Mechanism of Opisthorchis viverini Associated Cholangiocarcinogenesis Mediated Free Radicals
Puangrat Yongvanit1, Somchai Pinlaor2
1Department of Biochemisry, 2Parasitology, Faculty of Medicine; Liver Fluke and Cholangiocarcinoma Research Center, Khon Kaen University
กระบวนการก่อมะเร็ง
กระบวนการก่อมะเร็ง เป็นกระบวนการที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ในระดับจีน ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเจริญเติบโต การแบ่งตัว และการตาย (apoptosis) ของเซลล์ โดยมีการเปลี่ยนแปลงหลายขั้นตอนหรือที่เรียกว่า multistage carcinogenesis กระบวนการก่อมะเร็งประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นก่อตัว (initiation) ขั้นส่งเสริม (promotion) และขั้นก้าวหน้า (progression) การเปลี่ยนแปลงในแต่ละขั้นตอนใช้เวลาแตกต่างกัน การเปลี่ยนแปลงในขั้นก่อตัวเกิดขึ้นภายในระยะเวลาสั้นๆ และเกิดขึ้นรวดเร็วในเวลาที่สัมผัสกับสารเคมีหรือเชื้อโรค โดยทั่วไปร่างกายจะมีกลไกในการซ่อมแซมเพื่อให้เป็นปกติได้เหมือนเดิมหากไม่ได้รับสารเคมีหรือติดเชื้อเป็นระยะเวลานาน ส่วนการเปลี่ยนแปลงในขั้นส่งเสริมเป็นการสะสมความผิดปกติที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในขั้นตอนแรก ทำให้เซลล์ที่ผิดปกติแบ่งเซลล์เกิดเป็นเนื้อเยื่อที่ผิดปกติ ส่วนขั้นก้าวหน้านั้นเป็นขั้นตอนที่เนื้อเยื่อที่ผิดปกติแพร่กระจายไป จากอวัยวะหนึ่งไปอีกอวัยวะหนึ่ง หรือจากเนื้อเยื่อที่ผิดปกติเพียงเล็กน้อยหรืออยู่ในขอบเขตจำกัด แพร่กระจายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วซึ่งส่วนมากจะใช้เวลานานมากเป็นหลาย ๆปี 1
การเปลี่ยนแปลงในระดับจีนโดยเฉพาะการผ่าเหล่า (mutation) เป็นหัวใจสำคัญของกระบวนการก่อมะเร็งในอวัยวะต่าง ๆของร่างกาย โดยกลุ่มจีนที่เกี่ยวข้องในกระบวนการก่อมะเร็งได้แก่ proto-oncogenes, tumor suppressor genes และ apoptosis genes สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของจีนเกิดจากการที่เราได้รับปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆเช่น สารก่อมะเร็งจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ซึ่งอาจจะเป็นสารเคมี รังสี หรือเชื้อโรคต่าง ๆไม่ว่าจะเป็นไวรัส แบคทีเรีย หรือตัวพยาธิ เป็นต้น 2 ดังรูปที่ 1
โรคมะเร็งที่เกิดจากการติดเชื้อหรือมีการอักเสบแบบเรื้อรัง . . .
Full text.