หลักการและเหตุผล : ผลการวิจัยพฤติกรรมและการใช้ยารักษาการติดเชื้อพยาธิปากขอในนักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 1-3 ในจังหวัดบุรีรัมย์พบว่า หลังจากให้การบำบัดมวลชน 1 ปี อัตราการติดเชื้อโรคซ้ำของนักเรียน ป.3 และ ป.2 สูงกว่า ป.1 (ร้อยละ 3.73,3.25 และ 1.5 ตามลำดับ) วัตถุประสงค์ : เพื่อทราบถึงอัตราความชุกของโรคพยาธิปากขอหลังจากให้การบำบัดด้วยอัลเบนดาโซล 400 มิลลิกรัม และเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและนักเรียนชั้นประถมศึกษาแล้ว 6 เดือน สถานทำการศึกษา : โรงเรียนประถมศึกษา อำเภอชำนิ จังหวัด บุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่าง : เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 1-6 จำนวน 313 คน จาก 3 โรงเรียนในอำเภอชำนิ การรักษาและให้ความรู้ : ยารักษาโรคพยาธิอัลเบนดาโซลและการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและนักเรียน ผลการวิจัย : คะแนนความรู้เรื่องโรคพยาธิปากขอของนักเรียนหลังการให้ความรู้สูงกว่าก่อนให้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value=0.0000) อัตราการชุกของโรคพยาธิปากขอหลังการทดลองลดลง สรุป : การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเช่นนี้ได้ผลดีในการวางแผนควบคุมโรคและควรนำไปขยายผลต่อ
Design : Quasi-experimental researchstudy Background : Research of health behavior and treatment of hookworm infection in primary school children grade 1-3 in Burerum province showed that after mass treatment 1 rear, reinfection rate of grade3 and grade 2 children were also higher than grade 1 (grade 3 = 3.73%, grade 2 = 3.25% and grade 1 = 1.5%) Objective : This study was to assess prevalence rate of hook worm infection in primary school children after treatment with 400 milligrams albendazole and participatory learning of the children and their parent 6 months. Setting : Primary school in Chumni district, Burerum province. Subjects : 313 school children from grade 1 to grade 6 of 3 schools in Chumni District. Intervention : Treatment with 400 milligrams albendazole and participatory learning of primary school children and their parent. Results : the scores of hook worm infection was higher among the post-training session than the pre-training session (p-value = 0.0000) The prevalence rate of hook worm infection after the experimental group was lower than the control group. Conclusion : Participatory learning process is a better way for disease control planning and should expend to use in wider scale.
. . .
Full text.
|