Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Tumor marker in Cholangiocarcinoma

ตัวบ่งชี้ชีวภาพของมะเร็งท่อน้ำดี

Sopiy Wongkham (โสพิศ วงศ์คำ) 1




ตัวบ่งชี้ชีวภาพของมะเร็งท่อน้ำดี

โสพิศ วงศ์คำ

ภาควิชาชีวเคมี และศูนย์วิจัยพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

Tumor marker in Cholangiocarcinoma

Sopit Wongkham

Department of Biochemistry, Faculty of Medicine, Khon Kaen University.

 

                Tumor marker หรือตัวบ่งชี้ชีวภาพของภาวะมะเร็งมีประโยชน์ในการตรวจคัดกรอง (screening) ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งหรือผู้ที่สงสัยว่าเป็นมะเร็ง  และใช้เป็นตัวสนับสนุนหรือเสริมการวินิจฉัย ช่วยทำนายหรือพยากรณ์การดำเนินโรค รวมทั้งช่วยในการตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับการดำเนินโรคของผู้ป่วย   แม้ว่าปัจจุบันการศึกษาวิจัยเพื่อค้นหา tumor marker จะก้าวรุดหน้าอย่างมาก  แต่ tumor marker ส่วนใหญ่ยังไม่สามารถใช้ในการตรวจคัดกรองหรือบ่งชี้การเป็นมะเร็งในระยะแรกได้   อย่างไรก็ตาม tumor marker ก็ยังมีประโยชน์อย่างมากทางคลินิก โดยเฉพาะในการเฝ้าระวังการเกิดซ้ำและบ่งชี้การแพร่กระจายของมะเร็ง รวมทั้งใช้เป็นข้อมูลประกอบสำหรับแพทย์ในการเลือกการรักษาเฉพาะราย

                การวิจัย tumor marker ในระยะหลังจากทราบรายละเอียดของจีโนมมนุษย์ (post-genome era) มีความก้าวหน้าอย่างมาก โดยเฉพาะการใช้เทคนิค high throughput ซึ่งสามารถให้ข้อมูลจำนวนมากในหลักพันถึงหมื่นในการศึกษาแต่ละครั้ง มีรายงานการศึกษาเปรียบเทียบการแสดงออกของจีนในมะเร็งท่อน้ำดีโดยใช้เทคนิค Serial Analysis of Gene Expression (SAGE) (http://cgap.nci.nih.gov/SAGE) และ cDNA Microarray1 เพื่อค้นหาจีนที่เกี่ยวข้องหรือมีบทบาทสำคัญในการก่อมะเร็ง หรือมีความจำเพาะต่อมะเร็งท่อน้ำดีเพื่อนำมาใช้เป็น tumor marker ต่อไป  แม้ว่ามะเร็งท่อน้ำดีจะมีอุบัติการณ์สูงในประเทศแถบเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และพบน้อยมากในประเทศตะวันตก  แต่ในระยะสิบปีที่ผ่านมาพบว่าอุบัติการณ์ของมะเร็งท่อน้ำดีในประเทศต่าง ๆทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับยกเว้นประเทศญี่ปุ่น2 และรายงานการศึกษามะเร็งท่อน้ำดีในวารสารนานาชาติก็เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน  อย่างไรก็ตามจากการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับ tumor marker ของมะเร็งท่อน้ำดีพบว่ามีข้อมูลใหม่น้อยมาก ดังนั้นข้อมูลส่วนใหญ่ในรายงานนี้จึงมาจากการศึกษาผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีในประเทศไทยและเน้นเฉพาะ tumor marker ที่ตรวจพบได้ในซีรัมเท่านั้น

Carcinoembryonic antigen (CEA) และ carbohydrate antigen (CA) 19-9  เป็น tumor marker ที่ใช้มากในการเสริมการวินิจฉัย ติดตาม และพยากรณ์การดำเนินโรคของมะเร็งหลายชนิดรวมทั้งมะเร็งท่อน้ำดี  แต่ tumor marker ทั้งสองไม่ใช่ marker ที่จำเพาะต่อมะเร็งท่อน้ำดี เพราะนอกจากสามารถตรวจพบได้ในซีรัมของผู้ป่วยมะเร็งชนิดอื่นแล้ว ยังพบมากในผู้ป่วยอื่นที่มีภาวะอักเสบหรือพยาธิสภาพของระบบท่อทางเดินน้ำดี ถุงน้ำดีและตับอ่อน  . . . Full text.

Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Extract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

 
Mechanism of Opisthorchis viverini associated cholangiocarcinogenesis is mediated by free radicals. (กลไกการก่อมะเร็งท่อน้ำดีโดยอนุมูลอิสระจากการติดพยาธิใบไม้ตับ)
 
Expression and Function of Candidate Genes Involved in Cholangiocarcinama (การแสดงออกและการทำงานของจีนที่มีความสัมพันธ์กับโรคมะเร็งท่อน้ำดี)
 
Genetic Engineering and Diagnosis of Genetic Disease in 21st Century (พันธุวิศวกรรมกับการวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรมในศตวรรษที่ 21)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Biochemisty
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0