หลักการและเหตุผล : ปวดหลัง เป็นปัญหาที่พบบ่อยทางออร์โธปิดิกส์ การประเมินอาการปวดหลังด้วยแบบสอบถาม ออสเวสทรี เป็นที่นิยมใช้กันมากทั้งในอเมริกา ยุโรป เนื่องจากได้รับการทดสอบความน่าเชื่อถือ และความถูกต้องมาแล้ว การนำแบบสอบถามนี้มาใช้กับผู้ป่วยชาวไทย ซึ่งมีขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมแตกต่างจากชนชาติอื่นต้องมีการทดสอบความน่าเชื่อถือของแบบสอบถามนี้ก่อน คณะผู้วิจัยจึงได้ทำการแปลแบบสอบถาม ออสเวสทรี เป็นภาษาไทย และวิเคราะห์หา ความน่าเชื่อถือ(reliability) ของแบบสอบถามฉบับภาษาไทย ในผู้ป่วยปวดหลังเพื่อที่จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางคลินิก และใช้ในการวิจัยอื่นๆต่อไป การทดสอบความน่าเชื่อถือของแบบสอบถาม ใช้การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์ความสม่ำเสมอภายใน (internal consistency) โดยวิธีแอลฟ่า (Cronbachs alpha) และหาความสัมพันธ์ของชุดคำถาม (item-scale correlation) วัตถุประสงค์ :เพื่อหาความน่าเชื่อถือของแบบสอบถามออสเวสทรี ฉบับภาษาไทย ในการประเมินผู้ป่วยปวดหลัง รูปแบบการศึกษา : การศึกษาเชิงบรรยายแบบไปข้างหน้า สถานที่ทำการศึกษา : โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง : อาสาสมัครเข้าร่วมโครงการ ได้แก่ ผู้ป่วยปวดหลัง 30 คน และผู้ป่วยปวดหลังร้าวลงขา 33 คน โดยทุกคนตอบแบบสอบถามออสเวสทรีฉบับภาษาไทย ในกรณีที่ผู้ป่วยอ่านหนังสือไม่ได้จะมีผู้อ่านให้ฟังแล้วให้ผู้ป่วยตอบแบบสอบถาม ผลการวิจัย :พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์ความสม่ำเสมอภายใน แอลฟ่าอยู่ในระดับที่เชื่อถือได้ คือมากกว่า 0.7 และค่าความสัมพันธ์ระหว่างชุดคำถามมีค่ามากกว่า 0.4 สรุป :แบบสอบถามออสเวสทรีฉบับภาษาไทยน่าจะเป็นเครื่องมือที่ใช้ประเมินอาการในผู้ป่วยปวดหลัง หรือปวดหลังร้าวลงขาได้
Background : Low back pain is the common orthopaedic complaint. The Oswestry questionnaire has become one of the principal low back pain outcome measurement that commonly used worldwide such as America and Europe.We developed the Thai version of Oswestry questionnaire to use in Thai culture that differ from the others. Reliability of the Thai version of Oswestry questionnaire has never been reported. So we test an internal consistency using Cronbachs alpha and item-scale correlation as the reliability of the questionnaire for the usefulness in clinical studies or the future researches. Objective : To evaluate the reliability of the Thai version of Oswestry questionnaire for assessing the Thai low back pain patients. Design : Prospective descriptive study Setting : Srinagarind hospital, Khon Kaen University Subjects : The 63 low back pain volunteers were classified to 2 groups. The first 30 patients had only low back pain and the second 33 patients had low back pain associated with leg pain. These patients complete the Thai version of Oswestry questionnaire by themselves. For patients who cannot read, we read the questionnaire step by step for their answers. Results : The results demonstrated that Chronbachs alpha of every aspect of the questionnaire exceeded 0.7 and all inter-item correlation exceeded 0.4. Conclusions : The Thai version of Oswestry disability questionnaire is a valuable tool in assessing clinical symptoms and clinical researches in Thai patients with low back pain.
. . .
Full text.
|