หลักการและวัตถุประสงค์: การผ่าตัดถุงน้ำดีมีภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญคือการบาดเจ็บต่อท่อน้ำดีระหว่างผ่าตัด ซึ่งทำให้เกิดผลเสียต่างๆในระยะยาวแก่ผู้ป่วย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนการผ่าตัดถุงน้ำดี ความชุกของการเกิดการบาดเจ็บต่อท่อน้ำดีในระหว่างผ่าตัด
วิธีการศึกษา: การศึกษาย้อนหลังจากเวชระเบียนของผู้ป่วยอายุ 18 ปีขึ้นไปที่มาผ่าตัดถุงน้ำดี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2557 ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
ผลการศึกษา: จากการศึกษา ผู้ป่วย 1,437 ราย พบความชุกของการบาดเจ็บท่อน้ำดีร้อยละ 1.32 โดยเกิดระหว่างการผ่าตัดแบบส่องกล้องมากกว่าผ่าตัดแบบเปิด แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.08) ผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บต่อท่อน้ำดีส่วนใหญ่ได้รับการวินิจฉัยระหว่างผ่าตัด หรือภายใน 14 วันหลังผ่าตัด ค่าใช้จ่ายรวมเพิ่มขึ้นจากกลุ่มที่ไม่มีการบาดเจ็บต่อท่อน้ำดีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (31,131.00 และ 65,806.05 บาท, p = 0.01) รวมทั้งระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลมากกว่ากลุ่มที่ไม่มีการบาดเจ็บอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในการศึกษานี้ไม่มีผู้ป่วยที่เกิดการบาดเจ็บต่อท่อน้ำดีเสียชีวิต
สรุป: จากการศึกษานี้พบว่าการบาดเจ็บต่อท่อน้ำดีระหว่างผ่าตัดถุงน้ำดีมีความชุก 1.32% โดยพบระหว่างการผ่าตัดแบบส่องกล้องมากกว่าการผ่าตัดแบบเปิด แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.08) การเกิดการบาดเจ็บต่อท่อน้ำดีระหว่างผ่านตัดส่งผลให้เพิ่มระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล มีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น และในบางรายต้องได้รับการผ่าตัดซ้ำเพื่อแก้ไขภาวะดังกล่าว
Background and objective: Cholecystectomy is a common procedure, but bile duct injury is serious problem. This injury causes several consequences such as longer hospital stays and increase cost of treatment and re-operation. This study aimed to investigate the prevalence of bile duct injury during cholecystectomy.
Method: Retrospective review of medical records of patients age more than 18-year-old underwent cholecystectomy between 1st January 2010 and 31st December 2014 at Maharat Nakhon Ratchasima hospital.
Results: From 1,437 patients in this study, 1.32% prevalence of bile duct injury was found. The injury occurred during laparoscopic cholecystectomy more common than open cholecystectomy but without statistical significant (p=0.08). Most of patients with bile duct injury were diagnosed during surgery or during first 2 weeks after the operation. Mean cost of treatment is significant higher in bile duct injury group than non-injury group (31,131.00 vs 65,806.05 baht, p = 0.01) and hospital length of stay also significantly longer. There was no mortality in bile duct injury group.
Conclusion: The prevalence of bile duct injury in this study was 1.32% which occur in laparoscopic cholecystectomy higher than open cholecystectomy but no statistical significance (p=0.08). This leads to longer hospital stay, higher mean cost of treatment and some patients needed to re-operation.
. . .
Full text.
|