หลักการและวัตถุประสงค์: การบริหารจัดการความเสี่ยงทางวิสัญญีที่เหมาะสม น่าจะลดอุบัติการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดแก่ผู้ป่วยที่มารับบริการระงับความรู้สึกได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินตนเองถึงระดับการรับรู้ในการจัดการความเสี่ยงของวิสัญญีพยาบาลในผู้ป่วยที่มารับบริการระงับความรู้สึก โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
วิธีการศึกษา: ศึกษาในวิสัญญีพยาบาลที่ทำงานในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ มากกว่า 1 ปี จำนวน 62 รายโดยใช้แบบสอบถามการจัดการความเสี่ยงของวิสัญญีพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่ได้ยาระงับความรู้สึกที่สร้างขึ้นเองโดยนักวิจัย มีทั้งหมด 52 ข้อเป็นแบบมาตรประมาณค่า (Rating scale ) 5 ระดับและแปลผลคะแนนโดยใช้เกณฑ์การประเมินของการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาของแบบสอบถาม โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ค่าดัชนีความตรง เท่ากับ 0.88 และ 0.89 ตามลำดับ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค (Cronbachs alpha coefficient) เท่ากับ 0.97 และ 0.94 ตามลำดับ
ผลการศึกษา: คะแนนเฉลี่ยการจัดการความเสี่ยงในผู้ป่วยที่มารับบริการระงับความรู้สึกของวิสัญญีพยาบาล โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก (4.65 ± 0.37) ส่วนการจัดการความเสี่ยงเมื่อมีเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ก่อน ระหว่างและหลังให้ยาระงับความรู้สึกมีคะแนนอยู่ในระดับดี (4.41 ± 0.50)
สรุป: วิสัญญีพยาบาลได้ประเมินตนเองถึงระดับการรับรู้ในการจัดการความเสี่ยงในผู้ป่วยที่มารับบริการระงับความรู้สึกอยู่ในระดับดีถึงดีมากซึ่งอาจนำไปสู่การบริการที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น
Background and Objective: Proper risks management could reduce the incident of adverse events that may occur to patients who have anesthesia. The purposes of this prospective descriptive study were to examine levels of perception in risk management of anesthetic nurses for patients undergoing anesthesia in Songklanagarind hospital.
Methods: A total of 62 anesthetic nurses working in Songklanagarind hospital more than 1 year were recruited. The questionnaires were constructed by the researchers. The questionnaires were consisted of 2 parts: anesthetic nurses demographic data and level of perception in risk management of patients undergoing anesthesia, The questionnaires were validated by three experts, yielding content validity indiced of 0.88 and 0.89 respectively, and was examined using Cronbachs alpha coefficient giving values of 0.97 and 0.94, respectively.
Results: The overall mean total score of anesthetic nurses in risk management for patients undergoing anesthesia was in an excellent level (4.65 ± 0.37) whereas the risk management for adverse event was in good level (4.41 ± 0.50).
Conclusion: The overall perception of anesthetic nurses in risk management including risk management of adverse event was excellent and might be related with the quality improvement of patient safety during anesthesia . . .
Full text.
|