Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Accuracy of Multi-parametric Magnetic Resonance Imaging for Diagnosis of Prostate Cancer

ความแม่นยำของการตรวจวินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมากด้วยเครื่องตรวจคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าด้วยวิธีการหลายพารามิเตอร์

Chalida Aphinives (ชลิดา อภินิเวศ) 1, Chayanon Chinporncharoenpong (ชยานนท์ ชินพรเจริญพงษ์) 2, Kulyada Somsap (กุลญาดา สมทรัพย์) 3, Vallop Laopaiboon (วัลลภ เหล่าไพบูลย์) 4




วัตถุประสงค์:   เพื่อศึกษาความแม่นยำของการตรวจวินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมากด้วยเครื่องตรวจคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าด้วยวิธีการหลายพารามิเตอร์

วิธีการศึกษา:  เป็นการศึกษาย้อนหลังในผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจด้วยเครื่องตรวจคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ร่วมกับการเจาะตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยาผ่านเครื่องตรวจคลื่นเสียงทางทวารหนัก ระหว่างเดือน กรกฎาคม 2555 ถึง สิงหาคม 2557 ภาพการตรวจด้วยคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าประกอบด้วยหลายพารามิเตอร์ ได้แก่ ADC, DCE-MRI, Cho/cit ratio และ (Cho+creat)/cit ratio แล้วประเมินความแม่นยำในการตรวจวินิจฉัยโดยอาศัย AUC

ผลการศึกษา:  การศึกษานี้ครอบคลุม 36 รอยโรคจากผู้ป่วย 28 ราย รอยโรคที่เป็นมะเร็งใน peripheral zone ให้ค่า ADC ต่ำกว่ารอยโรคที่ไม่ใช่มะเร็งอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.01) หากรอยโรคนั้นมีขนาดตั้งแต่ 1 ซม. ขึ้นไป จะให้ค่า (Cho+creat)/cit ratio สูงกว่าอEย่างมีนัยสำคัญ พารามิเตอร์ ADC มีความจำเพาะสูงถึงร้อยละ 87.5 ความแม่นยำร้อยละ 77.8 และ AUC 0.68 เช่นเดียวกันกับ พารามิเตอร์ DCE-MRI มีความจำเพาะสูงถึงร้อยละ 91.7 ความแม่นยำร้อยละ 83.3 และ AUC 0.78 พารามิเตอร์ Cho/cit ratio มีความจำเพาะสูงถึง ร้อยละ 91.7 แต่ความแม่นยำต่ำเพียงร้อยละ 54.2 เมื่อนำพารามิเตอร์ DCE-MRI มาร่วมกับ Cho/cit ratio จะให้ค่า AUC สูงที่สุดที่ 0.85 และมีความแม่นยำถึงร้อยละ 83.3 อย่างไรก็ตามการนำพารามิเตอร์ทั้งสามมาใช้ร่วมกัน กลับไม่ได้เพิ่มประสิทธิภาพอย่างมีนัยสำคัญ

สรุป:  การตรวจด้วย DCE-MRI ร่วมกับ ADC มีความแม่นยำในการตรวจวินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมาก สูงกว่าการตรวจด้วย MRS

 

Objective: To assess the diagnostic accuracy of magnetic resonance imaging (MRI) for prostate cancer with multiple parameters.

Methods: Patients who underwent both MRI and transrectal ultrasound-guided biopsy from July 2012 to August 2014, were reviewed retrospectively.  Multiple parameters were assessed to determine the accuracy of MRI for prostate cancer; the apparent diffusion coefficient (ADC), dynamic contrast enhanced MRI (DCE-MRI), and the Cho/cit and (Cho+creat)/cit ratios.  The areas under the receiver operating characteristic curves (AUC) were used to evaluate the diagnostic accuracy of metabolic ratios.

Results: Thirty-six lesions from 28 patients were analyzed.  Malignant lesions at the peripheral zone showed significantly lower ADCs than benign lesions (p < 0.01).  If lesion size was 1 cm or larger, the (Cho+creat)/cit ratio was significantly higher (p < 0.01).  The ADCs had a high specificity of 87.5%, an accuracy of 77.8%, and AUC of 0.68.  DCE-MRI had high specificity of 91.7%, accuracy of 83.3%, and an AUC 0.78. The Cho/cit ratios showed a high sensitivity of 91.7%, but low specificity of 54.2%.  The greatest AUC was 0.85 when the DCE-MRI was combined with the Cho/cit ratio, giving an accuracy of 83.3%.  No significant improvement was established, however, when all 3 parameters were combined together.

Conclusion: DCE-MRI and ADC had greater diagnostic accuracy than MR spectroscopy (MRS).  Combined parameters improved specificity for prostate cancer lesions.

. . . Full text.
Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

Fear Level in Preschoolers Undergoing Computed Tomography: Affect of Psychological Preparation by Story vs. Normal Preparation (การศึกษาเปรียบเทียบความกลัวการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของเด็กวัยก่อนเรียนระหว่างกลุ่มที่ได้รับการเตรียมจิตใจด้วยการเล่านิทานกับกลุ่มที่ได้รับการเตรียมตามปกติ)
 
Risk Factors Associated With Allergic To Non – Ionic Contrast Media In Patients Undergoing Chest Or Abdominal Computed Tomography (ปัจจัยเสี่ยงต่อการแพ้สารทึบรังสีชนิดไม่แตกตัวในผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอกและช่องท้อง)
 
Diagnostic Reliability of the Singh Index : Femoral Neck Osteoporosis (ความน่าเชื่อถือของ Sign index ในการวินิจฉัยโรคกระดูกำพรุนของคอกระดูกต้นขา)
 
Clinical Manifestations and Angiographic Ceatures in Carotid – Cavernous sinus Fistula (ลักษณะทางคลินิกและลักษณะทางรังสีวิทยาในผู้ป่วย Carotid – Cavernous sinus Fistula)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Radiology
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0