หลักการและวัตถุประสงค์: Invariant natural killer T (iNKT) cells คือเซลล์ที่อยู่ในกลุ่มของ T cells ที่หลั่งไซโตไคน์ (cytokine) หลายชนิดเพื่อตอบสนองต่อแอนติเจน (antigen) ที่เป็นลิพิด (lipid) หรือไกลโคลิพิด (glycolipid) ที่นำเสนอบน CD1d ของ antigen presenting cells α-Galactosylceramide (α-GalCer) เป็นแอนติเจนที่จำเพาะต่อ iNKT cells โดยหลังจากการถูกกระตุ้น ภายในเวลา 1 ชั่วโมงจะมีการหลั่งทั้ง โปรอินเฟลมมาทอรีไซโตไคน์ (proinflammatory cytokine) และ เรกูลาทอรีไซโตไคน์ (regulatory cytokine) เพื่อกระตุ้นเซลล์อื่นๆในระบบภูมิคุ้มกัน ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของไซโตไคน์ในหนู BALB/c ที่ถูกฉีดด้วย α-GalCer ในช่วงเวลาต่างๆ
วิธีการศึกษา: หนู BALB/c ถูกฉีดเข้าช่องท้องด้วยแอนติเจน α-GalCer ปริมาณ 1 ไมโครกรัมต่อหนูหนึ่งตัว และเก็บตัวอย่างเลือดที่เวลา 1, 2, 4, 6, 12 และ 24 ชั่วโมงภายหลังการฉีด ตัวอย่างเลือดจะถูกนำมาตรวจวัดปริมาณไซโตไคน์ด้วย Cytometric Bead Array
ผลการศึกษา: GM-CSF, IFN-γ และ IL-4 เป็นไซโตไคน์หลักที่ตรวจพบได้ในปริมาณสูงในช่วงแรกของการทดลอง โดย IFN-γ เป็นไซโตไคน์ที่มีปริมาณสูงที่สุดหลังการฉีด α-GalCer นอกจากนี้ IL-10, IL-13 และ IL-17A ตรวจพบได้ในช่วงแรกที่ปริมาณต่ำและเพิ่มสูงในช่วงหลัง อย่างไรก็ตามปริมาณที่ตรวจได้ไม่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มไซโตไคน์หลัก
สรุป: ผลจากการฉีดแอนติเจน α-GalCer 1 ครั้งในหนู BALB/c แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของไซโตไคน์และ IFN-γ คือ ไซโตไคน์ที่ตรวจวัดได้ในปริมาณสูงที่สุด จากผลการทดลองปริมาณของไซโตไคน์ในแต่ล่ะช่วงเวลาทำให้การทดลองนี้จัดเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการออกแบบการทดลองสำหรับการศึกษาเพื่อศึกษาบทบาทของ α-GalCer ในโรคต่างๆได้
Background and Objective: Invariant natural killer T (iNKT) cells are T cells subset that can secrete various cytokines respond to lipid or glycolipid antigens presented by CD1d on antigen presenting cells. α-Galactosylceramide (α-GalCer), the specific antigen for iNKT cells, can activate iNKT cells to secrete both proinflammatory and regulatory cytokines to activate the other immune cells. This study aimed to investigate the kinetic of cytokines in BALB/c mice at several time points after α-GalCer injection.
Methods: BALB/c mice were intraperitoneal injected with 1µg of α-GalCer per mouse and collected the blood samples at time points 1, 2, 4, 6, 12 and 24 hours post-injection. The samples were determined the cytokine levels by Cytometric Bead Array.
Results: GM-CSF, IFN-γ and IL-4 were the major cytokines detected in high levels in the early time point. IFN-γ was the highest cytokine levels. IL-10, IL-13 and IL-17A were low levels at the early time points and increased at the late time points. However, the levels were not high when compared to major cytokines.
Conclusions: The consequence after single dose injection of α-GalCer in BALB/c mice showed the cytokines kinetic in each time-point and IFN-γ was the highest detectable cytokine. From the cytokine kinetic studied, this experiment is an alternative model could be used as data for the α-GalCer experimental design in various diseases. . . .
Full text.
|