หลักการและวัตถุประสงค์: การเปลี่ยนข้อเข่าเป็นการผ่าตัดใหญ่ก่อให้เกิดความปวดในระดับสูง การจัดการความปวดที่ดีทำให้กายภาพบำบัดได้เร็วและลดเวลานอนโรงพยาบาล การระงับปวดหลังเปลี่ยนข้อเข่ามีหลายวิธีรวมวิธีฉีดยารอบเนื้อเยื่อเข่า (local infiltration analgesia, LIA) การศึกษานี้ต้องการประเมินผลระงับปวดหลังผ่าตัดระหว่างยา LIA 3 สูตรในผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า
วิธีการศึกษา: การศึกษาสังเกตการณ์เชิงพรรณนาย้อนหลังในผู้ป่วยเปลี่ยนข้อเข่าที่ได้เทคนิค LIA ในช่วงระหว่าง 1 มกราคม 2558 ถึง 31 ธันวาคม 2560 ผู้ป่วยถูกแบ่งเป็น 3 กลุ่ม (กลุ่ม 1 bupivacaine 200 มก. ผสม ketorolac 30 มก. ร่วมกับ มอร์ฟีน 8 มก. กลุ่ม 2 bupivacaine 200 มก. ผสม ketorolac 60 มก. ร่วมกับ adrenaline 0.03 มก. และกลุ่ม 3 bupivacaine 200 มก. ผสม ketorolac 60 มก. มอร์ฟีน 8 มก. ร่วมกับ triamcinolone 40 มก.) ผลการระงับปวดประเมินจากปริมาณมอร์ฟีนที่ใช้และคะแนนปวด (numeric rating pain score; NRS) ขณะพักและเคลื่อนไหวที่ 24 และ 48 ชั่วโมงหลังผ่าตัดพร้อมบันทึกผลข้างเคียง
ผลการศึกษา: ผู้ป่วย 60 ราย (กลุ่ม 1, 2 และ 3 จำนวน 18, 29 และ 13 ราย ตามลำดับ) มีข้อมูลพื้นฐานคล้ายกันและพบว่าปริมาณมอร์ฟีนที่ใช้หลังผ่าตัดที่ 24 และ 48 ชั่วโมงไม่ต่างกัน [16.9(12.1), 13.1(8.7), 12.4(11.1), p = 0.39 และ 28.2(15.9), 24.5(14.2), 22.7(15.6), p = 0.57). ค่า NRS ขณะพักและเคลื่อนไหวไม่ต่างกันทั้งที่ 24 ชั่วโมง [3.3(3.1), 2.4(2.5), 2.3(2.5), p=0.44 and 5.5(3.2), 4.1(3.1), 4.4(2.1), p=0.28] และNRS ขณะพักและเคลื่อนไหวที่ 48 ชั่วโมง [2.5(2.5), 2.4(2.2), 1.8(2.0), p=0.62 และ 5.2(1.9), 4.5(2.3), 4.2(2.1), p=0.39] การศึกษานี้พบผลข้างเคียงเหมือนกันและไม่พบภาวะแทรกซ้อนรุนแรง
สรุป: ยาทั้ง 3 สูตรสำหรับฉีดรอบเนื้อเยื่อเข่าหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าสามารถลดความปวดเหลือความปวดระดับน้อย โดยที่ผลระงับปวดและผลข้างเคียงไม่แตกต่างกัน
Background and Objectives: Total knee arthroplasty (TKA) is a major procedure which causes severe pain. Adequate pain management promotes rehabilitation and shortens hospital stay. There are several methods for controlling pain after TKA. One of the techniques is local infiltration analgesia (LIA), which is done by injecting the combination of drugs into periarticular tissue. However, variety of drugs can be used for LIA. We aimed to evaluate the postoperative analgesic effect of three different regimens of LIA in TKA patients.
Methods: Retrospective study was conducted in patients who underwent TKA between January 1, 2015 and December 31, 2017 and received one of three different regimens of LIA (group 1; bupivacaine 200 mg plus ketorolac 30 mg and morphine 8 mg, group 2; bupivacaine 200 mg plus ketorolac 60 mg and adrenaline 0.03 mg and group 3; bupivacaine 200 mg plus ketorolac 60 mg, morphine 8 mg and triamcinolone 40 mg) Postoperative morphine consumption, numeric rating pain scores (NRS) at 24 and 48 h and additional analgesic drugs were recorded for assessing pain efficacy. Adverse events were also recorded.
Results: Sixty patients were enrolled, of which 18, 29 and 13 patients received gr.1, 2 and 3 regimen, respectively. Patients characteristics were comparable. Postoperative morphine consumption at 24 and 48 h were not different [16.9(12.1), 13.1(8.7) and 12.4(11.1), p = 0.39 and 28.2(15.9), 24.5(14.2) and 22.7(15.6), p = 0.57). Postoperative NRS at rest and on movement were similar at 24 h [3.3(3.1), 2.4(2.5) and 2.3(2.5), p=0.44 and 5.5(3.2), 4.1(3.1) and 4.4(2.1), p=0.28] and at 48 h [2.5(2.5), 2.4(2.2) and 1.8(2.0), p=0.62 and 5.2(1.9), 4.5(2.3) and 4.2(2.1), p=0.39]. All adverse events were similar and no serious complications occurred.
Conclusions: The all three drug regimens of LIA for TKA can relieved postoperative pain to mild pain. The analgesic effect and adverse events were not different among groups.
. . .
Full text.
|