Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Comparison of Acute Radiation Dermatitis between Hypofractionated and Conventional Radiotherapy in Postmastectomy Breast Cancer

การเปรียบเทียบผลข้างเคียงผิวหนังอักเสบระยะเฉียบพลันจากการฉายรังสีแบบสั้น (hypofractionated radiotherapy) กับการฉายรังสีแบบปกติ (conventional radiotherapy) ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังการผ่าตัดเต้านมทั้งเต้า

Sawanee Nirunsiriphol (สวนีย์ นิรันดร์ศิริผล ) 1




(hypofractionated radiotherapy; HFRT) กับการฉายรังสีแบบปกติ (conventional radiotherapy ;CRT) ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังการผ่าตัดเต้านมทั้งเต้า

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงทดลอง (randomized controlled trial) โดยสุ่มแบบปกปิดในกลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ผ่าตัดทั้งเต้าทั้งหมด 76 ราย  โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มฉายรังสีแบบสั้น (HFRT) ปริมาณรังสี 42.56 เกรย์ ใน 16 ครั้ง วันละครั้งเป็นเวลา 3 สัปดาห์  จำนวน 38 ราย กลุ่มที่ 2  ฉายรังสีแบบปกติ (CRT)  ปริมาณรังสี 50 เกรย์ ใน 25 ครั้ง วันละครั้งเป็นเวลา 5 สัปดาห์  จำนวน 38 ราย การศึกษานี้ทำที่งานรังสีรักษาและมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลร้อยเอ็ด ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 ถึง วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2563  ทุกรายจะได้รับการประเมินระดับของการอักเสบผิวหนังระยะเฉียบพลัน สัปดาห์ที่ 1, 2 และ 3 ในระหว่างการฉายรังสี ที่1เดือน และ 3 เดือนหลังการได้รับการฉายรังสีโดยแพทย์รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ สถิติ Z-test ในการวิเคราะห์มูล โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p <0.05

ผลการศึกษา: ผลการเปรียบเทียบการเกิดผิวหนังอักเสบระยะเฉียบพลันจากการฉายรังสีทั้ง 2 กลุ่ม ทั้งในช่วงระหว่างการฉายรังสีและหลังการฉายรังสีพบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการเกิดผิวหนังอักเสบเกรด1 เปรียบเทียบระหว่างการฉายรังสีแบบปกติกับการฉายรังสีแบบสั้น สัปดาห์ที่ 1,2 และ 3 พบร้อยละ 5.26 และ 7.89 (p= 0.644), ร้อยละ 28.95 และ 18.42 (p= 0.280), ร้อยละ 50 และ 28.95 (p=0.085) ตามลำดับ ที่ 1 เดือนหลังการฉายรังสีเปรียบเทียบการเกิดผิวหนังอักเสบเกรด 1 พบ ร้อยละ 15.79 และ 10.53 (p=0.301) ของการฉายรังสีแบบปกติกับการฉายรังสีแบบสั้น ในการศึกษานี้พบผู้ป่วยเกิดผิวหนังอักเสบโดยส่วนใหญ่ทั้งสองกลุ่มร้อยละ 92.11 ในกลุ่มฉายปกติ และร้อยละ 65.79 ในกลุ่มฉายแบบสั้น ผิวหนังอักเสบมากกว่าหรือเท่ากับเกรด 2 เกิดค่อนข้างน้อย

สรุป: จากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าผลข้างเคียงผิวหนังอักเสบระยะเฉียบพลันในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสีแบบสั้น (42.56 เกรย์ ใน 16 ครั้ง) ให้ผลไม่แตกต่างจากผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีการฉายรังสีแบบปกติ (50 เกรย์ ใน 25 ครั้ง) และการฉายรังสีแบบสั้นยังช่วยลดระยะเวลาในการรักษา ลดค่าใช้จ่ายและสะดวกในการเข้ามารับการรักษามากขึ้น

 

Objective: To compare the acute radiation dermatitis between hypofractionated radiotherapy (HFRT) and conventional radiotherapy (CRT) in postmastectomy breast cancer.

Methods: This study was the experimental research design (randomized controlled trial). Seventy six patients underwent a mastectomy and divided into two groups with  38 cases in group I used HFRT regimen 42.56 Gy in 16 fractions over three weeks and 38 cases in group 2 used CRT regimen 50 Gy in 25 fractions over five weeks. The study was performed at Division of Radiation Oncology, Roi Et Hospital, from January 1, 2019, to April 30, 2020. All cases were categorized in different grading of acute radiation dermatitis by Radiation Oncologist at Week 1,2,3 during radiation and 1 month, 3 months post-radiation. The statistical analyzed were used descriptive statistics and Z-test. The statistical significance was set at p<0.05.

Results:  There was no significant difference of acute radiation dermatitis in CRT and HFRT. We found that acute radiation dermatitis grade 1 at week 1,2and 3 during radiotherapy of CRT vs HFRT was 5.26% vs.7.89% (p=0.644), 28.95% vs. 18.42% (p=0.280), 50% vs. 28.95% (p=0.085), respectively. Acute radiation dermatitis grade 1 of the first-month postmastectomy radiation was 15.79% vs. 10.53% (p=0.301) in patients treated with CRT vs. HFRT. Dermatitis grade 1 was the most common grade for acute radiation dermatitis. Few patients in this study developed grade 2 or more skin toxicities.

Conclusion: This study revealed that the treatment outcome of acute radiation dermatitis between HFRT (42.56 Gy in 16 fractions) and CRT (50Gy in 25 fractions) in postmastectomy breast cancer was not different. Hypofractionated

. . . Full text.
Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

Fear Level in Preschoolers Undergoing Computed Tomography: Affect of Psychological Preparation by Story vs. Normal Preparation (การศึกษาเปรียบเทียบความกลัวการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของเด็กวัยก่อนเรียนระหว่างกลุ่มที่ได้รับการเตรียมจิตใจด้วยการเล่านิทานกับกลุ่มที่ได้รับการเตรียมตามปกติ)
 
Risk Factors Associated With Allergic To Non – Ionic Contrast Media In Patients Undergoing Chest Or Abdominal Computed Tomography (ปัจจัยเสี่ยงต่อการแพ้สารทึบรังสีชนิดไม่แตกตัวในผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอกและช่องท้อง)
 
Diagnostic Reliability of the Singh Index : Femoral Neck Osteoporosis (ความน่าเชื่อถือของ Sign index ในการวินิจฉัยโรคกระดูกำพรุนของคอกระดูกต้นขา)
 
Clinical Manifestations and Angiographic Ceatures in Carotid – Cavernous sinus Fistula (ลักษณะทางคลินิกและลักษณะทางรังสีวิทยาในผู้ป่วย Carotid – Cavernous sinus Fistula)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Radiology
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0