หลักการและวัตถุประสงค์: ความร่วมมือในการรักษาและปัจจัยที่มีผลต่อความร่วมมือเป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อการรักษาผู้ป่วยออทิสติกทั้งทางตรงและทางอ้อม การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหาระดับความร่วมมือในการใช้ยาจิตเวชของผู้ป่วยออทิสติก และหาปัจจัยที่ส่งผลต่อความร่วมมือในการใช้ยาจิตเวชของผู้ป่วยออทิสติก
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง โดยเก็บข้อมูลจากผู้ปกครองของผู้ป่วยออทิสติกที่เข้ารับบริการ ณ แผนกผู้ป่วยนอก (จิตเวช) ของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ในช่วงเดือนมกราคม-สิงหาคม พ.ศ.2560 เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือ 1) แบบเก็บข้อมูลทั่วไปของผู้ปกครอง 2) แบบเก็บข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผู้ป่วยออทิสติก 3) แบบสอบถามพฤติกรรมการใช้ยาสำหรับคนไทย (Medication Taking Behavior in Thai; MTB-Thai) มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.62 4) แบบสอบถามความเชื่อเกี่ยวกับยา (Beliefs about medicines questionnaire; BMQ) มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค 0.73 5.)โปรแกรม Electronic Data Capture and Coding Tool for Medication Regimen Complexity วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Mann-Whitney U test, Spearmans rho correlation และ multiple logistic regression
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 106 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 79.2) อายุเฉลี่ย 42.7 ± 8.9 ปี มีความสัมพันธ์กับผู้ป่วยคือเป็นมารดา (ร้อยละ 73.6) จบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า (ร้อยละ 50.9) ประกอบอาชีพข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ (ร้อยละ 32.1) และสถานภาพสมรสส่วนใหญ่อยู่ด้วยกัน (ร้อยละ 75.5) จากการประเมินความร่วมมือในการใช้ยา โดยสอบถามจากผู้ปกครอง พบว่ามีความร่วมมือในระดับสูง จำนวน 61 ราย (ร้อยละ 57.5) และระดับปานกลาง 29 ราย (ร้อยละ 27.4) สาเหตุของความไม่ร่วมมือในการใช้ยา ส่วนใหญ่เป็นพฤติกรรมที่ไม่จงใจ เช่น การลืม โดยความเชื่อทั่วไปด้านอันตรายจากการใช้ยามีความสัมพันธ์ทางลบกับความร่วมมือในการใช้ยาจิตเวช (rs = - 0.295 , p= 0.016) ซึ่งกลุ่มผู้ปกครองที่ไม่มีความเชื่อเกี่ยวกับอันตรายของยาจะมีคะแนนความร่วมมือในการใช้ยามากกว่ากลุ่มที่มีความเชื่อดังกล่าวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.049) ส่วนปัจจัยอื่น ๆ ไม่พบว่ามีผลต่อความร่วมมือในการใช้ยาจิตเวชของผู้ป่วยออทิสติก
สรุป: ผู้ปกครองร้อยละ 57.5 มีความร่วมมือในการใช้ยาในระดับสูง และความเชื่อด้านอันตรายจากการใช้ยาเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางลบกับความร่วมมือในการใช้ยา ทั้งนี้ควรมีการศึกษาในระยะยาวเพื่อค้นหาสาเหตุและปัจจัยอื่นๆต่อไป
Background and Objectives: Patient adherence and factors related to adherence directly and indirectly affect treatment of autistic pediatric patient. The aims of this research were to identify the adherence level of psychotropic medications in autistic patients and factors affecting patient adherence to psychotropic medications.
Methodology: A cross-sectional descriptive study was conducted in guardians of patients with Autism Spectrum Disorder (ASD) who attended psychiatric out-patient clinic at Srinagarind hospital during January to August 2017. The instruments consisted of 1) general information of guardians 2) general information of autistic patients 3) Medication Taking Behavior in Thai (MTB-Thai) which had Cronbachs alpha coefficient at 0.62 4) Beliefs about medicines questionnaire (BMQ) which had Cronbachs alpha coefficient 0.73 5.) Electronic Data Capture and Coding Tool for Medication Regimen Complexity program. Data were analyzed by Mann-Whitney U test, Spearmans rho correlation and multiple logistic regression.
Results: There were 106 guardians included in this study. Most guardians were female (79.2%), the average age was 42.7 ± 8.9 years old, mother (73.6%), completed bachelor's degree (50.9%), government officers/state enterprise officers (32.1%) and married (75.5%). In term of medication adherence, 61 guardians (57.5%) showed high level and 29 guardians (27.4%) showed medium level of medication adherence. The major causes of medication adherence were due to the unintentional behaviors such as forgetfulness. General-Harm scale of belief about medication had significantly negative correlation with medication adherence (rs=-0.295, p=0.016). Guardians who dont believe in the harm of medicine will have a significantly higher score in medication adherence than those who have such beliefs (p = 0.049). Whereas other factors were not significantly correlation.
Conclusions: 57.5% of the guardians had adherence score in high level. General-Harm scale of belief about medication is the factor that affect adherence score significantly. Long-term study should be done to be a further study to identify other causes and factors. . . .
Full text.
|