังสี สารจุลชีพต่าง ๆ ในสภาพแวดล้อมในการทำงาน การปฏิบัติงานเป็นกะอาจทำให้บุคลากรของโรงพยาบาลมีปัยหาสุขภาพจนต้องหยุดงานซึ่งทำให้หน่วยงานนั้น ๆ ขาดอัตรากำลังและอาจเพิ่มความเครียดให้กับบุคลากรในหน่วยงาน ส่งผลกระทบต่อระบบการให้บริการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาลตลอดจนคุณภาพชีวิตของบุคลากร  การศึกษาข้อมูลการหยุดงานเนื่องจากการเจ็บป่วยของบุคลากรงานบริการการพยาบาลจึงเป็นข้อมูลเพื้นฐานที่สำคัญในการจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพและวางแผนดำเนินงานทางด้าน อาชีวอนามัยในโรงพยาบาล
วัตถุประสงค์ :     เพื่อศึกษาอัตราการหยุดงาน ระยะเวลาหยุดงานเฉลี่ย โรคและกลุ่มอาการที่เป็นสาเหตุของการลาหยุดงานและค่าประมาณค่าจ้างล่วงเวลาที่ต้องจ่ายให้กับบุคลากรซึ่งมาขึ้นเวรแทนบุคลากรงานบริการการพยาบาลที่ลาป่วย
วิธีการวิจัย :    เป็นการวิจัยเชิงพรรณา กลุ่มประชากรคือบุคลากรงานบริการการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์ที่ลาป่วยระหว่างเดือนมกราคม-ธันวาคม 2543 เก็บข้อมูลโดยการทบทวนใบลาป่วยของบุคลากรกลุ่มดังกล่าว ระหว่างเดือนมกราคม – กันยายน 2543 ทุกใบ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS-PC และนำเสนอข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา
ผลการวิจัย :     พบว่ามีบุคลากรงานบริการพยาบาลป่วยในระหว่างเดือนมกราคม – กันยายน 2543 ร้อยละ 52.5 (759 คน จาก 1445 คน) มีการลาป่วยจำนวน 1,373 ครั้ง อัตราการหยุดงานจากการเจ็บป่วยเฉลี่ย 0.95 ครั้ง/คน/ปี หรือ ลาป่วยเฉลี่ย 6 คน/วัน ระยะเวลาหยุดงานเฉลี่ย 1.7 วัน/คน/ปี สาเหตุการลาป่วยมากที่สุดสามอันดับแรกคือ กลุ่มอาการปวดศีรษะ ตัวร้อน มีไข้ คิดเป็นร้อยละ 21.0 (289 ใบลา/1373 ใบลาทั้งหมด) รองลงมาได้แก่ไข้หวัด คิดเป็นร้อยละ 18.8 (258 ใบลา/1373 ใบลาทั้งหมด) และอุจจาระร่วงคิดเป็นร้อยละ 10.8 (148 ใบลา/1373 ใบลาทั้งหมด) ในกลุ่มผู้ที่ลาป่วยครั้งละมากกว่า 3 วัน สาเหตุการลามากที่สุดอยู่ในกลุ่มการผ่าตัดบริเวณเต้านม มดลูก ถุงน้ำ (cyst) การตั้งครรภ์นอกมดลูก การตกเลือด ภาวะแท้งคุกคาม โดยค่าจ้างล่วงเวลาที่ต้องจ่ายให้กับบุคลากรซึ่งมากขึ้นเวรแทนพยาบาลที่ลาป่วยคิดเป็น 34,284 บาท/เดือน
สรุปผลการวิจัย :      ถึงแม้อัตราการลาป่วยของบุคลากรงานบริการพยาบาลจะไม่สูงมากนัก แต่สาเหตุการลาป่วยส่วนใหญ่เนื่องมาจากโรคหรืออาการที่สามารถป้องกันได้ และควรศึกษาต่อไปเพื่อจำแนกว่าโรคหรืออาการที่เป็นสาเหตุของการลาป่วยมีสาเหตุจากการสัมผัสสิ่งคุกคามต่อสุขภาพในสถานที่ทำงานหรือไม่


Rationale : There are several potential harmful exposures in hospital, for example chemical reagents, radiation, virus, bacteria, nosocomial agents, etc.  These exposures may be the major causes of absence due to sickness among nursing staff.  Furthermore exposure to job strain could also causes absence.  Absence due to sickness among nursing staff not only causes an increase of work burden and job strain on other colleagues but also causes both direct and indirect cost lost to the system. Therefore, the magnitude and causes of this problem should be explored in order to gather information to plan for appropriate occupational health intervention to prevent or minimize this problem.
Objectives: The objectives of this study are (1) to estimate the rate of absence due to sickness, (2) to estimate the average duration of absence, (3) to estimate extra wages dude to absence.
Method: It was a descriptive study.  The population in this study was nursing staff who took sick leave during the period from January 1 to December 31, 2000.  Information was collected from sick leave form.  Data was analyzed by SPSS-PC program.  The results are presented by descriptive statistics.
Results : There were 759 out of 1445 nursing staff taking sick leave during the period from January 1 to December 31 ,2000.  There were 1373 sick leave forms.  The rate of sickness absence was estimated to be 0.95 time/person/year or 6 persons/day.  The average duration of absence was estimated to be 1.7 days/person/year.  The top three causes of sickness absence were having a headache or fever (21.0%), common cold (18.8%) and diarrhea (10.8%).  Among those taking sick-leave for more than 3 days/time, the top causes of sickness absence were undergoing an ovarian operation or breast operation, and threaten abortion.  The extra wages due to absence was estimated to be 34,284 Bath/month.
Conclusion: The rate of sickness absence was not high, however, the top three causes of sickness absence are due to preventable symptoms.  It should be further investigate as to whether the tip causes of sickness absence among those taking sick-leave of more than 3 days/time are related to workplace exposure or not.

. . . Full text.
Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

Genomic structure and expression analysis of the spastic paraplegia gene, SPG7
 
The problems of seeking continuous medical care of patients with paralysis in Nonmuang village T.sila A.muang Khon Kaen (ปัญหาการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องในผู้ป่วยอัมพาต ณ หมู่บ้านโนนม่วง ต.ศิลา อ.เมือง จ.ขอนแก่น)
 
Health Service Utilization of the Patients under the Social Security Scheme, Newly Registered in 2004 at Srinagarind Hospital (การใช้บริการของผู้ป่วยประกันสังคมรายใหม่ สังกัดโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ปี 2547)
 
Knowledge and behavior of Khon Kaen University student for ear picking (ความรู้และพฤติกรรมในการแคะหูของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Community Medicine
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0