หลักการและวัตถุประสงค์: เพื่อประเมินประสิทธิผลและความปลอดภัยของการใช้ยาแอสไพรินเพื่อป้องกันปฐมภูมิต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง (retrospective cohort study) โดยเก็บข้อมูลย้อนหลัง 8 ปี ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552
ผลการศึกษา: มีผู้ผ่านเกณฑ์การเข้าร่วมการศึกษาทั้งสิ้น 305 ราย เป็นผู้ป่วยที่ได้รับยาแอสไพริน 154 ราย และไม่ได้รับยาแอสไพริน 151 ราย อายุเฉลี่ยของแต่ละกลุ่มเท่ากับ 68.40 ปี ผลการศึกษาด้านประสิทธิผล พบว่ากลุ่มที่ได้รับยาแอสไพรินมีร้อยละของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดไม่แตกต่างจากกลุ่มที่ไม่ได้รับยาแอสไพรินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ร้อยละ 79.90 และ 88.10 ตามลำดับ; p>0.05) ด้านความปลอดภัย พบว่ากลุ่มที่ได้รับยาและไม่ได้รับยาแอสไพรินมีการเกิด major gastrointestinal bleeding ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับยาแอสไพรินเพื่อป้องกันปฐมภูมิ เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดและ major gastrointestinal bleeding ไม่แตกต่างจากผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยาแอสไพรินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Background and Objective: To evaluate the efficacy and safety of aspirin use for primary prevention of cardiovascular disease in type 2 diabetic patients.
Methods: A retrospective cohort study was performed in this study. Data were followed for 8 years in patients diagnosed with type 2 diabetes since 2009.
Results: There were 305 patients (154 patients in aspirin group and 151 patients in non-aspirin group) enrolled in this study. The mean age of each group was 68.40 years. The percentage of cardiovascular events in aspirin group was not significantly different from non-aspirin group (79.90% and 88.10% respectively; p>0.05). There was no statistically significant difference of major gastrointestinal bleeding between the groups.
Conclusion: Type 2 diabetic patients who received aspirin for primary prevention occurring cardiovascular events and major gastrointestinal bleeding were not significantly different from those who did not. . . .
Full text.
|