Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Effectiveness of Artificial Cheeks for Bag Mask Ventilation in Elderly Patients Receiving General Anesthesia

ประสิทธิผลต่อการใช้อุปกรณ์แทนที่บริเวณร่องแก้มสำหรับช่วยหายใจในผู้ป่วยสูงอายุที่มารับการให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั้งตัว

Niranuch Siripunt (นิรนุช ศิริพันธุ์) 1, Maliwan Oofuvong (มลิวัลย์ ออฟูวงศ์ ) 2, Bussarin Sriyanaluk (บุศรินทร์ ศรีญาณลักษณ์) 3




หลักการและวัตถุประสงค์  ผู้สูงอายุมักพบปัญหาช่วยหายใจทางหน้ากากยากเนื่องจากไม่มีฟันและมีแก้มตอบ  ทำให้การครอบหน้ากากให้สนิททำได้ยาก มีลมรั่วออกมารอบ ๆ หน้ากากช่วยหายใจ  ทำให้ช่วยหายใจไม่ได้ประสิทธิภาพ ผู้วิจัยจึงได้ประดิษฐ์อุปกรณ์เพื่อใช้ในการช่วยหายใจในผู้ป่วยสูงอายุที่มารับการให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั้งตัว การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลต่อการใช้อุปกรณ์แทนที่บริเวณร่องแก้มสำหรับช่วยหายใจในผู้ป่วยสูงอายุที่มารับการให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั้งตัว

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการประดิษฐ์  ขั้นตอนการใช้อุปกรณ์แทนที่ร่องแก้ม  และขั้นตอนการประเมินผลโดยใช้แบบสอบถามประเมินโดยบุคลากรทางวิสัญญี 6 หัวข้อ ได้แก่ 1. หน้ากากช่วยหายใจครอบใบหน้าได้แนบสนิท 2. สามารถช่วยหายใจได้ดี (ดูจากการเคลื่อนไหวของทรวงอก และเห็นกราฟของระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในลมหายใจสม่ำเสมอ) 3. มีความสะดวกในการใช้งาน 4. สามารถทำความสะอาดได้ง่าย 5. มีความสะดวกในการเก็บรักษา และ 6. ความพึงพอใจโดยรวม โดยให้คะแนนดังนี้   4 = ดีมาก   3 = ดี   2 = ปานกลาง  1 = ปรับปรุง โดยคิดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามประสิทธิผลอย่างน้อยร้อยละ 90 ได้กลุ่มตัวอย่าง  40 ราย

ผลการศึกษา: ผู้ประเมินให้คะแนนเฉลี่ยในภาพรวมส่วนใหญ่ร้อยละ 80-89 อยู่ในระดับดี 3.2-3.25 คะแนน หัวข้อสะดวกในการเก็บรักษาและทำความสะอาดได้ง่ายให้คะแนนเฉลี่ยส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ90 อยู่ในระดับดีมาก 3.7-3.9 คะแนน หัวข้อที่ได้คะแนนมากที่สุดคือทำความสะอาดได้ง่าย (3.9 คะแนน)  ส่วนหัวข้อหน้ากากช่วยหายใจครอบใบหน้าได้แนบสนิทได้คะแนนน้อยที่สุด (3.2 คะแนน)  

สรุป:  ผลการประเมินประสิทธิผลต่อการใช้อุปกรณ์แทนที่บริเวณร่องแก้มสำหรับช่วยหายใจในผู้ป่วยสูงอายุที่มารับการให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั้งตัว พบว่าส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี หัวข้อสะดวกในการเก็บรักษาและทำความสะอาดได้ง่ายอยู่ในระดับดีมาก  สามารถนำอุปกรณ์มาใช้ช่วยหายใจในผู้ป่วยสูงอายุที่มารับการให้ยาระงับความรู้สึก

 

Background and Objective: Lack of teeth and sunken cheeks could cause bag-mask ventilation difficulty in anesthetized elderly patients  because of inadequate air-tight seal. Those are the reason why we invented artificial cheeks to solve the problems. The purposes of this study were to evaluate the effectiveness of using artificial cheeks during bag-mask ventilation.

Methods: The process of  investigation were divided into 3 steps. First step was artificial cheeks invention. Second step was the devices  application for with patients, and third step was evaluation  by using questionnaire from anesthesia personnels who had used artificial cheeks. The respondents were asked to evaluate all 6 aspects; 1) good sealness 2) easy to ventilate 3) convenience to use  4) easy cleanness  5) easy storage and 6) overall satisfaction. The evaluated  scales included the followings; 4  =  excellent, 3 = good, 2 = fair, 1 = poor. The sample size calculation was based on the effectiveness of using artificial cheeks of at least 90 %, so the total sample size was 40.

Results: The overall score of effective assessment (80-90%) evaluated by respondents was 3.2-3.25. The average of  highest score of all aspects (>90%) was easy cleanness 3.7-3.9  whereas the average of  lowest score was  good sealness (3.2). 

Conclusion: The effectiveness of using artificial cheeks for bag-mask ventilation in elderly patients were moderate to high.  The artificial cheeks can be used to assist bag-mask ventilation in anesthetized elderly patient.

. . . Full text.
Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

Surveillance of and Risk Fztors for Difficult Intubation At Srinagarind Hosipital (การเฝ้าระวังการใส่ท่อช่วยหายใจลำบากระหว่างการวางยาระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง)
 
Surveillance of Drug Error during Anesthesia at Srinagarind Hospital Khon Kaen University (การเฝ้าระวังความผิดพลาดในการให้ยาระหว่างการให้ยาระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
 
Incidence of Anesthesia-Associated Cardiac Arrest And Related Factors At Srinagarind Hospital (อุบัติการณ์ภาวะหัวใจหยุดเต้นและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์)
 
New Trend Anesthesia for Cesarean Section (แนวโน้มการให้ยาระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัดคลอด)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Anesthesia
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0