หลักการและเหตุผล : การผ่าตัดกล่องเสียงแบบอนุรักษ์เป็นการรักษามะเร็งกล่องเสียงที่สามารถอนุรักษ์หน้าที่ของกล่องเสียงไว้ได้เหมือนการใช้รังสีรักษา และให้ผลการรักษาไม่แตกต่างกัน จึงเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับมะเร็งกล่องเสียงระยะเริ่มแรก แต่ยังไม่เคยมีการรวบรวมผลของการผ่าตัดชนิดนี้ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของการผ่าตัดกล่องเสียงแบบอนุรักษ์ในแง่ของการรักษามะเร็งกล่องเสียงและการอนุรักษ์หน้าที่ของกล่องเสียง รูปแบบการศึกษา : เป็นการศึกษาแบบย้อนหลังเชิงพรรณา สถานที่ทำการศึกษา : โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง : ผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียงที่ได้รับการผ่าตัดกล่องเสียงแบบอนุรักษ์ การรักษา : การผ่าตัดกล่องเสียงแบบอนุรักษ์ การวัดผล : อัตราการหายหรืออัตราการกลับเป็นซ้ำของมะเร็งและหน้าที่ของกล่องเสียง ผลการวิจัย : ในระยะ 10 ปี มีผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียงที่ได้รับการผ่าตัดกล่องเสียงแบบอนุรัก์ 9 ราย แล่งเป็น vertical hemilaryngectomy (VHL),supraglottic laryngectomy (SGL) ปละ supracricoid laryngectomy (SCL) อย่างละ 3 ราย พบมีการกลับเป็นซ้ำของมะเร็งที่ตำแหน่งปฐมภูมิ 1 ราย ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการทำ SGL และผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากการที่มีมะเร็งแพร่กระจายไปที่ปอด 1 ราย ซึ่งเป็นผู้ป่วยมะเร็งระยะ 3 ที่ได้รับการทำ SCL ผู้ป่วยทุกรายสามารถอนุรักษ์หน้าที่ของกล่องเสียงไว้ได้ครบ คือ หายใจทางจมูกรับประทานอาหารทางปากโดยไม่มีอาการสำลัก และพูดสื่อความหมายได้ สรุป: การผ่าตัดกล่องเสียงแบบอนุรักษ์เป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษามะเร็งกล่องเสียงแบบอนุรักษณ์ที่ได้ผลดี นอกเหนือไปจากการใช้รังสีรักษา
Background : Conservation laryngectomy is an alternative for organ preservation treatment of early laryngeal cancer beside radiotherapy with a comparable oncological result. However, result of this treatment option in Srinagarind Hospital has never been reported. Objective : To study the result of conservation laryngec tomy in both oncologic and functional aspect Design : Retrospective, descriptive study Setting : Patients who diagnosed as laryngeal cancer and underwent conservation laryngectomy Intervention : Conservation larygectomy Measurements : Recurrent rate or cure rate and laryngeal function (deglutition without aspiration, respiration and phonation) Results : There are 9 cases in 10 year period underwent vertical hemilaryngectomy, supraglottic laryngectomy and supracricoid laryngectomy 3 cases each. There is only one case who underwent supraglottic laryngectomy had recurrence at primary site and one case of stage III cancer and underwent supracricoid laryngectomy had recurrence at primary site and one case of stage III cancer and underwent supracricoid laryngectomy died from lung metastasis. All cases can be preserved all functions of larynx including deglutition without aspiration, normal nasal breathing without tracheotomy tuge and communicable voice. Conclusions : Conservation laryngectomy is a considerable option for laryngeal preservation in treatment of laryngeal cancer beside radiotherapy.
. . .
Full text.
|