การแสดงออกและการทำงานของจีนที่สัมพันธ์กับโรคมะเร็งท่อน้ำดี
วัชรินทร์ ลอยลม, พวงรัตน์ ยงวณิชย์
ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ และศูนย์วิจัยพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Expression and Function of Candidate Genes Involved in Cholangiocarcinama
Watcharin Loilome, Puangrat Yongvanit
Department of Biochemistry, Faculty of Medicine; Liver Fluke and Cholangiocarcinoma Research Center, Khon Kaen University
บทนำ
ความรู้ด้านชีววิทยา ชีวเคมี และพันธุศาสตร์ เป็นพื้นฐานสำคัญในการศึกษาโรคมะเร็ง ในขณะนี้องค์ความรู้ดังกล่าวได้พัฒนาก้าวหน้าไปอย่างมาก เพราะการศึกษาโครงสร้างและการแสดงออกของจีนด้วยเทคนิคทางด้านชีววิทยาระดับโมเลกุลที่ทันสมัย ผนวกกับเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าด้านคอมพิวเตอร์ เกิดเป็นศาสตร์ที่เรียกว่า Bioinformatics ทำให้การศึกษาบทบาทของสารชีวโมเลกุลในปัจจุบันสามารถวิเคราะห์แบบมีประสิทธิผลสูง กล่าวคือ สามารถศึกษาจีนทั้งหมด (ระดับ DNA) หรือการแสดงออกของจีน (ระดับ RNA และโปรตีน) ในเซลล์ขณะนั้น เป็นจำนวนหมื่น ๆ จีนพร้อมกัน ซึ่งเรียกว่าเป็นเทคนิคแบบ high-throughput เช่น เทคนิค DNA-microarray, differential Display (DD), serial analysis of gene expression (SAGE) และ proteomic analysis เป็นต้น จนทำให้เกิดศัพท์บัญญัติใหม่ๆ เช่น genomics, transcriptomics, proteomics, metabolomics เป็นต้น องค์ความรู้และเทคโนโลยีที่กล่าวมาแล้วข้างต้น มีผลต่อการประยุกต์ใช้ในทางการแพทย์เป็นอย่างยิ่งในอนาคต การป้องกันและการรักษาโรคจะเป็นลักษณะให้เข้ากับเฉพาะตัวบุคคล (personalized medicine) ซึ่งส่งผลให้การรักษาโรคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และตรงเป้าหมายได้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะสาขามะเร็งวิทยา (Oncology) ดังนั้นความเข้าใจในโรคมะเร็งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องการใช้ความรู้ด้านการวิเคราะห์การแสดงออกของแบบแผนของจีน (gene expression profiling) มาประยุกต์ใช้ทั้งในด้านการป้องกันการก่อมะเร็ง หรือเพื่อช่วยให้แพทย์รักษาและติดตามการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ขณะนี้ได้มีการพัฒนายาชนิดใหม่ๆเพื่อรักษาโรคมะเร็งขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งยาเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นจะออกฤทธิ์ที่เซลล์มะเร็งเท่านั้น (targeted drug) เนื่องจากตัวยาสามารถยับยั้งกระบวนการส่งสัญญาณ (signal transduction) ของเซลล์มะเร็งแต่ไม่มีผลต่อเซลล์ปกติ แต่การที่จะใช้ยาแบบ targeted drug นั้น แพทย์จำเป็นต้องมีข้อมูลแบบแผนการแสดงออกของจีน (gene profile) ของเนื้อเยื่อมะเร็งของผู้ป่วยแต่ละคน เพราะถึงแม้ว่าผู้ป่วยจะได้รับการวินิจฉัยทางคลินิกที่เหมือนกัน แต่สาเหตุและกระบวนการก่อโรค (molecular pathway) ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยเดียวกันแต่มีการตอบสนองต่อการรักษาที่ไม่เท่ากัน หรือไม่ตอบสนองต่อการรักษาเลยเป็นต้น บทความนี้ได้รวบรวมรายงานบางส่วนที่ได้พิมพ์เผยแพร่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันที่ได้ศึกษาวิจัยด้านจีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการก่อมะเร็งท่อน้ำดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ (Opisthorchis viverrini) เพื่อเป็นข้อมูลทำความเข้าใจไปสู่เป้าหมายของการรักษาที่มีประสิทธิภาพในอนาคต
จีนที่มีความสัมพันธ์กับโรคมะเร็งท่อน้ำดี . . .
Full text.