แน่ชัด ในการเลือกรักษาโดยวิธีอนุรักษ์นิยม หรือ การผ่าตัดยึดตรึงกระดูกโดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยที่มีกระดูกหน้าเเข้งส่วนต้นหักเข้าข้อเข่าแบบไม่เคลื่อน โดยปัจจุบันการผ่าตัดยึดตรึงกระดูกหน้าเเข้งส่วนต้นหักเข้าข้อเข่าพัฒนาดีขึ้นนิยมมากขึ้นและการรักษาโดยวิธีอนุรักษ์นิยมเป็นส่วนน้อย รวมถึงได้รับการยอมรับการทรุดตัวของกระดูกที่ค่อนข้างมากจากผลการรักษาด้วยวิธีอนุรักษ์นิยมต่างกับในปัจจุบัน การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ทางคลินิกและผลลัพธ์ทางรังสีในผู้ป่วยกระดูกหน้าเเข้งส่วนต้นหักเข้าข้อเข่าแบบไม่เคลื่อนที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดยึดตรึงกระดูกและวิธีอนุรักษ์
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง(retrospective cohort study) ระยะเวลาทำการศึกษา 6 ปี มีกลุ่มผู้ป่วยกระดูกหน้าเเข้งส่วนต้นหักเข้าข้อเข่าเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาจำนวน 603 ราย ผู้ป่วยกระดูกหน้าเเข้งส่วนต้นหักเข้าข้อเข่าแบบไม่เคลื่อน 65 ราย (ร้อยละ11) ที่สามารถมาติดตามการรักษาได้ 12 สัปดาห์ ผู้ป่วย 43 รายได้รับการรักษาแบบอนุรักษ์ ผู้ป่วย 22 รายได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดยึดตรึงกระดูก ประเมินผลลัพธ์ทั้งทางคลินิกโดยใช้ Modified Knee Score ระยะเวลามากกว่า 12 สัปดาห์ ร่วมกับเปรียบเทียบภาพถ่ายรังสีการทรุดตัวของกระดูก
ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยที่เข้าร่วมการศึกษาและเข้าข้อบ่งชี้รวมถึงมาตามนัดทั้งหมด 65 ราย โดยที่ร้อยละ 95 ของกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดยึดตรึงกระดูกมีผลลัพธ์ทางคลินิกที่ดีถึงดีเยี่ยม เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่รักษาด้วยวิธีอนุรักษ์นิยม ร้อยละ91 ที่ระยะเวลา 12 เดือน และ ร้อยละ 77 ของกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดยึดตรึงกระดูกมีผลลัพธ์ทางรังสีที่ดีเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยอนุรักษ์นิยมมีเพียงร้อยละ 47 โดยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: การรักษาแบบอนุรักษ์นิยมในกระดูกหน้าเเข้งส่วนต้นหักเข้าข้อเข่าแบบไม่เคลื่อนนั้นยังคงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาคนไข้นอกจากวิธีการผ่าตัดยึดตรึงกระดูก โดยผลลัพธ์ทางคลินิกหลังจากที่กระดูกติดแล้วใกล้เคียงกัน แต่ผลลัพธ์ทางภาพรังสีของกลุ่มอนุรักษ์นิยมมีโอกาสที่จะยุบเคลื่อนตัวได้มากกว่ากลุ่มที่ยึดตรึงกระดูก
Background and objective: Tibial plateau fracture is a complex periarticular knee joint fracture that is mainly treated by internal fixation or conservative treatment in some cases. Although many studies have detailed techniques and outcomes of surgical fixation in tibial plateau fractures, minimal literature exists on the functional and radiological outcome of nonsurgical management. Despite literatures reporting good clinical outcome in internal fixation, patients that have been treated by conservative treatment in Maharat Nakhon Ratchasima Hospital have also reported good results according to research comparing clinical outcomes between the two groups. Nowadays the guideline of treatment in tibial plateau fractures remains controversial especially in non- displaced or minimally displaced fractures.This study sought to compare functional results and radiological results in patients with non-displaced tibial plateau fracture that are treated surgically and nonsurgically.
Methods : Over the last 6 years, 603 consecutive tibial plateau fracture were treated in Maharat Nakhonratchasima Hospital. Overall, 65 patients (11%) were non-displaced fracture and were available for follow-up for 12 weeks. 43 patients were treated nonsurgically and 22 patients were treated surgically. The functional results and radiological results were recorded by modified version of the knee scoring system of Hohl and Luck . The functional results and radiological results were compared between the two groups.
Results : 65 patients were included in this study. Overall, 95% of surgery group attained good to excellent functional results vs 91% in conservative group. 77% of surgery group attained good radiological results vs 47% in conservative group..
Conclusions : Conservative treatment in patients with non-displaced tibia plateau fracture is still an alternative option although it has a higher chance to collapse more than operative group.
. . .
Full text.
|